คุณอาจเคยได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทดสอบลิงค์สายไฟเบอร์ขณะที่แขวนตัวเองอยู่ขอบหน้าผาแต่อย่างใด แต่ไม่ว่าคุณอาจจะกำลังทดสอบในพื้นที่ใหม่ๆ อยู่ก็ตาม แต่ระบบอย่างดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากสิ่งที่คุณเทสอยู่เป็นประจำสักเท่าไร
แล้วอะไรคือดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge กันแน่? เราลองมาดูในรายละเอียดดังนี้
มีปัจจัยผลักดันมากมาย
อย่างที่ทราบดีว่า Internet of Things กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และการสื่อสารผ่านอุปกรณ์พกพาก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มดังกล่าวด้วย ซึ่งจากรายงาน Cisco Visual Networking Index ระบุว่า ทราฟิกของสมาร์ทโฟนจะเพิ่มจนมากกว่าทราฟิกข้อมูลของเครื่องพีซีในที่สุด การเติบโตและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นๆ อย่างเช่น ระบบ IoT เชิงอุตสาหกรรม, การสื่อสารระหว่างเครื่องจักร, เกมออนไลน์, วิดีโอสตรีมมิ่ง, และรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองนั้นก็ต้องการความรวดเร็วอย่างมากในการตอบสนองและประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้การมาถึงของโครงข่ายโทรคมนาคมแบบ 5G จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่ 5 นี้ได้เพิ่มช่วงความถี่ในย่านต่างๆ จนทำให้สามารถเพิ่มทรูพุตตามทฤษฎีได้มากถึง 10 กิกะบิตต่อวินาที ถือเป็นความเร็วที่ตอบโจทย์กับการเติบโตของเทคโนโลยีโมบายล์ยุคนี้
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อเทคโนโลยีเหล่านี้คือ เวลาหน่วงของเครือข่ายหรือ Latency ซึ่งหมายถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการรับส่งและประมวลผลข้อมูลที่ขึ้นกับจำนวนของสวิตช์ และระยะทางที่ข้อมูลจะต้องเดินทางบนเครือข่าย ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองนั้นรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโทรคมนาคมแบบ 4G ปัจจุบันใช้เวลาอยู่ประมาณ 80 มิลลิวินาที แต่การที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์จราจรที่ฉุกเฉินนั้นจำเป็นต้องมีเวลาหน่วงน้อยกว่า 5 มิลลิวินาที หรือกับเกมออนไลน์ของคุณนั้น การ Lag หรือหยุดชะงักระหว่างการเล่นเกมที่มักสร้างความรำคาญให้คุณก็มักเกิดจากเวลาหน่วงทั้งสิ้น
จริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์ของดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ก็เพื่อเพิ่มแบนด์วิธและลดดีเลย์ด้วยการนำส่วนของการประมวลผลข้อมูลและพื้นที่เก็บข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้และอุปกรณ์ที่ส่วนขอบของเครือข่ายที่ต้องการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ให้มากขึ้น แทนที่จะส่งข้อมูลทุกอย่างกลับไปยังดาต้าเซ็นเตอร์หรือคลาวด์ที่อยู่ศูนย์กลางเพื่อประมวลผล ลองนึกถึง Netflix ที่เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดโลก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 140 ล้านราย แต่กินปริมาณทราฟิกทั้งหมดมากกว่า 15% ของทราฟิกบนอินเทอร์เน็ตรวมทั่วโลก ดังนั้นจึงเลือกวางข้อมูลคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงเก็บไว้ในดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ที่สำนักงานในท้องถิ่นมากกว่ามาเก็บรวมในดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างออกไปหลายร้อยไมล์ ทำให้สามารถส่งมอบคอนเท็นต์ให้ลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด เสถียรกว่าเดิม
ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คืออะไร? และหน้าตาเป็นอย่างไร?
ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge นั้นถูกสร้างขึ้นในหลากหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใกล้กับเสาสัญญาณ Wi-Fi ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการให้บริการโครงข่าย 5G, ตามหัวมุมถนนเพื่อรองรับระบบจัดการจราจรอัจฉริยะและรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง, ในสำนักงานกลาง, หรือแม้แต่ภายในหรือบริเวณติดกับโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารขององค์กรเช่น ศูนย์บริการทางการแพทย์ หรือพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
เมื่อเปรียบเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ขนาดใหญ่ หรือแบบ Co-location แล้ว ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีขนาดได้ตั้งแต่แบบเล็กมากที่กินพื้นที่แค่ไม่กี่ Rack เก็บอยู่ในตู้ที่ตั้งตามหัวถนน, หรืออาจเต็มทั้งตู้ชั้น Rack เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลของอาคารหนึ่ง, ไปจนถึงตู้ Rack หลายตู้ที่อยู่ในห้องดาต้าเซ็นเตอร์ของเสาสัญญาณ 5G, หรือแม้กระทั่วเป็นตู้ Rack จำนวนกว่า 40 – 50 ตู้ที่ตั้งอยู่ภายใต้สำนักงานใหญ่ของตัวเมือง
สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คือ ดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ก็ยังคงมีเอกลักษณ์ของความเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่ว่าจะมีระบบการใช้พลังงาน, การทำความเย็น, การเดินสายเคเบิล, และการเชื่อมต่อต่างๆ ลักษณะเดียวกันกับดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป เพียงแค่มีขนาดเล็กกว่ามากเท่านั้น
ดาต้าเซ็นเตอร์ประเภทนี้ยังใช้ระบบมาตรฐานเดียวกันอย่างเช่นมาตรฐาน TIA-942-A ที่ระบุไว้ตั้งแต่ห้องทางเข้า, พื้นที่การเชื่อมต่อหลัก, พื้นที่ระบบเชื่อมต่อรอง, และพื้นที่จัดวางอุปกรณ์เชื่อมต่อ ดังนั้นดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge อาจมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของผู้ให้บริการ, คอร์สวิตชิ่ง, สวิตช์ Intermediate, และเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ รวมอยู่ภายในตู้เดียวกัน และเนื่องจากการรวมทุกอย่างผสานเข้าไปอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กกว่าปกติ ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge มักมีความหนาแน่นต่อตู้มากกว่า ทั้งด้านจำนวนการเชื่อมต่อและความต้องการพลังงาน (โดยทั่วไปกินไฟอยู่ประมาณ 12 – 15kW ต่อตู้)
จำเป็นต้องมีการทดสอบสำหรบดาต้าเซ็นเตอร์เช่นกัน
เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ก็ยังเป็นดาต้าเซ็นเตอร์รูปแบบหนึ่ง หมายความว่าการทดสอบที่คุณเคยทำกับดาต้าเซ็นเตอร์ปกติก็ยังใช้ได้กับแบบ Edge เช่นกัน โดยในดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ คุณสามารถพบกับการเชื่อมต่อผ่านสายไฟเบอร์แบบซิงเกิลโหมดเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของผู้ให้บริการ, การเชื่อมต่อผ่าน MPO แบบมัลติโหมดที่เชื่อมระหว่างสวิตช์, ไปจนถึงสายเคเบิลแบบสายทองแดง หรือสาย SFP+ / SFP28 Twinax แบบ Direct Attach Cable (DAC) ที่เชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ด้วยกัน
แต่เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge มีความหนาแน่นมาก อาจเป็นในรูปตู้เดี่ยว หรือดาต้าเซ็นเตอร์ที่อัดอยู่ในคอนเทนเนอร์ ทำให้คุณไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับทำการทดสอบได้สะดวกเหมือนในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ แต่ดีที่ทาง Fluke Network ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้คุณทดสอบในพื้นที่แคบได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออย่าง FI-500 FiberInspector Micro ที่มีไฟส่องสว่าง PortBright™ ในตัวที่เข้ากับพื้นที่แคบได้ง่าย และทำให้ค้นหาตรวจสอบพอร์ตสายไฟเบอร์ในสภาพแวดล้อมที่หนาแน่นและมีแสงน้อยได้ง่าย รวมทั้งผลิตภัณฑ์อย่าง Mag Kit Magnetic Strap ที่ช่วยให้คุณยึดชุดทดสอบเข้ากับพื้นผิวโลหะได้ หรือสามารถใช้ระบบสอบเทียบมาตรฐานสายเคเบิล Versiv ที่มีการออกแบบเป็นโมดูลที่รองรับการตรวจเทียบมาตรฐานสายทองแดง และสายไฟเบอร์แบบซิงเกิลและมัลติโหมด ทั้งแบบ Tier 1 และ Tier 2 ทำให้คุณใช้อุปกรณ์ทดสอบจำนวนน้อยกว่าเดิมเวลาไปทำงานที่ฝั่ง Edge ได้อย่างคล่องตัว
สามารติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่เพจ Fluke Network