Bitdefender ผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนาในหัวข้อ “Fortifying Digital Frontiers” ณ โรงแรม เอส 31 สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยมี สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมให้ความรู้และนโยบายของประเทศ ซึ่งงานเสวนาฯ นี้เป็นการรวมตัวของผู้นำในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้นำภาคธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่กำลังถูกภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนและรุนแรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมทางโซลูชั่นเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามนี้
ความท้าทายทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. กล่าวเกริ่นนำการเสวนาด้วยปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับปัญหาความท้าทายและโครงการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ที่จำเป็นในการเสริมสร้างระบบนิเวศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทย โดยได้เน้นย้ำถึงความซับซ้อนและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการทำงานร่วมกันที่แข็งแกร่งเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ
ดร.ปริญญา หอมเอนก ประธานและซีอีโอของ ACIS Professional Center นำเสนอ ” Cybersecurity Ecosystem Challenges in Thailand ” โดยชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างรวดเร็ว ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของการโจมตีทางไซเบอร์ และยังได้เน้นยำความจำเป็นในการเพิ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากยิ่งขึ้น
Mr. Paul Hadjy รองประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและการบริการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Bitdefender นำเสนอหัวข้อ “Protecting Data, Empowering People ” บรรยายเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยชี้ให้เห็นว่า AI สามารถช่วยปรับปรุงมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นได้อย่างไร พร้อมทั้งได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจจับภัยคุกคามและกลยุทธ์การตอบสนองในเชิงรุก
Mr. Michal Dominik กรรมการผู้จัดการ Indochina Country Partner กล่าวแนะนำว่าทุกองค์กรจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีใหม่ๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้อยู่เสมอ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการปรับปรุงและปรับตัวตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cybersecurity Practices) ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลเชิงลึกนี้เน้นย้ำถึงขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จำเป็นต้องทำคือต้องมีการสร้างกรอบการกำกับความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ (Resilient Cybersecurity Framework) ให้มีความสามารถในการเตรียมตัว และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ
Bitdefender Cybersecurity Forum จัดเวทีเสวนาที่โดดเด่นสำหรับมืออาชีพในการสร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ และทำงานร่วมกันในการปรับปรุงกลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กิจกรรมจบลงด้วยการช่วงถามตอบ การจับรางวัล และการรับประทานอาหารค่ำ ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถอภิปรายข้อมูลเชิงลึกของวันนั้นในบรรยากาศที่เป็นกันเองมากขึ้น
ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงพัฒนาต่อไป กิจกรรม เช่น Bitdefender Cybersecurity Forum จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมความร่วมมือและนวัตกรรมในสาขานี้ ด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญและผู้นำของ Bitdefender และ สกมช. มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ร่วมกัน จะช่วยปูทางไปสู่อนาคตดิจิทัลที่มีความมั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นแก่ประเทศไทย