ล่าสุดเฟสบุ๊กได้ส่งรายงานกว่า 700 หน้าต่อสภาคองเกรส โดยเผยว่ามีการแบ่งปันข้อมูลผู้ใช้กับบริษัทไอทีอื่นกว่า 52 แห่ง ซึ่งหลายบริษัทไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน ในรายชื่อมียักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Microsoft, Amazon ไปจนถึงบริษัทจีนหลายเจ้าเช่น Huawei และบริษัทผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไอทีอย่าง AT&T และ Qualcomm ด้วย
อย่างไรก็ตาม เฟสบุ๊กย้ำว่า “ความร่วมมือ” ในการแบ่งปันข้อมูลกลุ่มนี้ต่างจากการแชร์ข้อมูลแก่ผู้พัฒนาแอพเธิร์ดปาร์ตี้อย่างกรณีของ Cambridge Analytica ที่อื้อฉาวในช่วงต้นปี โดยย้ำถึงเจตนาในแง่ของการส่งเสริมการพัฒนาแอพบนอุปกรณ์และโอเอสที่หลากหลายเพื่อยกระดับการใช้งานของผู้ใช้โดยรวมมากกว่า
อย่างเช่น การแบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นกับบริษัทเจ้าของอุปกรณ์พกพาชื่อดังอย่าง Microsoft, Apple, และ Blackberry ในช่วงก่อนที่จะมีการปล่อยโอเอสอย่าง iOS และ Android ตัวใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าแอพของเฟสบุ๊กทั้งหลายยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่การแบ่งปันข้อมูลกับผู้พัฒนาแพลตฟอร์มนั้น จะมีข้อกำหนดอย่างเข้มงวดในการใช้ข้อมูลผู้ใช้ของเฟสบุ๊กเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้งานของตนเอง ซึ่งมีการควบคุมจากทีมวิศวกรของเฟสบุ๊กในการตรวจสอบไลเซนส์ของ API นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า บริษัทกว่า 38 แห่ง จากรายชื่อทั้ง 52 แห่ง ได้สิ้นสุดสัญญาการแบ่งปันข้อมูลแล้ว ส่วนบริษัทที่เหลือก็เตรียมสิ้นสุดข้อตกลงภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
สำหรับ 52 บริษัทดังกล่าวประกอบด้วย
1. Accedo
2. Acer
3. Airtel
4. Alcatel / TCL
5. Alibaba
6. Amazon
7. Apple
8. AT&T
9. Blackberry
10. Dell
11. DNP
12. Docomo
13. Garmin
14. Gemalto
15. HP / Palm
16. HTC
17. Huawei
18. INQ
19. Kodak
20. LG
21. MediaTek / Mstar
22. Microsoft
23. Miyowa / Hape Esia
24. Motorola / Lenovo
25. Mozilla
26. Myriad
27. Nexian
28. Nokia
29. Nuance
30. O2
31. Opentech ENG
32. Opera Software
33. OPPO
34. Orange
35. Pantech
36. PocketNet
37. Qualcomm
38. Samsung
39. Sony
40. Sprint
41. T-Mobile
42. TIM
43. Tobii
44. U2topia
45. Verisign
46. Verizon
47. Virgin Mobile
48. Vodafone
49. Warner Bros
50. Western Digital
51. Yahoo
52. Zing Mobile
ที่มา : Theverge