เมื่อไม่นานมานี้ หน่วยงาน IEEE ได้เปิดตัวมาตรฐาน 802.11ax ที่ชื่อว่า Enhancements for High Efficiency Wireless (HEW) LAN ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Wi-Fi 6 โดยเจ้ามาตรฐาน Wi-Fi รุ่นใหม่นี้ถูกวางอุดมคติไว้ว่าควรจะสื่อสารข้อมูลได้เข้าใกล้ระดับ 10 กิกะบิตให้ได้มากที่สุด ผ่านการใช้ช่องทางการสื่อสารพิเศษ 8 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องทาง จะวิ่งด้วยความเร็วมากถึง 1.2 Gb/s เมื่อเปรียบเทียบกับ Wi-Fi 5 (802.11ac) ที่ทำได้แค่ 866 Mb/s ต่อช่องทาง และนอกจากนั้นแล้วมาตรฐาน Wi-Fi 6 ยังสามารถทำงานได้บนย่านความถี่ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz
ในยุคสมัยที่ Wi-Fi 5 เข้ามาใหม่ๆ เป็นช่วงที่ทำให้พวกเราได้เห็นถึงความเร็วของสัญญาณไร้สายที่เหนือกว่า 1 Gb/s โดยทาง IEEE ได้เปิดตัวมาตรฐานสายเคเบิลในแบบ 2.5GBASE-T และ 5GBASE-T เป็นการเปิดทางให้สามารถใช้สายแบบ Category 5e และ Category 6 มารองรับความสามารถดังกล่าวได้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม โรงงานผลิตสายเคเบิลแบบ Cat 5e และ 6 ก็ไม่ได้รับประกันว่าสายเหล่านี้จะสามารถรองรับ 2.5/5GBASE-T ที่ระยะทางได้ถึง 100 เมตร ได้เสมอไป นั่นจึงทำให้ต้องมีการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นได้ประสิทธิภาพตามมาตรฐานตามกำหนด และเมื่อมาถึงคราวที่อุปกรณ์ Wi-Fi 6 เข้ามาสู่ตลาดบ้างล่ะ ก็เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเลยที่จะต้องมีการทดสอบด้วยเช่นกัน ….คำถามก็คือ เราจะต้องทดสอบอะไรกันบ้าง? บทความนี้จะชี้ให้เห็นกัน
อาจต้องใช้สายเคเบิลถึงสองเส้น!
ในช่วงแรก ผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 ที่ออกมาใหม่ๆ ก็พอจะเป็นไปได้ที่จะนำเอาสายแบบ 2.5GBASE-T และ 5GBASE-T มาใช้ได้บ้าง แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะมาทยอยเข้ามาในตลาดระลอกที่สองและสามนั้น ซึ่งเชื่อกันว่าความเร็วของการทำงานจะสูงกว่า 5 Gb/s ขึ้นไปอีก และอาจจำเป็นที่ต้องใช้สายเคเบิลแบบ 5GBASE-T ถึงสองเส้นเพื่อเชื่อมต่อกับไวร์เลสส์ แอคเซสพอยต์ แต่ละตัวเพื่อรองรับกับการรวมสัญญาณ เลยก็เป็นได้
และในท้ายสุดเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย จนถึงระดับที่ทำให้ทรูพุตวิ่งได้สูงสุดตามทฤษฎีแล้ว ในวันนั้นคุณอาจจำเป็นต้องใช้สายเคเบิลแบบ 10GBASE-T ถึงสองเส้น (และขั้นต่ำต้องเป็นแบบ Cat6e ด้วย) เพื่อเชื่อมต่อกับเจ้าไวร์เลสส์ แอคเซสพอยต์ ก็มีทางเป็นไปได้สูงเลย
สำหรับลูกค้าที่ยังไม่ได้อัพเกรดระบบสายเคเบิลของตัวเอง คุณอาจเริ่มจากการทดสอบการสื่อสารแบบ 2.5 หรือ 5GBASE-T บนสาย Cat 5e หรือ 6 ไปก่อน แต่สำหรับธุรกิจระดับองค์กรส่วนใหญ่ที่กำลังติดตั้งระบบสายเคเบิลใหม่ที่เน้นใช้สาย Cat 6A สำหรับระบบ Wi-Fi เป็นหลัก มันจะเป็นการดีมาก ถ้าองค์กรจะได้ลองทดสอบกับระบบ 10GBASE-T ตั้งแต่ตอนนี้ไปเลยก็ดีมาก (รวมถึงการทดสอบการสื่อสารสัญญาณรบกวนแบบ Alien Crosstalk ไปด้วยเลย)
พอกล่าวถึงสัญญาณรบกวนแบบ Alien Crosstalk มันก็จะมีประเด็นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดสอบตัวอย่างของลิงก์ที่ถูกรบกวน ทั้งระยะทางแบบ สั้น กลาง และยาว เพื่อหาผลรวมของกำลัง Crosstalk แปลกปลอมบริเวณใกล้ปลายสาย (PS ANEXT) และผลรวมการอ่อนกำลังของสัญญาณวิทยุจาก Crosstalk แปลกปลอมบริเวณที่ไกลปลายสาย (PSASCRF) ซึ่งในตอนที่คุณได้มีการทดสอบลิงก์เพื่อหา Alien Crosstalk นั้น พึงระลึกเสมอว่า “ต้องเลือกลิงก์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน” และสายที่อยู่โดยรอบทั้งด้านบนและด้านล่างที่เชื่อมตรงกับหัวต่อ มากกว่าจะไปเลือกลิงก์ที่เชื่อมในส่วนปลายสายของหัวต่อ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยประกันได้ว่า คุณกำลังทดสอบสายสัญญาณเชื่อมต่อ ในสถานการณ์ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และในกรณีถ้าค่าที่ออกมาทั้งหมดมีส่วนต่างเกินกว่า 5 dB แสดงว่าได้ผลดี
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบ Alien Crosstalk สามารถอ่านได้จาก https://www.flukenetworks.com/blog/cabling-chronicles/field-testing-misconceptions-alien-crosstalk-do-we-test-or-not-if-so-how
ถ้าคุณ (หรือลูกค้าของคุณ) ไม่มีเวลามากเพียงพอในการทดสอบ Alien Crosstalk แล้ว คุณสามารถดูผลการทดสอบอย่าง TCL และ ELTCTL ได้โดยเลือกเงื่อนไขข้อที่จำกัด (+ALL) บนอุปกรณ์ทดสอบ DSX CableAnalyzer Series สำหรับค่าเหล่านี้ แม้จะใช้เวลาทดสอบเพียงแค่ 6 วินาทีสั้นๆ แต่ก็นับได้ว่าเป็นตัวชี้วัดที่เพียงพอจะบอกได้ว่าสายเคเบิลให้ประสิทธิภาพด้าน Alien Crosstalk ที่เพียงพอหรือไม่ ส่วนในกรณียิ่งสายเคเบิลมีการหุ้มฉนวนด้วยแล้ว คุณก็แทบไม่จำเป็นต้องกังวลสัญญาณรบกวนจากสายข้างเคียงเลย
จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องกำลังไฟฟ้าด้วย
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับแอคเซสพอยต์ในแบบ Wi-Fi 6 คือ การประมวลผลที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ต้องการไฟตามมาตรฐาน PoE ในระดับที่สูงขึ้นกว่าที่เราเคยเห็นจาก Wi-Fi รุ่นก่อนหน้า โดยรุ่นก่อนหน้านั้นทำงานบน PoE แบบ Type 1 ใช้กำลังไฟมากสุดแค่ 13 วัตต์เท่านั้น นั่นหมายความว่า อุปกรณ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาอย่างน้อยต้องใช้ PoE Type 2 ที่กำลังไฟ 30 วัตต์เป็นอย่างต่ำ และแอคเซสพอยต์ระดับไฮเอนด์บางตัวอาจจำเป็นต้องใช้ PoE แบบ Type 3 ที่ให้กำลังไฟถึง 60 วัตต์เลยทีเดียว
อย่างที่คุณทราบดีว่า สายสัญญาณที่ใช้ก็จะเป็นตัวพากำลังไฟฟ้าไปยังแอคเซสพอยต์ Wi-Fi 6 ด้วย ดังนั้นจึงขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งเลยว่า คุณต้องทดสอบค่าความไม่สมดุลของความต้านทานกระแสไฟฟ้า DC ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าไฟฟ้า DC ถูกส่งออกมาด้วยโวลต์ที่ปกติ มีการปล่อยพลังงานแบ่งออกมาเท่ากันระหว่างแต่ละตัวนำของแต่ละคู่สาย และระหว่างคู่สายบนทั้ง 4 คู่ของ PoE ซึ่งถ้าค่าดังกล่าวไม่สมดุลแล้ว อาจจะเกิดปัญหาเช่น สัญญาณอีเธอร์เน็ตก็อาจถูกรบกวน เกิดความผิดพลาดในการส่งสัญญาณของข้อมูล, ต้องเสียเวลาส่งสัญญาณใหม่, ไปจนกระทั่งอาจทำให้ลิงก์ส่งข้อมูลหยุดทำงานได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นการผสานกันระหว่างสายสัญญาณความเร็วสูงอย่าง 10GBASE-T, PoE ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง, และเทคโนโลยีสำคัญอย่าง Wi-Fi 6 นั่นจึงทำให้เราจำเป็นต้องทดสอบค่าความต้านทาน DC ด้วย และต้องบอกว่า โชคดีมากที่การทดสอบดับกล่าวสามารถทำได้บนตัวทดสอบ DSX CableAnalyzer Series ได้ โดยการเลือกตัวคัดกรอง (+All) หรือ (+PoE) นั่นเอง
ถ้ามีการติดตั้งและใช้งานระบบสายเคเบิลไว้ก่อนแล้ว คุณก็สามารถตรวจสอบกำลังไฟฟ้าที่ใช้บนลิงก์ดังกล่าวได้โดยใช้ตัว MicroScanner PoE ของ Fluke Networks เพียงแค่เสียบเข้ากับหัวต่อปลายสาย ซึ่งถ้าสายเคเบิลดังกล่าวเชื่อมต่อกับสวิตช์แบบ PoE หรืออุปกรณ์ให้พลังงานไฟฟ้า (PSE) ประเภทอื่นแล้ว ก็จะแสดงประเภทของกำลังไฟฟ้า (0 – 8) ที่มีบนลิงก์ จากนั้นคุณสามารถใช้ค่านี้เปรียบเทียบกับความต้องการของแอคเซสพอยต์ เพื่อดูว่าเรามีกำลังไฟฟ้ามากพอสำหรับใช้งานหรือไม่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภท (Class), รูปแบบ และมาตรฐานของ PoE นั้น สามารถศึกษาต่อได้ที่ https://www.flukenetworks.com/edocs/guide-successful-installation-power-over-ethernet
ฉนวนสำหรับปกป้อง
เนื่องจากระบบ Wi-Fi 6 นั้นอ่อนไหวทั้งกับเรื่องของ Alien Crosstalk และความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากการส่งพลังงาน PoE ในกลุ่มสายเคเบิล จึงไม่แปลกใจเลยถ้าลูกค้าบางรายของคุณเลือกใช้สายเคเบิล Cat 6A แบบหุ้มฉนวนอีกชั้น (Shielded) เพื่อเชื่อมต่อกับแอคเซสพอยต์ แต่อย่าลืมว่าถ้าไม่ได้ติดตั้งอย่างถูกต้องแล้ว แม้แต่สายเคเบิลที่หุ้มฉนวนพิเศษก็อาจทำงานไม่ได้ตามที่หวัง อย่างในห้องควบคุม สายเคเบิลแบบหุ้มฉนวนที่ลากจากแผงเชื่อมต่อหนึ่งไปยังอีกแผงหนึ่งที่มีการหุ้มแบบเปิดก็อาจไม่ได้รับการทดสอบในส่วนของ Alien Crosstalk ของจริงได้
และอีกทั้งวันนี้ การทดสอบความต่อเนื่องของกระแส DC แบบง่ายๆ ก็อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะสัญญาณไฟฟ้ากระแสตรงแบบ DC นี้ มันจะมองหาเส้นทางใดก็ตามที่สามารถวิ่งไปยังอีกปลายทางหนึ่ง ไม่เว้นแม้แต่ผ่านระบบสายกราวด์ ที่เชื่อมไปยังแผงเชื่อมต่อหรือตู้ Rack ที่เชื่อมต่ออยู่ ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ทดสอบจะแสดงว่าสายมีการหุ้มฉนวน แม้จริงๆ แล้วมันจะไม่ได้หุ้มก็ตาม แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ได้ด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่าง DSX CableAnalyzer Series ที่รายงานระยะห่าง กับปัญหาด้านการหุ้มฉนวนว่าเหมาะสมหรือไม่ ด้วยเทคนิคตรวจวัด AC ที่จดสิทธิบัตรไว้นั่นเอง
ที่มา: https://www.flukenetworks.com/blog/cabling-chronicles/wi-fi-6-here-so-now-what-will-you-be-testing