หน้าแรก Vendors Cisco บทสรุปเทคโนโลยีแห่งอนาคตในงาน Cisco Connect 2018 Thailand

บทสรุปเทคโนโลยีแห่งอนาคตในงาน Cisco Connect 2018 Thailand

แบ่งปัน

ซิสโก้ จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปี Cisco Connect 2018 ภายใต้ธีม “IT’s All You” โดยปีนี้ซิสโก้และพัธมิตรร่วมขนทัพเทคโนโลยีและโซลูชั่นมาโชว์พร้อมสาธิตประสิทธิภาพการทำงานให้เห็นภาพการนำไปปรับใช้งานจริง เพื่อธุรกิจและองค์กรพร้อมก้าวสู่ ‘ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น’

ในช่วงสัมมนาอัพเดตเทรนด์ ปีนี้ทางซิสโก้ มีการเชิญผู้บริหารจากสามกลุ่มธุรกิจ ได้แก้ ผู้บริหารจาก True ในอุตสาหกรรมผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร, ผู้บริหารจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมแชร์ประสบการณ์ในหัวข้อ “Digital Platform for Digital Transformation”

สำหรับโซลูชั่นและเทคโนโลยีที่ซิสโก้นำมาโชว์ในแต่ละบูธ แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับ ‘ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น’ ที่พร้อมช่วยให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ นำไปปรับใช้พัฒนาต่อยอดการทำงานเพื่อความสำเร็จ อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคของการนำเทคโนโลยีมาปรับ-เปลี่ยนทรานส์ฟอร์มในทุกมิติ โดยปัจจุบันซิสโก้มีการนำเทคโนโลยีแมชชีน เลิร์นนิง (Machine Learning) และเทคโนโลยี AI มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของทุกอุปกรณ์ โดยโซลูชั่นที่ซิสโก้ได้นำมาจัดแสดงมีดังนี้

1. The Intent-Based Network

การทำงานของ DNA Center ซึ่งเป็นระบบริหารจัดการเครือข่ายแบบ Intent-based จากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายแห่งยุคดิจิทัลสำหรับองค์กร โดยมีการผสานเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เข้าไปภายในระบบเครือข่ายโดยตรง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ถึงความต้องการของผู้ใช้งานในระบบเครือข่าย, เหตุการณ์แปลกปลอมที่เกิดขึ้น และการปรับปรุงที่ควรทำโดยอัตโนมัติ และมีการโชว์โซลูชั่น SD WAN ที่เป็นรูปแบบใหม่ในการจัดการและใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน WAN ที่ซิสโก้ได้ซื้อ Viptela สถาปัตยกรรมการบริการที่ส่งมอบผ่านระบบคลาวด์ที่มีความยืดหยุ่นและปลอดภัยสูง เพิ่มความสามารถสายผลิตภัณฑ์ด้าน SD WAN ของซิสโก้ โดยเฉพาะบนคลาวด์ให้สามารถจัดหาตัวเลือกสำหรับการติดตั้งบนสำนักงานสาขา และ WAN ได้หลากหลาย ง่ายต่อการ ติดตั้ง จัดการ และ มีความฉลาดที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานทางสาขามีประสปกาณ์ที่ดีขึ้นกับการใช้ Applications ต่างๆจากสาขา

2. Security That Works Together

โซลูชั่น Talos เป็นระบบ Threat Intelligence ของ Cisco ที่รวมทีมวิจัยด้านภัยคุกคามและความปลอดภัยจาก SourceFire และ Cisco เข้าด้วยกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันภัยอันตรายบนโลกไซเบอร์ทุกรูปแบบ โดยทีมวิจัยของ Talos จะตรวจสอบค้นหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆจากเครือข่ายตรวจจับภัยคุกคามที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Web Requests, Emails, Malware Samples, Open Source Data Sets, Endpoint Intelligence และ Network Intrusions และโชว์ความสามารถ Encrypted Traffic Analytics (ETA) สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้ารหัส ซึ่งผู้โจมตีปัจจุบันมีการพัฒนาใช้การเข้ารหัสเพื่อซ่อนตัว ซึ่งการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายจะมีการใช้การเข้าระรัสข้อมูลที่มากขึ้นเช่น HTTPS และผู้โจมตีมีการพัฒนาในการเข้ารหัสเพื่อซ่อนตัว หลบซ่อนการตรวจจับการทำงานแบบรอรับคำสั่งควบคุมจากเซิร์ฟเวอร์ การเจาะนำข้อมูลออก หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ถูกตรวจสอบโดยเครื่องมือตรวจจับต่างๆ ทางเดียวที่จะตรวจจับภัยเหล่านี้ได้คือต้องถอดรหัสก่อนซึ่งอาจจะขัดแย้งกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้ารหัส โดยเฉพาะกับองค์กรที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับข้อมูล

3. The Future of Work

Digital Workplace แห่งอนาคตโดยการเพิ่มความสามารถอุปกรณ์ต่างๆด้วย Cisco Spark Assistant ที่ใช้เทคโนโลยี Deep-domain Conversational ที่มีเทคโนโลยี AI จากการที่ซิสโก้เข้าซื้อกิจการ MindMeld ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย คล้ายกับการใช้งาน Siri หรือ Google Assistant โดยสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดการประชุม ไม่ว่าจะเป็นการสั่งเริ่มการประชุม, โทรหาผู้ใช้งานรายอื่นในองค์กร คำสั่งควบคุมอุปกรณ์ต่าง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำการประชุมได้ราบรื่นขึ้น ฉีกกฎวิธีการใช้งานห้องประชุมแบบเดิมๆ

4. Automated. Intelligent. Simple. The Network Redefined

โชว์โซลูชั่นเน็ตเวิร์กสำหรับกลุ่มธุรกิจเซอร์วิสโพรไวเดอร์ คือผู้ให้บริการระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นให้เห็นการทำงานในลักษณะของออโตเมชั่น และเตรียมพร้อมสำหรับ 5G

5. The Intent-Bases Data Center

ในส่วนของ ดาต้าเซ็นเตอร์ ซิสโก้มีครบทั้งฝั่งอินฟราสตรัคเจอร์ (Infrastructure) ไม่ว่าจะเป็นพวกอุปกรณ์เซิฟเวอร์ สตอเรจเน็ตเวิร์ก และฝั่งของการจัดการระบบคลาวด์ พวกมัลติคลาวด์ แมนเนจเม้นท์ (Multi-Cloud Management) ด้วยลูกค้าปัจจุบันไม่ได้ใช้แค่ระบบไพรเวทคลาวด์ (Private Cloud) แต่ลูกค้ากำลังมองถึงงานในลักษณะพับลิคคลาวด์ (Public Cloud) และงานเน็ตเวิร์กที่ต้องทำในเรื่องของคลาวด์ ต้องการความสามารถในเรื่องของ ออโตเมชั่นเยอะขึ้น ซึ่งซิสโก้มีตัว Cisco ACI (Cisco Application Centric Infrastructure) คือการเอาพวก โครงสร้างพื้นฐานหรืออินฟราสตรัคเจอร์ (Infrastructure) ที่มองแอพลิเคชั่นเป็นส่วนกลาง คือสามารถทำให้รู้ว่าแอพลิเคชั่นต้องการเน็ตเวร์กแบบไหน โดยบูธนี้ซิสโก้โชว์ความสามารถของแอพลิเคชั่น AppDynamics ตามแนวคิด Intent-based Data Center ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสังเกตการณ์ประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) ของการใช้งานแอพลิเคชั่น ว่าแอพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมา User ที่เข้ามาใช้มีประสบการณ์เป็นอย่างไรอยู่ และหากแอพลิเคชั่นใกล้เกิดปัญหาอะไรขึ้นมามันจะทำการแจ้งเตือนก่อนที่ User จะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับแอพลิเคชั่นนั้น

6. IoT

แสดงให้เห็นบริการบนแพล็ตฟอร์ม cloud-based IoT สำหรับองค์กรและ service providers เพื่อจัดการบริหาร IoT services พวกอุปกรณ์ IoT ตัวอย่างการประยุคใช้ เช่น บริษัทซันโย เอส.เอ็ม.ไอ.ไดยการติดตั้งซิมการ์ด Cisco Jasper IoT ในอุปกรณ์เครื่องทำความเย็น ซึ่งจะส่งข้อมูลอัพเดตผ่านแพลตฟอร์ม “ซิสโก้ แจสเปอร์ คอนโทรล เซ็นเตอร์ ไอโอที” (Cisco Jasper Control Center IoT Platform) บนระบบคลาวด์ ตรวจสอบสถานะของเครื่องทำความเย็นอัจฉริยะที่ทำการจัดส่งข้อมูลในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ทีมงานฝ่ายตรวจสอบของซันโย เอส.เอ็ม.ไอ. สามารถติดตามสถานะและอุณหภูมิของเครื่องทำความเย็นที่ติดตั้งไว้ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ด้วยความแม่นยำสูง สังเกตุเห็นปัญหาก็สามารถส่งช่างเข้าตรวจสอบหรือแก้ไขได้ก่อนเครื่องทำความเย็นเสีย ลดความเสียหายให้กับไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตที่ต้องคุมคุณภาพสินค้าให้ได้ตามอุณหภูมิที่เหมาะสม

7. Cisco Kinetic

แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT โดยจะเน้นที่การบริหารการเชื่อมต่อ (Connection Management) และการดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT มาใช้งานและวิเคราะห์พื่อตัดสินใจในการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน IoT มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และปริมาณข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT Sensor นี้ก็จะทำให้เกิดความต้องการในการประมวลผลแบบ Real-time ด้วย Latency ที่ต่ำลง ซึ่งตอนนี้ซิสโก้มีทั้ง Cisco Kinetic for Manufacturing สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต และ Cisco Kinetic for Cities เพื่อส่งเสริมการสร้างเมืองอัจริยะ