William Brian Arthur นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง เขียนใน The Nature of Technology “ในโลกแห่งความเป็นจริง เทคโนโลยีมีการปรับเปลี่ยนอย่างสูง เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่คงที่ ไม่สิ้นสุด และไม่สมบูรณ์แบบ” รวมถึงเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลก็ไม่มีข้อยกเว้น
โดยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นสำหรับการตอบสนองรูปแบบธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและสิ่งเหล่านี้ทำให้หลายองค์กรมองหาสถาปัตยกรรมไอทีแบบใหม่ ที่นำพาทุกคนเข้าสู่ยุคระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช
คำถาม : อะไรเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชอย่างรวดเร็ว?
ในปี 2558 Gartner ทำนายการถือกำเนิดของยุคระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช ที่ซึ่ง Solid State Drive (SSD) จะมาแทนที่ Hard disk Drive (HDD) ในการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร ซึ่งอันที่จริงแล้ว SSD ที่มีประสิทธิภาพสูงพร้อม All-Flash Array (AFAs) คาดว่าจะแทนที่ 50% ของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ HDD แบบเดิมในศูนย์ข้อมูลภายในปี 2563
ปริมาณมหาศาลของข้อมูลที่หลากหลายนั้นขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Internet Of Thing (IoT) และ 5G ซึ่งหัวเว่ยประเมินว่าภายในปี 2568 ข้อมูลทั่วโลกจะมีปริมาณกว่า 180 ZB นั้นจะมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อความ รูปภาพ ไฟล์เสียง และไฟล์วิดีโอ จะทำให้การประมวลผลข้อมูลมีความซับซ้อนและต้องการรูปแบบการจัดเก็บใหม่ ดังนั้นระบบจัดเก็บข้อมูลจะต้องจัดการกับสภาพแวดล้อมของการปรับใช้ เพื่อตอบสนองการใช้งานของแอปพลิเคชัน และข้อกำหนดด้านมูลค่าต่าง ๆ
เทคโนโลยี SSD กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยระดับความจุที่เพิ่มขึ้นจากหลายร้อยกิกะไบต์ไปจนถึงหลายสิบ เทราไบต์ เทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อเครือข่ายกำลังเริ่มใช้งาน SSD สำหรับพื้นที่จัดเก็บแบบ Block, File และ Object เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลรุ่นต่อไปที่ได้รับการแนะนำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามตัวเปลี่ยนเกมที่แท้จริงคือระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชและ SSD ซึ่งกำลังเข้าแทนที่อย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี SAS และ SATA ซึ่งมีอายุกว่าสองทศวรรษในตลาดระบบจัดเก็บข้อมูล
SSD ทำงานได้ดีเป็นพิเศษสามารถประมวลผล IOPS นับล้าน จึงทำให้เหมาะสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ต้องการประสิทธิภาพ คลาวด์คอมพิวติ้ง และแอปพลิเคชันปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลการตลาดแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการเงินสร้างรายได้จาก AFA มากที่สุด โดยที่รัฐบาล การสื่อสารโทรคมนาคม และผู้ผลิตมีความพึงพอใจต่อ AFA มากขึ้น
คำถาม: ลูกค้าอุตสาหกรรมจะใช้ประโยชน์จากการท่วมของข้อมูลได้อย่างไร?
Big Data กำลังเปลี่ยนแปลงหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์ข้อมูลของธนาคาร มีลูกค้าจำนวนมากดำเนินการผ่านออนไลน์หรือผ่านมือถือ ซึ่งย่อมมีความต้องการให้ระบบธนาคารทำงานได้อยู่ตลอดเวลา การเกิดขึ้นของกิจกรรมด้านไอทีที่ให้บริการทางการเงินทำให้สถานการณ์ยุ่งยากขึ้น วิธีการเข้าถึงที่คาดเดาไม่ได้ และปริมาณบริการยังคงมีการทดสอบขีดจำกัดของระบบต่าง ๆ ปริมาณธุรกรรม ดังเช่น ในวันที่ 11 พฤศจิกายนหรือวันคนโสดเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่า โดยมีการประมวลผลธุรกรรมหลายสิบล้านครั้งทุกวินาที ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณงานขนาดใหญ่ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน
หัวเว่ยได้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างแข็งขันในการให้องค์กรต่าง ๆ สามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ธนาคารที่ให้บริการลูกค้าหลายๆประเทศพบว่าลูกค้าไม่พอใจเนื่องจากโซลูชั่นดั้งเดิมไม่สามารถรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ หัวเว่ยสามารถแก้ไขปัญหาให้ด้วยการเปลี่ยนระบบจัดเก็บข้อมูลดั้งเดิมด้วย OceanStor Dorado, AFAs เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์จากการใช้งานที่ราบรื่นตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน ตัวอย่างถัดมา เช่น ผู้คนจำนวนมากยื่นแบบภาษีคืนและชำระเงินออนไลน์ทั่วโลก
ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันมหาศาลต่อระบบการชำระเงิน หน่วยงานด้านภาษีของประเทศหนึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นและความปลอดภัยของข้อมูลหลังจากการเสนอบริการตลอด 24 ชั่วโมงใหม่ให้กับประชาชน ซึ่งรวมถึงการให้บริการ e-taxation และ e-invoice ในการนี้ระบบ OceanStor Dorado ขั้นสูงทั้งสองระบบได้รับการปรับใช้ให้กับระบบ gateway-free สำหรับ Metro Cluster เพื่อให้บริการที่ปลอดภัยและไม่ทำให้ยุ่งยากสำหรับผู้เสียภาษี
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการใช้งานหลักเรื่องการเปลี่ยนแปลงการผลิต การผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นกระบวนการที่น่าเบื่อหน่ายและห่วงโซ่การตลาดที่กว้างขวางครอบคลุมผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการไหลของข้อมูลหลายระดับและการจัดทำรายงานเป็นประจำ ปัญหาใด ๆ ระหว่างการผลิตรถยนต์ล่าช้า ยอดขายลด และในที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันขององค์กร ระบบ ERP แบบเก่าของผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำนั้นต้องใช้เวลาเจ็ดนาทีในการตอบคำถามการผลิตและการสั่งซื้อ และใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการรายงานยอดขายแบตเตอรี่รายเดือน ซึ่งในการนี้ Huawei AFA สามารถช่วยลดลดเวลาตอบสนองต่อข้อมูลเหล่านี้ลงให้เหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า AFAs สามารถทำอะไรได้บ้าง ผู้เล่นในอุตสาหกรรมเลือก AFAs เพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ต้นทุนที่ต่ำ ลง และความน่าเชื่อถือที่สูงขึ้น โดยมี หัวเว่ย เป็นผู้จัดจำหน่ายที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการเหล่านี้
นวัตกรรมและความมุ่งมั่นทำให้ หัวเว่ย เป็นผู้ให้บริการ AFA ชั้นนำ
บริษัทเป็นผู้บุกเบิก AFA มานานนับตั้งแต่เปิดตัว SSD รุ่นแรกในปี 2548 ด้วยความเชี่ยวชาญ 15 ปี หัวเว่ยได้ กลายเป็นผู้จัดจำหน่ายระบบจัดเก็บข้อมูลชั้นนำที่มี SSD ตัวชิปควบคุมและระบบปฏิบัติการสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช
หัวเว่ย AFAs มีการพัฒนาแพลตฟอร์มชิป end-to-end ช่วยให้สามารถดำเนินการ vertical consolidation สำหรับการส่ง การประมวลผล ความสามารถในการคิดและเรียนรู้ การจัดเก็บและการจัดการ ชิปเหล่านี้รวมถึงชิปอินเตอร์เฟซมัลติโปรโตคอลอัจฉริยะ Hi1822, หน่วยประมวลผล Kunpeng 920, AI ชิป Ascend 310, ชิปควบคุม SSD Hi1812e และชิปจัดการ BMC Hi1710 จุดเด่น คือ ชิป Kunpeng 920 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดและเมื่อรวมกับเทคโนโลยีแบบมัลติคอร์จึงมีประสิทธิภาพสูงเป็นสองเท่า
เทคโนโลยีชิปที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นมา 5 ตัวนี้ สามารถกำจัดปัญหาคอขวดที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลของ CPU สื่อและเครือข่าย ซึ่งจะทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถรับมือกับการท่วมของข้อมูลที่เกิดใหม่ขึ้นเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กร
เรื่องราวความสำเร็จระดับโลกยืนยันความเชี่ยวชาญของ หัวเว่ย
ในปี 2562 รายงานของ IDC คาดการณ์การเจริญเติบโต 1.3% ปีต่อปี ในการจับจ่ายใช้สอยสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูล OEM ภายนอกขององค์กรทั่วโลก โดยในไตรมาสที่สามการจับจ่ายใช้สอยสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 60.1% การเติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าวได้รับแรงผลักดันจากการยอมรับของอุตสาหกรรมที่ยังไม่มีสัญญาณของการลดน้อยลง โดยมี AFAs เป็นสายผลิตภัณฑ์ที่เติบโตเร็วที่สุดของระบบจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ย
ในปี 2561 Magic Quadrant รายงานการวิจัยตลาดที่เผยแพร่โดย บริษัท ที่ปรึกษาด้านไอทีของ Gartner รายงานว่า Disk Arrays สำหรับ General-Purpose ของหัวเว่ยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในปีที่สามติดต่อ และต่อมาในปี 2062 Magic Quadrant โดย หัวเว่ย ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในการปรับปรุงความสมบูรณ์ของกลยุทธ์และการดำเนินการ หัวเว่ยยังคงคิดค้นและช่วยให้องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรและระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในยุคของการกระหายข้อมูล
หัวเว่ยได้เปิดตัวโปรแกรม “Flash Only +” เพื่อให้ลูกค้าได้มีการใช้งานสเตอเรจอย่างเต็มที่กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของ AFAs ในราคาเท่ากันของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบไฮบริดที่มีความจุเท่ากัน โปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้ได้จนถึง 31 ธันวาคม 2563