การทดสอบระบบสายเคเบิลแบบหุ้มปลอกตาข่าย (Screened) ที่หน้างานนั้น ผู้ทดสอบจำเป็นต้องตรวจให้แน่ใจว่ามีการหุ้มต่อเนื่องไปจนถึงปลายสาย อย่างไรก็ดี ก็มักพบการทดสอบหน้างานที่ไม่ได้ระบุความต่อเนื่องของปลอกตาข่ายหุ้มดีพอ จนทำให้ไม่สามารถระบุถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังบนระบบสายเคเบิลได้
บทความนี้จึงกล่าวถึงปัญหาในการตรวจวัดความต่อเนื่องของตาข่ายฉนวน โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อค่าผลการทดสอบอื่นๆ ของสายเคเบิล และแนวทางการตรวจสอบความสมบูรณ์ฉนวนของ Fluke Networks จะสามารถให้ความมั่นใจในการสอดคล้องตามมาตรฐานการติดตั้งสายเคเบิลในระดับ Level 2G ของ TIA 1152A ได้อย่างไร?
เส้นทางความต่อเนื่องของฉนวนตาข่ายหุ้ม
เรามักมองความต่อเนื่องของฉนวนตาข่ายเหมือนการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างจุดสัมผัสลวดตาข่ายตรงปลายสายทั้งฝั่งใกล้และไกลตัวผู้ทดสอบ แต่จริงๆ แล้วมีอยู่ 3 เส้นทางหลักที่ให้ผลการทดสอบความต่อเนื่องนี้ออกมาได้ แต่มีแค่เส้นเดียวที่เราเชื่อผลการทดสอบได้ว่าสายเคเบิลดังกล่าวทำงานได้ตามที่ออกแบบมาจริง
ดูจากรูปที่ 1 จะเห็นลิงค์ถาวรที่ฉนวนไม่ได้ครอบคลุมไปถึงจุดเชื่อมต่อสาย แต่มีการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าไปถึงเครื่องทดสอบฝั่งไกลตัวผ่านแผงสาย, ตู้ Rack, หรือคานต่อสายดินของอาคาร กรณีนี้เครื่องมือทดสอบหน้างานบางตัวอาจรายงานว่าฉนวนตาข่ายครอบคลุมต่อเนื่องเรียบร้อยดี แม้ความเป็นจริงจะมีจุดเปิดอยู่ก็ตาม
รูปที่ 2 เป็นอีกตัวอย่างที่เครื่องมือทดสอบอาจรายงานความต่อเนื่องของฉนวนตาข่ายว่าสมบูรณ์ปกติแม้จริงๆ จะไม่ต่อเนื่อง โดยกรณีตู้ Rack ฝั่งปลายทางไม่ได้ต่อกับสายดินของอาคาร แต่มีอีกลิงค์ที่เชื่อมฉนวนได้สมบูรณ์วิ่งผ่านระหว่าง Rack จนให้ผลของเส้นทางความต่อเนื่องของฉนวนตาข่ายได้ แม้ลิงค์จริงจะเปิดเว้นไม่ต่อเนื่อง
เครื่องทดสอบหลายเครื่องอาจให้ผลที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ แต่สำหรับเครื่อง DSX 5000/8000 CableAnalyzers™ จะสามารถตรวจจับสถานการณ์ข้างต้นได้ และรายงานความต่อเนื่องของฉนวนตาข่ายหุ้มเฉพาะสายเคเบิลที่ทดสอบเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ถึงสถานะความต่อเนื่องของฉนวนสายบนลิงค์หรือช่องสัญญาณที่ทดสอบว่าได้ประสิทธิภาพการส่งต่อสัญญาณได้ตามที่คาดหวัง
ความต่อเนื่องฉนวน กับ Alien Crosstalk
ระบบเคเบิลแบบหุ้มฉนวนนั้นจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันครอสทอล์กจากเส้นอื่นได้ดีมาก ไม่ใช่แค่มาจากผลของการออกแบบสายให้สมดุลเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการใช้แผงลวดโลหะที่ทำตัวเป็นกรงฟาราเดย์ที่กันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายไม่ให้ออกไปกระทบกับสายเคเบิลเส้นอื่น ซึ่งการจะทำงานได้ดีนั้น สัญญาณที่ปลอกลวดสานหุ้มนี้ดูดซับจะต้องถูกนำไปถ่ายยังสายกราวด์ตามจุดสัมผัสต่างๆ เช่น หัวต่อ แผงสาย หรอยิงเข้าสายกราวด์ของอาคารโดยตรง ดังนั้นถ้ามีจุดที่ฉนวนขาด สายเปิด (Open Circuit) ไม่ต่อเนื่อง ก็อาจทำให้วงจรถ่ายลงกราวด์เสีย ส่งผลเสียต่อการป้องกันเอเลี่ยนครอสทอล์คโดยรวมได้ โดยบางกรณีอาจส่งผลกระทบหนักมาก จนเพิ่มเอเลี่ยนครอสทอล์กถึง 15dB เลยทีเดียว
การเชื่อมปลอกตาข่ายหุ้มสายต่อลงสายดินอย่างเหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อค่าพารามิเตอร์อื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น FEXT หรือ NEXT และสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบที่จำเป็นต้องใช้เทคนิคการหุ้มฉนวนในการป้องกันครอสทอล์กระหว่างคู่สาย เช่นระบบสายเคเบิลแบบ Class FA และ Class II
ด้วยการผสานวิธีสร้างความต่อเนื่องของสัญญาณ DC แบบเดิมเข้ากับเทคนิครักษาความสมบูรณ์ของฉนวน จะทำให้เครื่องทดสอบอย่าง Fluke Networks DSX 5000/8000 CableAnalyzer ตรวจหาวงจรเปิด ฉนวนขาดตอนได้อย่างถูกต้อง ไม่ได้รับผลลวงที่เกิดจากสายดินของอาคารหรือสายเคเบิลอื่นที่ฉนวนต่อเนื่อง รวมทั้งยังรองรับรูปแบบการใช้งานตั้งแต่ 10/25/40Gb วิธีนี้ยังสามารถระบุตำแหน่งที่เกิดปัญหาบนสาย ช่วยลดเวลาแก้ปัญหากรณีที่ฉนวนสายเปิดได้อีกด้วย
ความสอดคล้องตามมาตรฐาน
การทดสอบความต่อเนื่องของฉนวนนั้นถูกกำหนดไว้ตามมาตรฐานของเครื่องมือทดสอบทั้ง TIA 1152 และ IEC 61935-1 อย่างไรก็ดี ไม่มีคำแนะนำเกี่ยวกับการระบุเส้นทางที่ใช้ตรวจวัดความต่อเนื่องของฉนวน
ดังนั้น จึงเริ่มมีการกล่าวถึงเรื่องนี้ครั้งแรกในมาตรฐานใหม่อย่าง TIA 1152A ที่อธิบายข้อกำหนดในการทดสอบปลอกตาข่ายหุ้มสายสำหรับเครื่องมือทดสอบระดับ 2G ที่ต้องใช้ทดสอบสาย Category 8 ไว้ว่า:
“นอกจากนี้ สำหรับเครื่องทดสอบ Level 2G จะต้องทดสอบความต่อเนื่องของปลอกฉนวนหุ้มสายตลอดเส้นทางการลากสายเคเบิลด้วย”
– TIA 1152A หัวข้อ 4.2.2
เนื่องจากเครื่องทดสอบระดับ Level 4 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่มักไม่สามารถทำได้ ข้อกำหนดนี้จึงบังคับใช้กับเครื่องระดับ Level 2G ที่ใช้กับสาย Category 8 ซึ่งเป็นเน้นความสำคัญของการเชื่อมต่อตาข่ายหุ้มสายและค่าเอเลี่ยนครอสทอล์กบนสายแบบ Category 8
ทาง Fluke Networks ไม่เพียงได้มาตรฐานสำหรับเครื่องทดสอบ Level 2G DSX 8000 สำหรับสายทุก Category ไปจนถึง TIA category 8 และ ISO/IEC Class II เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงเครื่องระดับ Level V DSX 5000 ที่คลุมทุก Category ไปจนถึง TIA Class EA และ ISO/IEC Class FA ด้วย
ความแตกต่างระหว่างเครื่องทดสอบรุ่น DTX และ DSX
การใช้เทคนิคการวัดความสมบูรณ์ของฉนวนมาใช้ตรวจวัดความต่อเนื่องของตาข่ายปลอกหุ้มสายนั้นถือเป็นมาตรฐานสำหรับเครื่อง DSX 5000/8000 CableAnalyzer ขณะที่เครื่อง DTX CableAnalyzer และเครื่องทดสอบสายบางรุ่นของเจ้าอื่นยังใช้เทคนิคการวัดความต่อเนื่องพื้นฐานที่อาจให้ผลการทดสอบที่ไม่ตรงความจริงได้ ดังตารางที่ 1
บทสรุปส่งท้าย
การเชื่อมต่อแผงลวดหุ้มสายอย่างถูกต้องนั้นส่งผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการทำระบบสายเคเบิลให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของค่าพารามิเตอร์อย่างเอเลี่ยนครอสทอล์กและครอสทอล์กภายในสาย ซึ่งไม่ใช่ว่าเครื่องมือทดสอบสายเคเบิลทุกตัวจะสามารถระบุปัญหาฉนวนขาดได้โดยเฉพาะเวลาติดตั้งร่วมกับสายเคเบิลอื่น หรือสายกราวด์ของอาคารที่เชื่อมต่อมาถึงเครื่องมือทดสอบอีกฝั่งหนึ่ง
เครื่องมืออย่าง Fluke Networks DSX 5000 และ DSX 8000 CableAnalyzers สามารถทดสอบเส้นทางความต่อเนื่องของฉนวนสายเคเบิลได้ตามมาตรฐาน TIA 1152A Level 2G และตรวจจับระยะที่เกิดปัญหาได้เพื่อเข้าแก้ไขได้รวดเร็วมากขึ้น
ที่มา : Fluke Networks
//////////////////