หน้าแรก Vendors HUAWEI “วัง อี้ ฝาน” กับความมุ่งมั่น ในการนำพา Huawei รุกตลาดไทยอย่างเต็มสูบ !

[สัมภาษณ์] “วัง อี้ ฝาน” กับความมุ่งมั่น ในการนำพา Huawei รุกตลาดไทยอย่างเต็มสูบ !

แบ่งปัน
วัง อี้ ฝาน กล่าวถึงภาพรวมการสนับสนุนงาน Startup Thailand

สามกลุ่มธุรกิจของ Huawei  เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ Enterprise โตกว่า 50% พร้อมผลักดันโครงการรัฐบาลไทยมากมาย รวมถึงงาน Startup Thailand ที่ผ่านมา

ทางทีมงาน Enterprise ITPro ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์พิเศษ “วัง อี้ ฝาน” กรรมการผู้จัดการ Huawei ประเทศไทย ในระหว่างงาน Startup Thailand ซึ่งทาง Huawei ได้เข้าเป็นไปเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการหลักครั้งนี้

คุณวัง ได้เล่าถึงภาพรวมของธุรกิจในประเทศไทยว่า ทาง Huawei นั้นได้พยายามหาเครื่องไม้เครื่องมือและเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าเช่นกลุ่ม CNBG (Carrier Network Business Group) เป็นกลุ่มโอเปอเรเตอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งเอาความเชี่ยวชาญเหล่านี้ มาช่วยส่งเสริมในกลุ่มใหม่ทั้งสองของเราก็ประกอบด้วยกลุ่ม Enterprise Business Group และกลุ่ม Consumer Business Group

หากพูดในแง่ของสัดส่วนการเติบโตของกลุ่มธุรกิจทั้งสามแล้ว คุณวังยืนยันว่า กลุ่ม CNBG เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ Huawei อย่างต่อเนื่องและมูลค่าการตลาดก็ใหญ่มากเช่นกัน โดยมียอดเติบโตแล้วคิดเป็นประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถัดมาในกลุ่มของ Consumer นั้นมีรายได้ที่เติบโตสูงมาคิดเป็น 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทมือถืออย่างเช่น Huawei P9 เป็นเรือธงในการรุกตลาด และมียอดขายที่ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจมาก ส่วนในแง่ของกลุ่ม Enterprise ซึ่งประกอบด้วยโพรดักส์ไม่ว่าจะเป็น Networking, Storage หรือ Server มียอดเติบโตสูงถึง 50% ซึ่งเป็นเครื่องการันตีได้ถึงโซลูชั่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย (ยอดรายรับดังกล่าวเป็นตัวเลขในประเทศไทย)

วัง อี้ฝาน กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ประเทศไทย
วัง อี้ ฝาน กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ประเทศไทย

นายใหญ่ของ Huawei พูดถึงเรื่องของการวิจัยและการลงทุนไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่าเขาทราบเกี่ยวกับการซื้อกิจการของเวนเดอร์รายอื่นๆ แต่สำหรับ Huawei นั้นมีความแตกต่างออกไป เพราะ Huawei มีแผนกวิจัยและพัฒนา (R&D) พร้อมทั้งงบประมาณการลงทุนด้าน R&D นี้สูงมาก ตัวอย่างปีที่แล้วก็ลงทุนด้าน R&D นี้มากถึง 9,200 ล้านเหรียญฯ อีกทั้งการซื้อกิจการและการรวมกิจการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น Huawei จึงมีแนวคิดในลักษณะเปิดเพื่อการเป็นพันธมิตรกันมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Intel, Oracle หรือพาร์ทเนอร์อื่นๆ ก็มาร่วมกับเราเพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ มาตอบโจทย์ตลาด ซึ่งตอนนี้มีพันธมิตรมากมาย

โลกจะพัฒนาสู่ยุค CaaS 2.0
คุณวัง กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันระหว่างพวกสิ่งของและสิ่งของเอง หรือที่เรียกว่ากันว่า Communication-as-a-Service หรือ CaaS นั่นเอง โดยที่งานประชุมใหญ่ Huawei Connect 2016 ทาง Huawei ก็เพิ่งเปิดตัวโซลูชั่น Huawei’s Communication as a Service 2.0 (CaaS 2.0) ไปแล้วเช่นกัน โซลูชั่นนี้เป้นการผนึกเอาความสามารถในการสื่อสารหลายๆ อย่างถึงห้าประการ ประกอบด้วย Real-time Voice, Real-time Video, Network QoS, Location information, และการ Integration กับแอพพลิเคชั่นของ Third-party

การเปิดตัวโซลูชั่น CaaS 2.0 ในงาน Huawei Connect 2016
การเปิดตัวโซลูชั่น CaaS 2.0 ในงาน Huawei Connect 2016

Huawei พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมาช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้ดีมากขึ้น สามารถที่จะติดต่อกันระหว่างมนุษย์และสิ่งของ และแม้กระทั่งสิ่งของติดต่อกับสิ่งของได้เอง โดยพวกเขามีความคิดไว้ว่าทุกอย่างควรจะสามารถเชื่อมโยงกันได้หมด แต่ทว่าไม่ใช่ว่า Huawei จะสามารถทำได้ทั้งหมดคนเดียว จำเป็นต้องร่วมมือกับพันธมิตรและพาร์ทเนอร์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมลักษณะนี้ขึ้นมา

สนับสนุนหน่วยงานรัฐและประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง
จะเห็นได้ว่า Huawei เริ่มเข้ามามีบทบาทในแง่ของความช่วยเหลือและซัพพอร์ตแก่การศึกษาและรัฐอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดก็ได้เข้าไปเป็นผู้สนับสนุนในโครงการ Startup Thailand หลัก ของทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ชื่อเดิม) ซึ่ง Huawei ได้สนับสนุนในส่วนของการจัดงาน, เงินรางวัล และการเชิญทีมผู้ชนะไปเยี่ยมชมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอันทันสมัย ณ สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยที่ประเทศจีนด้วย

โดยคุณวัง บอกว่าเราว่า Huawei เองมีความมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจ Startup ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ และคาดว่าพวกเขาจะช่วยส่งพัฒนาเศรษฐกิจด้านดิจิตอลของประเทศไทยต่อไปได้

และหากพูดถึงความสำคัญของประเทศไทยแล้ว Huawei ถือว่าเป็นประเทศที่พวกเขาให้ความสำคัญสูงมาก ตัวอย่างเช่นการเปิด ศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ CSIC (Customer Solution Innovation and Integration Experience Center – CSIC) และศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ ช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา นับเป็นศูนย์นวัตกรรมล้ำสมัยในระดับภูมิภาคเลยทีเดียว หรือการสนับสนุนงานที่ชื่อว่า The Intelligent Power Grid Summit 2016   ของทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการนำเอาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานไฟฟ้ามาเป็นวิทยาทานในงาน    อีกทั้งยังมีโครงการ HAINA ซึ่งให้การสนับสนุนอุปกรณ์และการเรียนการสอนด้านเน็ตเวิร์กกิ้งและเราติ้ง ให้แก่ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงวางแผนที่จะสร้าง Open Lab ขึ้นในประเทศไทย เพื่อจะเป็นศูนย์สำหรับผลักด้านระบบ Digital Ecosystem ที่จะนำเอาเทคโนโลยี Cloud, Big Data และ IoT มาต่อยอดสร้างเป็นสมาร์ทซิตี้ให้ดีขึ้นด้วย

Huawei ให้การสนับสนุนอุปกรณ์และการเรียนการสอนในโครงการ HAINA แก่ สจล.
Huawei ให้การสนับสนุนอุปกรณ์และการเรียนการสอนในโครงการ HAINA แก่ สจล.

บทวิเคราะห์ส่งท้าย
Huawei กำลังรุกตลาดในเมืองไทยมากขึ้น อาจจะดูเหมือนว่าแต้มต่อที่เหนือกว่าคนอื่นๆ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและกำลังทุน แต่ด้วยการที่ Huawei นั้นให้ความสำคัญกับประเทศไทยและลงทุนด้านโครงการลักษณะ Corporate Social Responsibility (CSR) หลายๆ อย่างไม่ว่าจะ การสนับสนุนงาน The Intelligent Power Grid Summit 2016, โครงการ HAINA,  หรือการสนับสนุน Startup Thailand และงานต่างๆ ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานด้านการศึกษาไทยขอความร่วมมือมา จึงทำให้เขาเหนือกว่าเวนเดอร์อื่นอีกหลายขุม และนี่คือยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดที่เราได้สัมผัสมา !