ระบบไฟส่องสว่างอัจฉริยะที่สั่งเปิดปิดได้ผ่านเน็ตบนแอพมือถือที่กำลังได้รับความนิยมนั้น อาจจะกลายเป็นช่องโหว่สำคัญให้แฮ็กเกอร์แอบเข้ามาดูดข้อมูล ไปจนถึงสอดส่องความเป็นส่วนตัวภายในบ้านหรือออฟฟิศได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสได้ออกมากล่าวว่า แฮ็กเกอร์สามารถอาศัยช่องโหว่บนหลอดไฟส่องสว่างที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตในการลอบเข้าเครือข่ายของผู้ใช้ โดยได้ทดลองกับระบบสมาร์ทไลท์ชื่อดังอย่าง LIFX และ Phillips ซึ่งพบว่าการสื่อสารระหว่างตัวหลอดไฟอัจฉริยะกับอุปกรณ์ที่ตรวจจับแสงอินฟราเรดกลายเป็นจุดอ่อนให้แฮ็กเกอร์ใช้รับส่งข้อมูล
โดยแฮ็กเกอร์สามารถติดตั้งมัลแวร์หรือแอพอันตรายบนโทรศัพท์เพื่อถอดรหัสข้อมูลพร้อมส่งออกมาในรูปของแสงอินฟราเรด ซึ่งนักวิจัยชี้ว่าผู้ใช้สามารถป้องกันช่องโหว่ดังกล่าวได้ด้วยการติดตั้งระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายที่แข็งแกร่งเพียงพอ และลดปริมาณการส่องสว่างหรือความสว่างของหลอดไฟเพื่อรบกวนการแอบส่งสัญญาณของผู้โจมตี
กรณีนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างของช่องโหว่ที่พบบนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวันปกติมากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็มีการค้นพบช่องโหว่บนเครื่องรับส่งโทรสาร ที่แฮ็กเกอร์เพียงแค่ส่งมัลแวร์มาฝังบนเครื่องแฟ็กซ์ผ่านสายโทรศัพท์ได้จากการรู้เบอร์โทรศัพท์ของเครื่องแฟ็กซ์เท่านั้น เป็นต้น
ที่มา : CISOMag