การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) นั้น หนึ่งในแรงผลักดันที่ช่วยขับเคลื่อน คือ การจัดการและปกป้องสินทรัพย์ข้อมูล เข้าถึง “”ข้อมูล” (Data) ที่ต้องการได้อย่างอิสระ และใช้ประโยชน์ข้อมูลให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization)
แต่อย่างที่ทราบกันดี หลาย ๆ ธุรกิจ ในวันนี้ ต้องการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจ และได้มีการเตรียมพร้อม ทั้งวางผังโครงสร้างองค์กรเพื่อให้รองรับการเชื่อมโยง และบริหารจัดการ “บิ๊กดาต้า” (Big Data) และมีอีกหลายธุรกิจที่ติดอุปสรรคสำคัญ คือ ขาด “Data-Driven Mindset” เพราะไม่ทราบว่า ปัญหาขององค์กรคืออะไร? (Data Needs) ไม่มีตั้งเป้าหมายในการนำข้อมูลมาใช้ และไม่ทราบว่าจะนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร จึงติดกับดักการทำงานขององค์กรที่เป็นการทำงานแบบแยกส่วนในองค์กร (Organizational Silos) ทำให้ขาดระบบจัดการข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ และเมื่อกลยุทธ์ (Strategy) ไม่ชัดเจนก็ส่งผลให้บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่เข้าใจ และทำให้ข้อมูลกลายเป็นเพียงแค่ “รายงาน” (report) ที่ทำส่งแต่ไม่ได้นำไปต่อยอดแต่อย่างใด
และแม้ในธุรกิจที่เตรียมพร้อมในหลาย ๆ ธุรกิจ แต่การใช้ทีม Data Engineer หรือทีมไอทีสร้าง Data Platform มาเก็บข้อมูล และเชื่อมกับระบบเก็บข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แต่เมื่อข้อมูลที่เก็บมีความซับซ้อนมาก และไม่มีผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยดูว่าจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้อย่างไรได้บ้างเพื่อให้ตอบโจทย์ของธุรกิจ จนทำให้องค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ปัญหาเหล่านี้ได้กลายมาเป็นความท้าทาย (challenge) ที่ธุรกิจจำเป็นต้องก้าวข้ามผ่านไป
ฟูจิตสึ ในฐานะขององค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อสร้าง Data-Driven Organization โดยคุณกนกกมล เลาหบูรณะกิจ หัวหน้ากลุ่มฝ่ายขาย บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเราสามารถสรุปได้ดังนี้
หนทางก้าวไปสู่การเป็น Data-Driven Organization
วันนี้ “Data” คือ “น้ำมันของยุคสมัยใหม่” แต่จะไม่มีประโยชน์หากไม่ได้ “กลั่น” ออกมา!! และหากไม่มีเครื่องยนต์ในการใช้ ข้อมูลก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน!! ดังนั้นการใช้ “ข้อมูล” ให้เกิดประโยชน์ จำเป็นต้องมีทั้งกระบวนการวิเคราะห์ (Analytics) และนำไปใช้ให้ถูกขั้นตอน
กล่าวคือ ธรุกิจวันนี้ต้องสามารถนำ “ข้อมูล” มาใช้เพื่อให้สามารถรู้จักตัวตนขององค์กรรู้ว่าคู่แข่งคือใคร (Mapping Company’s Performance) และนำข้อมูลในการหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า (Improve Brand’s customer experience) พร้อมกับใช้ข้อมูลเพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้า แก้ไข และนำปรับปรุงบริการอย่างรวดเร็ว (Making Decision quicker, solve problem faster) ด้วยความเข้าใจตลาด และการแข่งขัน (Understand users, market and competitions) ที่มาจากข้อมูลจากภายใน และภายนอกองค์กรธุรกิจเพื่อรักษาลูกค้าเอาไว้
วันนี้จึงเห็นหลาย ๆ ธุรกิจ จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมในการตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-Driven Decision) โดยต้องเริ่มตั้งแต่การสร้าง Data-Driven Mindset ในระดับผู้บริหาร เพื่อสร้างเชื่อมั่น และแสดงให้พนักงานทุกระดับเห็นถึงความสำคัญของข้อมูล และฝึกฝนการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ ไม่ใช่เพียงแค่ “คิดว่า คาดว่า หรือน่าจะ” แต่ต้องเป็นข้อมูลที่แท้จริงไม่ใช่การคาดเดา
นอกจากนี้การวางรูปแบบของการใช้ “ข้อมูล” ยังส่งผลรวมถึงเพื่อสร้างความต่อเนื่องอย่างเป็นระบบไม่ติดที่ตัวบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงเท่านั้น แต่ต้องกลายเป็นวัฒนธรรม หรือชุดความคิดในการขับเคลื่อนองค์กร
อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยจากการสำรวจในปี 2564 ของ Harvard Business Review เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ระบุว่าบริษัทฯ ชั้นนำส่วนใหญ่กว่า 92.2% ยังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ในด้านการจัดองค์กร การสร้างกระบวนการทางธุรกิจ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการสื่อสาร รวมถึงบุคลากรยังขาดทักษะ ต่อต้าน และขาดความเข้าใจในความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
สำหรับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ธุรกิจต้องสามารถปลดล็อก และใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูล” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยความเข้าใจ ก่อนจะเลือกใช้เทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) ด้วยการเดินหน้าสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูล” ตั้งแต่ในระดับนโยบาย และสร้างกลยุธ์ข้อมูล (Data Strategy) ที่จะส่งผลกระทบการเปลี่ยนแปลงแบบ Quick Win ด้วยการตั้งเป้าหมายที่สั้น และเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรว่า “ข้อมูลจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” โดยสนับสนุนให้เกิดการใช้ข้อมูลอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป้าหมายร่วมกันขององค์กร
เส้นทางการวิเคราะห์ข้อมูล
“ข้อมูล” คือหัวใจสำคัญของทุกสิ่ง การที่จะเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) องค์กรธุรกิจต้องกำหนดเส้นทางการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Pathway) ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนด้านข้อมูล และกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) ที่ต้องเปลี่ยนฐานของข้อมูลจากรูปแบบเดิมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerization) และเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต (Connectivity) ด้วย 5 ขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล (5 Types of Data Analytics)
โดยเริ่มจาก การสร้างทัศนวิสัย (Visibility) เพื่อใช้อธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบต่าง ๆ และความโปร่งใส (Transparency) ในการวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostic Analytics) เพื่อพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นแล้วกับแบบจำลองทางสถิติด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นขั้นต้นของการนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ลึกมากขึ้น จนสามารถทำนาย (Predictive) และวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive analytics) ได้ และสามารถปรับตัว (Adaptability) จนสามารถวิเคราะห์และให้คำแนะนำ (Prescriptive analytics) ได้ และสร้างองค์ความรู้ (Cognitive) ที่ผ่านการวิเคราะห์ (Cognitive Analytics)
โดยแนวทาง Data-driven ของฟูจิตสึ นี้จะช่วยเหลือแก่ลูกค้า เพื่อให้สามารถควบคุมและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ข้อมูลได้อย่างเต็มศักยภาพซึ่งนั่นคือ ขั้นตอนพื้นฐานที่จะนำไปสู่การปรับปรุงธุรกิจในอนาคต ซึ่งปัจจุบันฟูจิตสึ ได้เข้าไปช่วยเปลี่ยนแปลงในหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ “ข้อมูล” ยกระดับกระบวนการจัดการ และนำเสนอบริการใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive), อุตสาหกรรมการเงิน (Financial) และอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil and Gas) ซึ่ง ฟูจิตสึได้ให้เข้าไปให้ปรึกษา โดยมุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสินทรัพย์ข้อมูล และความต้องการที่แตกต่างของลูกค้าแต่ละราย โดยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าผ่านโซลูชัน เทคโนโลยีและบริการที่หลากหลายของฟูจิตสึ และพาร์ทเนอร์
บางส่วนของโซลูชัน Data Driven Organization สามารถดูเพิ่มเติมจากจากช่อง Youtube ของ Fujitsu Thailand
องค์กรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด
อาคาร เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 22-23
เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. + 66 (0) 2302 1500 แฟ็กซ์ + 66 (0) 2302 1555