มีอันตรายหลายแบบมากที่ต้องเฝ้าระวังเวลาทำงานกับเน็ตเวิร์กไม่ว่าจะเชิงพาณิชย์หรือตามโรงงานอุตสาหกรรม แม้สายใยแก้วนำแสงดูเผินๆ เหมือนปลอดภัย ไม่ได้นำกระแสไฟฟ้าเหมือนสายทองแดง ไม่ได้เกิดความร้อนอะไร แต่ก็ทำให้หลายคนมองข้ามอันตรายที่แท้จริงของสายไฟเบอร์ที่อาจถือว่าอันตรายมากที่สุดในกลุ่มสายเคเบิลแล้ว!
ดังนั้น เราจึงมีกฎเหล็ก 5 ข้อเพื่อความปลอดภัยในการทำงานกับสายไฟเบอร์ดังต่อไปนี้
1. เข้าใจถึงมาตรฐานในการทำงานกับสายเคเบิล
ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสายไฟเบอร์ใหม่ หรือการแก้ปัญหา ซ่อมสายไฟเบอร์ที่มีอยู่เดิมนั้น การมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยตัวคุณ (และทีมงาน) ให้ปลอดภัย และติดตามโปรเจ็กต์ได้อย่างมีมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องการกับการทำงานด้านสายเคเบิลนั้นได้แก่:
- ข้อกำหนดด้านการบริหารจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน (OSHA) ของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่ครอบคลุมถึงการติดตั้งและดูแลตัวนำไฟฟ้าของสายไฟเบอร์ รวมทั้งระบุมาตรฐานด้านประสิทธิภาพขั้นต่ำที่จำเป็นในการทำงาน โดยในกฎ OSHA 29 CFR 268 ที่เป็นด้านโทรคมนาคมนั้น ในหลายรัฐจะมีแผนที่เรียกว่า OSHA State Plan ที่ต้องศึกษาจากสำนักงาน OSHA ใกล้ตัวคุณด้วย
- ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าแห่งชาติ (NESC) ที่ออกโดยสถาบันด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือ IEEE ที่ระบุถึงแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยในการติดตั้ง ดำเนินงาน และดูแลสายสื่อสารและสายไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งข้อกำหนดฉบับใหม่กำลังจะออกมาบังคับใช้ในกุมภาพันธ์ 2023 แต่ก็สามารถเข้าไปศึกษาได้แล้วในสิงหาคมที่จะถึงนี้
- National Electrical Code® (NEC) หรือ NFPA 70 ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งด้านการออกแบบ ติดตั้ง และการตรวจสอบ ใน 50 รัฐของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการตีพิมพ์ออกมาทุก 3 ปีโดยสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติหรือ NFPA ทั้งนี้กฎหมายในแต่ละรัฐหรือของท้องถิ่นก็มักระบุให้ช่างไฟฟ้าจะต้องทำตาม NEC นี้ รวมทั้งมีกฎหมายบางฉบับที่ออกมาเจาะจงกับการติดตั้งสายไฟเบอร์โดยเฉพาะด้วย
- สุดท้าย คุณก็ควรทำตามขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของบริษัทตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม
2. รักษาความสะอาด
แกนหลักของสายใยแก้วนำแสงก็คือแก้วดีๆ นี่เอง แม้จะมีประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลมาก แต่ก็บอบบางมากด้วย อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้เช่นกันเมื่อได้รับความเสียหายหรือแตกหัก การควบคุมและทำความสะอาดเศษแก้วในงานแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งความสะอาดของตัวเอง และในพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ใส่แว่นนิรภัย พร้อมหน้ากากใสอีกชั้น (ใส่ครอบแว่นอีกทีหนึ่งได้ถ้าต้องการ) เพื่อป้องกันเศษใยแก้วกระเด็นเข้าดวงตา และพยายามเอามือห่างจากใบหน้าระหว่างปฏิบัติงาน คอยล้างมือให้สะอาดจริงๆ ก่อนจะสัมผัสใบหน้าหรือคอนแทคเลนส์
- สวมผ้ากันเปื้อนที่ใช้แล้วทิ้งได้เลย เพื่อลดโอกาสที่เศษใยแก้วจะกระเด็นมาฝังตามเสื้อผ้าแล้วกระจายไปพื้นผิวอื่น (หรือติดตัวคุณกลับบ้านไปด้วย)
- ไม่ทานอาหารหรือเครื่องดื่มในพื้นที่ปฏิบัติงาน (รวมถึงไม่สูบบุหรี่ด้วย) ไม่เพียงเศษอาหารอาจจะไปปนเปื้อยกับงานที่ทำอยู่เท่านั้น แต่ละอองเศษใยแก้ที่มองไม่เห็นแต่สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้นั้นก็อาจปนเข้าไปในอาหารได้ด้วย ซึ่งทานเข้าไปแล้วอาจทำให้ตกเลือดภายในจนถึงแก่ชีวิตได้
- ให้มั่นใจว่าพื้นที่ปฏิบัติงานมีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดความเสี่ยงที่ละอองใยแก้วจากสายที่ทำงานอยู่กระจายขึ้นอากาศแล้วหายใจเข้าไปได้
- กำจัดเศษสายใยแก้วทั้งหมดอย่างเหมาะสม ทิ้งในถังขยะที่ติดป้ายจำเพาะอย่างชัดเจน ที่มีฝาปิดสนิท
- เคลียร์พื้นที่ปฏิบัติงานให้ดี ไม่ให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดประกายไฟ หรือแหล่งความร้อน อย่างเช่นการใช้ตัวสไปซ์เชื่อมสายร่วมกับเตาบ่ม เพื่อลดโอกาสการเกิดเพลิงไหม้
- ทำความสะอาดเมื่อจบวัน เพื่อควบคุมเศษใยแก้ว และทำให้ทุกคนในพื้นที่ปลอดภัย
3. เข้าใจถึงสารเคมีที่กำลังใช้งานอยู่
ขั้นตอนการสไปซ์สายไฟเบอร์ และการเชื่อมเข้าหัวสายนั้นต้องใช้ทั้งสารเคมี สารทำความสะอาด และกาวเชื่อมที่หลากหลาย จึงควรทำความเข้าใจกับเอกสารข้อมูลด้านความปลอดภัยหรือ MSDS ของสารเคมีที่นำมาใช้ด้วย และปฏิบัติตามข้อตอนการดูแลสารเคมีดังกล่าวอย่างปลอดภัย
4. ระวังสภาพแวดล้อมโดยรอบ
การลากสายไฟเบอร์มักต้องใช้พื้นที่ร่วมกับสายเคเบิลอื่นๆ ที่รวมถึงสายที่เป็นตัวนำไฟฟ้าด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ปิด บนเสา หรือใกล้สายไฟหรืออุปกรณ์เดินไฟฟ้า ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายตั้งแต่การเผลอทำอุปกรณ์ร่วงลงกระแทกกับเท้า ไปสัมผัสโดนเศษแก้วบาด ไปจนถึงไฟดูด แก๊สระเบิด หรือไฟรั่วตามลวดสายต่างๆ
จึงควรระวังสภาพแวดล้อมรอบตัว และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าตรงพื้นที่หน้างาน หรือที่งานที่กำลังทำอยู่ตรงหน้า พยายามเว้นระยะตามกฎระยะห่างขั้นต่ำของ NFPA เมื่อต้องทำงานใกล้สายไฟหรือแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
5. ใช้เครื่องมือให้เหมาะสม
ไม่จ้องไปที่ปลายสายไฟเบอร์โดยตรง ถึงแม้คุณจะมองไม่เห็นอะไรระหว่างที่สายเคเบิลดังกล่าวกำลังใช้งานอยู่ก็ตาม แต่แสงอินฟราเรดที่มองไม่เห็นนี้ก็ทำร้ายดวงตาคุณได้ การใช้เครื่องมือที่ถูกต้องไม่เพียงช่วยให้คุณทำงานได้ดีกว่าและเร็วกว่าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่เป็นไปได้อีกด้วย ซึ่ง Fluke Networks มีเครื่องมือทุกอย่างที่ตอบโจทย์คุณ ไม่ว่าจะเป็น
- FiberLert™ Live Fiber Detector ตรวจจับแสงที่มองไม่เห็นที่ออกมาจากสายใยแก้วนำแสงได้ง่าย สำหรับตรวจเช็คการทำงานของสาย, ขั้วสาย, และการเชื่อมต่อ โดยไม่ต้องติดตั้งหรือแปลค่าอะไรเพิ่มเติม
- เครื่องตรวจปัญหาสายแบบเห็นด้วยตาเปล่าอย่าง VisiFault™ Visual Fault Locator สามารถยิงแสงที่มองเห็นได้บนสายไฟเบอร์เพื่อตรวจหาตำแหน่งปลายสาย หรือจุดที่มีการโค้งบิดงอ สายแตก หรือเชื่อมต่อไม่ดี
- เครื่องวัดพลังงานที่ตรวจค่าการสูญเสียภายในสายและระดับพลังงานที่ปลายสายไฟเบอร์อย่างเครื่อง SimpliFiber® Pro และ MultiFiber™ สามารถช่วยคุณในการตรวจสอบว่าสายไฟเบอร์สามารถใช้งานกับรูปแบบที่ต้องการได้หรือไม่
ที่มา : https://www.flukenetworks.com/blog/cabling-chronicles/fiber-optic-safety
//////////////////