หน้าแรก Internet of Things วิศวกร MIT สร้างแบตเตอรี่ในรูปของเส้นใยผ้าที่ยืดหยุ่นและซักได้

วิศวกร MIT สร้างแบตเตอรี่ในรูปของเส้นใยผ้าที่ยืดหยุ่นและซักได้

แบ่งปัน

ทีมวิศวกรจาก MIT ได้พัฒนาตัวต้นแบบของแบตเตอรี่ลิเธียมอิออนแบบยืดหยุ่นที่สามารถนำไปถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มแบบจริงจังได้ในอนาคต เปิดทางใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ล้ำยุคอย่างอุปกรณ์สื่อสาร ตรวจจับสัญญาณ หรือประมวลผลที่สวมใส่ได้อย่างแท้จริง

โดยทางสถาบันแถลงว่า กลุ่มวิศวกรของตนเองได้สร้างแบตเตอรี่แบบเส้นใยยืดหยุ่นได้ยาวที่สุดโลก ยาวถึง 140 เมตร ด้วยเป้าหมายที่ต้องารแสดงให้เห็นว่าสามารถทำวัสดุดังกล่าวได้ยาวเท่าไรก็ได้ตามต้องการด้วยวิธีอย่างการพิมพ์สามมิติ ที่นำมาสร้างรูปร่างของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้

งานของกลุ่มวิจัยนี้มุ่งเน้นในด้าน “เส้นใยที่อยู่ในรูปวัสดุพื้นฐานสำหรับนำไปทอเป็นผ้าหรือพิมพ์ออกมาเป็นสามมิติ” เพื่อนำไปสร้างเป็น “ระบบไฟฟ้าแบบหลายมิติที่แผ่กระจายตามพื้นที่ได้” ซึ่งระบบจ่ายไฟแบบสามมิติที่ใช้แบตเตอรี่ที่ยาวเป็นพิเศษนี้ใช้ทั้งเจล อนุภาค และโพลิเมอร์ที่นำไฟฟ้าและทนทานต่อการบิดโค้งงอ

แบตเชือกหรือไฟเบอร์แบตเตอรี่รุ่นตัวอย่างนี้ให้กระแสไฟประมาณ 123mAh ซึ่งนักวิจัย MIT คุณ Tural Khudiyev หนึ่งในหัวหน้าทีมกล่าวว่า ไฟขนาดนี้เพียงพอที่ใช้ชาร์จสมาร์ทวอชหรือโทรศัพท์ได้แล้ว และเส้นใยที่ได้นี้หนาแค่ไม่กี่ร้อยไมครอน ถือว่าบางกว่าแบตเตอรี่แบบไฟเบอร์เจ้าอื่นที่เคยออกมา

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ZDNet

///////////////////////

สมัครสมาชิก Enterprise ITPro เพื่อรับข่าวสารด้านไอที