หน้าแรก News & Event Kintone เข้าสู่ตลาดเทคโนโลยี NO-CODE เต็มตัว เปิดตัวโซลูชันทำงานแบบ DIY ปูทางธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMBs)

Kintone เข้าสู่ตลาดเทคโนโลยี NO-CODE เต็มตัว เปิดตัวโซลูชันทำงานแบบ DIY ปูทางธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SMBs)

แบ่งปัน

บริษัท Kintone (Thailand) จำกัด บริษัทในเครือ Cybozu ผู้ให้บริการกรุ๊ปแวร์สำหรับธุรกิจชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมสู่ออฟฟิศดิจิทัลแบบ Do-It-Yourself (DIY) ในประเทศไทย เปิดตัวแพลตฟอร์มพื้นที่ทำงานดิจิทัลแบบปรับแต่งได้เองทั้งหมดแบบ all-in-one ผู้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ workflow ขององค์กรที่รวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานไว้ในรูปแบบออนไลน์ ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการทำงานแบบทีมภายในองค์กร ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน IT  หรือ Coding สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา ใช้งานง่ายแบบไม่มีสะดุด ผ่านสมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์

ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) คาดว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ของ GDP ภายในปี 2570 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่ทรงพลังที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยมีประชากรกว่า 80% สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ และกว่า 99% เป็นบริษัทเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กของไทยแสดงความสนใจอย่างมากในการเปลี่ยนโฉมสู่ออฟฟิศดิจิทัล แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้

ตลาดเทคโนโลยีโลกมีโซลูชันที่สร้างสรรค์มากมาย แต่เจ้าของธุรกิจชาวไทยจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาระบบใหม่ ทำให้พวกเขามักรู้สึกปลอดภัยกว่าที่จะยึดติดกับกระบวนการแบบเดิม เช่น การใช้เอกสารกระดาษหรือสเปรดชีท ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีใด ๆ ในการใช้งาน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโซลูชันดิจิทัลมักให้ความรู้สึกที่ยากและซับซ้อนมากกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม ส่งผลให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างพนักงานฝ่ายไอที หรือว่าจ้างบุคลากรไอทีที่มีความสามารถในตลาดที่มีความต้องการสูงในประเทศได้ แต่เมื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงหลังจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่เจ้าของธุรกิจเลือกที่จะคงกระบวนการแบบเดิม ๆ แม้ว่ามีความคิดที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็ตาม

“บริษัทไทยมักจะยึดติดกับกระบวนการเดิม ๆ หรือซอฟต์แวร์ฟรีที่มีอยู่ เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) ยังไม่เข้าใจว่าจะเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกันอย่างไร ประกอบกับต้นทุนในการจ้างทีมไอทีและผู้มีประสบการณ์ที่สูงเกินไปส่งผลให้โซลูชันที่มีอยู่มากมายยังไม่ถูกนำมาใช้งาน ดังนั้นโซลูชันพื้นที่การทำงานแบบ DIY อย่าง Kintone ที่ผู้ใช้สามารถเข้ามาดูแลระบบและปรับแต่งระบบได้เองโดยตรงถือเป็นโซลูชันที่ธุรกิจในประเทศไทยจะสามารถนำไปปรับใช้งานได้ แม้ว่าจะไม่มีพื้นฐานด้านไอทีก็ตาม” คุณน้ำยา วายุภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Kintone (Thailand) กล่าว

Kintone ผู้สร้างโซลูชันพื้นที่การทำงานแบบ DIY เป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมวงการธุรกิจไทย โดยตอบสนองไปตามความต้องการของผู้ใช้งานผ่านการสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถจัดการด้วยตนเองได้แบบครบวงจรแบบ all-in-one พร้อมออกแบบ Workflow ในองค์กรได้แบบไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม (no-coding) ให้ยุ่งยาก และเชื่อมต่อทุกระบบผ่าน Cloud Service ทำให้พนักงานที่อยู่ที่สำนักงาน บ้าน หรือประชุมกับลูกค้าก็สามารถเข้าถึงระบบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตัวอย่างเช่น การจัดเก็บข้อมูลของแผนกเซลส์-งานขาย เนื่องจากมีสมาชิกเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยระบบการทำงานของ kintone ซึ่งเป็นแบบเรียลไทม์ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลา แม้ออกไปทำงานนอกสถานที่  สามารถตรวจสอบสถานะของการอนุมัติใบเสนอราคา เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไปหรือผู้จัดการจะตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ทุกคนในทีมจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด ทั้งนี้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมมิ่ง เพียงแค่มีสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต งานของทีมก็จะเดินหน้า แบบไม่มีสะดุดในทุกขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กรเรื่องการวางระบบไอที  จะเห็นได้ว่า Kintone พร้อมช่วยจัดการข้อมูลด้านธุรกิจ งานเอกสาร และการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านซอฟแวร์แบบ No-Code ซึ่งสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน   นอกจากนี้  Kintone ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหลายฟังก์ชั่นธุรกิจ ในองค์กร อาทิ เช่น ฝ่ายบุคคลและแอดมิน, ฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, ฝ่ายจัดซื้อ , ฝ่ายIT, ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์, ฝ่ายวางแผนองค์กร และอื่นๆ

จุดเด่นของระบบเหล่านี้คือความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ธุรกิจที่นำเครื่องมือแบบ no-code มาใช้จะสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรด้านระบบไอที ซึ่งสามารถนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ได้ ตลาดของไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและรับมือกับคู่แข่งขันอย่างรวดเร็วจะเป็นตัวตัดสินความสำเร็จ

แม้ว่าโซลูชันพื้นที่ทำงานแบบ DIY ของ Kintone จะถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งระบบเองได้ 100% แต่ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบทั้งหมดจะอยู่ที่ผู้ใช้งาน 100% เนื่องจาก Kintone มีทีมงานซัพพอร์ตสำหรับผู้ใช้งานคนไทยด้วยภาษาไทย ที่พร้อมสนับสนุนการติดตั้ง ออกแบบพื้นที่ทำงาน และทีมให้ความรู้ด้านดิจิทัลตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานพื้นที่ทำงานแบบ DIY ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจยุคใหม่

ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของ Kintone คือการเป็นพันธมิตรที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้คล่องตัว ยืดหยุ่น และเสริมประสิทธิภาพ ให้กับองค์กรในประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2567 เป็น 20 % ในปี 2568 หรือ 500 บริษัทในประเทศไทย และตั้งเป้าให้เป็น 1000 บริษัทในไทย ภายในปี 2571