หน้าแรก Security Trend Micro แนะองค์กรควรใช้ระบบ Layer Security ป้องกันภัยคุกคามเต็มรูปแบบ

Trend Micro แนะองค์กรควรใช้ระบบ Layer Security ป้องกันภัยคุกคามเต็มรูปแบบ

แบ่งปัน

เทรนด์ ไมโคร ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นไซเบอร์ซีเคียวริตี้ แนะองค์กรเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามทุกรูปแบบด้วยโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบเลเยอร์ซีเคียวริตี้ พร้อมคาดการณ์ว่ารูปแบบภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ จะทวีคูณในปีหน้าไม่ว่าจะเป็นการคุกคามผ่านระบบการทำงาน หรือจากอุปกรณ์ดีไวซ์ที่ใช้เชื่อมต่อการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น Trend Micro TippingPoint เพิ่มความแข็งแกร่งในส่วนของการรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ลูกข่าย ระบบคลาวด์ ศูนย์ข้อมูล และการตรวจจับการเจาะระบบเครือข่าย

นางสาวปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ Internet of Things (IoT) ในประเทศไทยเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปีนี้ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าทุกอุตสาหกรรมต้องตระหนักพร้อมรับมือและป้องกัน “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” เช่นภาคอุตสาหกรรมที่มีการผสานเทคโนโลยีไอทีเข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และระบบต่างๆ ในโรงงาน พร้อมระบบออโตเมชั่นอัจฉริยะที่ตัดสินใจได้อย่างอัตโนมัติ เรียกกันว่า อินดัสเตรียล อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (Industrial Internet of Things (IIoT)) จะเป็นอีกหนึ่งเป้าโจมตีหลักของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพราะช่องโหว่ความปลอดภัยคือระบบเน็ตเวิร์คที่ใช้เชื่อมต่อของดีไวซ์ต่างๆ กับอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นระบบแบบไพรเวทหรือพับบลิค เพราะเข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบธุรกิจ ที่วันนี้สภาพแวดล้อมการทำงานรวมถึงการควบคุมกระบวนการผลิต การทำงานผ่านอุปกรณ์โมบายล์และเชื่อมเข้าสู่จอมอนิเตอร์ เพื่อตรวจสอบระบบจากภายนอกมีความจำเป็นมากขึ้น ทำให้เกิดช่องโหว่ระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอีเมล์หลอกลวง Business Email Compromise (BEC) และปัญหาข้อมูลรั่วไหล Business Process Compromise (BPC) และอุตสาหกรรมการเงินที่การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Digital Banking ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถปกป้องผู้ใช้บริการจาก ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่นับวันจะมีความซับซ้อนและสร้างผลกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น”

ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด
ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด

รูปแบบการโจมตีมีการพัฒนาตัวเองเป็นอย่างมาก การลงทุนทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่การลงทุนเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาเป็นจุดๆ อีกต่อไป องค์กรต้องมองหาระบบรักษาความปลอดภัยแบบครอบคลุมรอบด้าน ในการเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ องค์กรต่างๆ ต้องการระบบป้องกันภัยแบบหลายชั้นซึ่งทำงานอย่างสอดประสานกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อที่จะสามารถระบุถึงภัยคุกคามทั้งก่อนหน้า ระหว่าง และหลังจากที่เกิดการโจมตี เทรนด์ไมโครเองก็ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาบริการและโซลูชั่นให้ตอบโจทย์และพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบในอนาคต เพราะเราคำนึงถึงมูลค่าความเสียหายที่อาจจะเกิดต่อธุรกิจของลูกค้าเรา และล่าสุดระบบป้องกันภัยคุกคาม Trend Micro TippingPoint Next-Generation Intrusion Prevention System (NGIPS) ได้รับการจัดอันดับเป็นผลิตภัณฑ์ “แนะนำ” จากการทดสอบ NGIPS ของ NSS Labs โดยได้รับคะแนนโดยรวม 99.5 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นเครื่องการรันตีถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ของเทรนด์ไมโครได้อย่างดี

เทรนด์ไมโครยังคงพัฒนาโซลูชั่นของทิปปิ้งพอยต์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ความปลอดภัย ด้วยการผนวกรวมระบบป้องกันและตรวจจับการบุกรุกเข้าด้วยกัน เทรนด์ไมโครกำลังสร้างแนวทางที่รอบด้านสำหรับการรับมือกับการโจมตีที่ซับซ้อน โดยหากมีการโจมตีเกิดขึ้น โซลูชั่นของเทรนด์ไมโครจะสามารถตรวจจับและแก้ไขช่องโหว่ภายในเครือข่ายได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น โดยวันนี้เทรนด์ไมโครมีโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่พร้อมบริการครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมปกป้องทุกขั้นตอนการทำงานดังนี้

• Threat Protection System (TPS) – ระบบป้องกันและตรวจจับการบุกรุก ซึ่งถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อความต้องการของระบบป้องกันเครือข่ายในองค์กร และครอบคลุมถึงความสามารถในการแสดงผลแบบองค์รวม รวมถึงความง่ายในการดูแล

• Next-Generation Intrusion Prevention System (IPS) – ระบบการป้องกันการบุกรุก ที่ทำหน้าที่ป้องกัน (block) การบุกรุกระบบเน็ตเวิร์ก ป้องกันให้ระบบเน็ตเวิร์กให้ปลอดภัยจากการถูก Hack หรือโจมตี

• Advanced Threat Protection (ATP) – โซลูชั่นตรวจสอบทราฟฟิกเครือข่าย ทั้งในส่วนของฟิสิคอลและเวอร์ชวลบนโปรโตคอลและแอพพลิเคชั่น โดยครอบคลุมพอร์ตเครือข่ายทั้งหมด ตรวจจับและเชื่อมโยงทุกขั้นตอนของวงจรการโจมตี รวมไปถึงการควบคุมและสั่งการ การระบุข้อมูลเป้าหมาย และการเคลื่อนย้ายภายในองค์กร ช่วยให้องค์กรต่างสามารถระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังตอบสนองต่อการโจมตีได้อย่างทันท่วงที

• Digital Vaccine Labs Threat Intelligence (DVLabs) – ฐานข้อมูลอัจฉริยะที่คอยทำการปรับปรุงข้อมูลและสร้าง Digital Vaccine ใหม่ๆ ในทุกสัปดาห์ รวมถึง smart filter ที่มากกว่าหนึ่งหมื่นรายการที่ช่วยให้สามารถปกป้องระบบจากช่องโหว่ทั้งที่รู้จักและยังไม่รู้จัก (Zero-Day)

• Security Management System (SMS) – ส่วนบริหารจัดการที่คอยควบคุม วิเคราะห์ แสดงผล และตอบสนองต่อการตรวจจับของอุปกรณ์ TippingPoint ทั้งหมดในระบบเครือข่าย