ก่อนหน้านี้ทาง Fluke เคยเขียนบล็อกด้านสายเคเบิลที่เกี่ยวกับข้อยกเว้นของกฎที่จำกัดความยาวของแชนแนลรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 100 เมตร พร้อมทั้งข้อเท็จจริงที่ว่าคุณไม่สามารถลากสายเต็มความยาวที่จำกัดนี้ได้เนื่องจากมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องอย่างเช่นการเพิ่มของอุณหภูมิ ขนาดลวดตัวนำ และค่าการสูญเสียสัญญาณภายในสาย ค่าความต้านทาน DC ที่เกี่ยวข้อง แต่รู้หรือไม่ว่าคุณก็สามารถลากให้ยาว “เกินกว่า” 100 เมตรได้ด้วยเช่นกัน? มาดูกันว่ามีกรณีไหนบ้าง
ปัจจัยที่ควรกังวล
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยจากแผนกซัพพอร์ตทางเทคนิคของ Fluke ก็คือ ทำไมการทดสอบความยาวสาย (Length) ไม่ขึ้นว่าไม่ผ่านกรณีที่ลิงค์ถาวรยาวเกิน 90 เมตร หรือตลอดทั้งแชนแนลส่งสัญญาณนั้นกินระยะเกินกว่า 100 เมตร
ถ้าคุณดูผลการทดสอบลิงค์ถาวรในตัวอย่างด้านล่าง ก็จะเห็นได้ว่ามีค่าความยาวที่วัดได้แตกต่างกันอยู่ 4 ค่าสำหรับทั้ง 4 คู่สาย ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้เนื่องจากแต่ละคู่สายต่างมีอัตราการเข้าบิดเกลียวต่างกัน ถ้านำออกาคลายเกลียวออกแล้วยืดสายให้ตึงสุด ความยาวที่วัดได้ก็ย่อมต่างกันอยู่แล้ว ตามมาตรฐานนั้นจะวัดว่าผ่านหรือไม่ผ่านจากค่าความยาวเส้นที่สั้นที่สุด ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องทดสอบนี้ถึงดูแค่คู่สายที่วัดความยาวได้ 90.8 เมตร แล้วพรางข้อมูลของคู่สายอื่นออก
แต่ถ้าจะมองว่าค่าความยาวคู่สายที่สั้นที่สุดที่ 90.8 เมตรนี้ก็ยังถือว่ามากกว่าค่าลิมิตของลิงค์ถาวรที่อยู่ที่ 90 เมตร แล้วทำไมถึงไม่ขึ้นผลว่าไม่ผ่าน?
เรื่องของ กฎ 10%
ในมาตรฐาน ANSI/TIA-1152 ในหัวข้อเกณฑ์ของเครื่องมือทดสอบหน้างาน และการตรวจวัดระบบสายเคเบิลแบบบิดเกลียวคู่ที่สมดุลนั้น ค่าขีดจำกัดของความยาวลิงค์ถาวรจะคิดจากค่าลิมิตที่ตั้งไว้รวมกับค่าความไม่แน่นอนหรือ NVP ที่คิดอยู่ 10% โดย NVP นี้ย่อมาจากค่า Nominal Velocity of Propagation ที่ระบุในรูปของเปอร์เซ็นต์ บอกถึงลักษณะความเร็วในการส่งต่อสัญญาณบนสายเคเบิลคิดเป็นสัดส่วนต่อความเร็วแสงในสุญญากาศ ที่เป็นกลไกของเครื่องทดสอบที่ใช้คำนวณความยาวของสายเคเบิลนั่นเอง
เนื่องจากความเร็วแสงในสุญญากาศถือเป็นความเร็วสูงที่สุดที่สามารถทำได้ ทำให้ค่า NVP จะต้องต่ำกว่า 100% อยู่เสมอ เราควรตั้งค่าใช้สเปก NVP ที่ผู้ผลิตสายเคเบิลกำหนดให้ ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ 56 ถึง 78% แล้วแต่การออกแบบของสายเคเบิลนั้นๆ โดยวัสดุที่ทำฉนวนสายเคเบิลแต่ละแบบก็มีค่า NVP เป็นของตัวเอง ทำให้เป็นค่าที่ค่อนข้างกว้าง จึงมักตั้งค่า NVP ได้ไม่ค่อยแม่นยำ และเป็นที่มาว่าทำไมมาตรฐาน ANSI/TIA-1152 ถึงเปิดช่องเผื่อค่าความไม่แน่นอนของ NVP อยู่ที่ 10% ถ้ายังนึกภาพตามไม่ออกว่า NVP มีผลต่อเครื่องทดสอบอย่างไร ลองนึกว่ารายงานที่ใช้ค่า NVP ที่ 60% สำหรับลิงค์ถาวรยาว 80 เมตรนั้น ถ้าเปลี่ยนมาใช้ค่า NVP ที่ 78% ก็จะทำให้รายงานค่าความยาวสายกลายเป็น 98.7 เมตรเลยทีเดียว
การที่มาตรฐาน ANSI/TIA-1152 ระบุเกณฑ์ความยาวมากที่สุดเท่ากับค่าขีดจำกัดปกติรวมกับค่าเฉลี่ยความไม่แน่นอนของค่า NVP ที่ 10% ดังนั้นค่าความยาวของลิงค์ถาวรจะไม่ทำให้ผลการทดสอบไม่ผ่านจนกว่าจะเกิน 90 เมตรรวมกับอีก 10% หรืออีกนัยหนึ่งคือ ค่าความยาวของลิงค์ถาวรจะต้องยาวเกินกว่า 99 เมตรถึงจะขึ้นว่าไม่ผ่าน และทำให้ค่าระยะของตลอดแชนแนลก็จะต้องยาวเกิน 110 เมตรตามไปด้วยถึงทำให้ผลการทดสอบล้มเหลว
อย่ายึดติดกับความยาวสายมากเกินไป
ผู้ติดตั้งบางรายค่อนข้างกังวลกับประเด็นความยาวสายนี้ แต่ความเป็นจริงนั้นการตั้งค่า NVP กระทบกับแค่การตรวจวัดความยาวสายเท่านั้น “ไม่เกี่ยว” กับค่าพารามิเตอร์อื่นทดสอบได้ และตัวอุปกรณ์ที่ใช้งานสายเคเบิลก็ไม่มานั่งสนใจเรื่องความยาวสายด้วย สนใจแค่ค่าพารามิเตอร์ด้านประสิทธิภาพการใช้งานที่เรื่องความยาวสายอาจมีผลเท่านั้น เช่นค่าการสูญเสียพลังงานภายในสาย (Insertion Loss) และค่าดีเลย์ในการส่งต่อสัญญาณ (Propagation Delay)
ดังนั้นถ้าค่าเหล่านี้ผ่านการทดสอบแล้ว จะมัวกังวลเกี่ยวกับความยาวลิงค์ถาวรที่เกิน 90 เมตรกันอีกหรือ? อันที่จริง มาตรฐาน ISO/IEC ก็ไม่ได้กำหนดความผ่าน/ไม่ผ่านจากความยาวสายแต่เพียงอย่างเดียว แม้ว่าแน่นอนเราไม่ควรหาข้ออ้างมาเปิดช่องให้ลากสายได้ยาวถึง 99 เมตร แต่ทางเทคนิคแล้วก็ยังถือว่ายอมรับได้ตราบเท่าที่ค่าพารามิเตอร์ด้านประสิทธิภาพยังผ่านการทดสอบ ซึ่งเป็นค่าหลักในการตัดสินว่าลิงค์ดังกล่าวรองรับรูปแบบการใช้งานที่ต้องการได้หรือไม่ แต่ถ้าคุณลองพยายามลากลิงค์ถาวรให้เต็มที่ถึง 99 เมตรแล้ว ก็มีแนวโน้มสูงที่ผลการทดสอบค่าพารามิเตอร์ด้านประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความยาวสายจะไม่ผ่านตามไปด้วย ซึ่งเครื่องมืออย่าง Fluke Networks’ DSX CableAnalyzer™ จะบอกเรื่องนี้ให้คุณเอง
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Going the Distance