ทุกวันนี้ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมหรือ SME ในประเทศไทยกำลังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด โดยผู้ที่สามารถชิงความได้เปรียบและมีความเหนือชั้นกว่า ก็จะสามารถดำรงอยู่รอดในท่ามกลางความท้ายทายของวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ทำให้ผู้ประกอบการ SME หลายแห่งจำเป็นต้องหาเครื่องมือมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจของพวกเขาให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น มิเช่นนั้นแล้วหากไม่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงใดๆ อาจจะส่งผลร้ายแรงถึงขั้นต้องออกจากธุรกิจไปก่อนเวลาอันสมควร
จากผลวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น UOB SME ได้ชี้ให้เห็นว่า ภายหลังจากฟื้นตัววิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้องค์กร SME จำนวนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ได้ดำเนินการโดยอาศัยดิจิทัลมาเป็นตัวผลักดันองค์กร โดยมีมากถึง 58 เปอร์เซ็นต์ในการนำเอาไปใช้เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดแบบดิจิทัล และกว่า 52 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่เองก็ทราบว่าประเด็นเรื่องของดิจิทัลและความยั่งยืนนั้น สำคัญและจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้องค์กร SME ยังไม่สามารถปฏิบัติการดังกล่าวได้เป็นเพราะ พวกเขายังไม่เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริง ยังมองไม่เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนยังไม่ทราบถึงความต้องการของลูกค้าของพวกเขาเองว่ามีความต้องการอย่างไร นั่นก็เป็นการยากที่จะทำให้ SME เหล่านั้นประสบความสำเร็จและเดินหน้าต่อในโลกของเศรษฐกิจได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจในประเด็นเหล่านี้อย่างถ่องแท้ อย่างเช่น AIS Business ที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยทางธุรกิจให้แก่คุณ
ในช่วงที่ผ่านมา AIS Business ได้เดินหน้าส่งมอบบริการด้านดิจิทัลและไอซีทีโซลูชัน ผ่านทางแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” นอกจากจะช่วยให้องค์กรลูกค้าระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ ได้สัมผัสกับประสบการณ์ในแง่มุมของการทำ Digital Transformation ที่ยอดเยี่ยมจากบริการที่หลากหลายของ AIS Business แล้ว พวกเขายังได้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของตนเองเพื่อตอบโจทย์การให้บริการแก่ลูกค้าของตนได้อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย
อย่างไรก็ตามทาง AIS Business ยังคงคำนึงถึงกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) ซึ่งถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับประเทศมาเสมอมา โดยนำเสนอโซลูชันในแง่มุมต่างๆ ทั้ง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เครื่องมือทางการตลาด บริการด้านไอที เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือเรียกกันว่า Ecosystem Economy ผ่านทางเคล็ดลับที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้
เคล็ดลับข้อที่ 1 : เดินหน้าดิจิทัลให้สุดทาง!
AIS Business ให้ความสำคัญกับการช่วยผลักดันองค์กรในกลุ่ม SME ให้ก้าวไปถึงความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาโซลูชันและการบริการที่ออกแบบมาสำหรับ SME โดยเฉพาะ เรียกว่า กลยุทธ์ 7S แบ่งเป็น โซลูชันสำคัญ 4 โซลูชันสำหรับ SME และการให้การสนับสนุนในอีก 3 บริการ
โซลูชันสำหรับ SME ประกอบด้วยกัน 4 โซลูชันหลัก
- AIS SME Mobile Services บริการโทรศัพท์เพื่อการสื่อสาร
- AIS SME Internet Services บริการอินเทอร์เน็ต
- AIS SME Digital Marketing Services เครื่องมือด้านการตลาดออนไลน์
- AIS SME IT & Digital Solutions พัฒนาระบบไอทีหลังบ้าน
บริการและการสนับสนุนสำหรับ SME ประกอบด้วย 3 บริการหลัก
- AIS SME Full e-Services งานบริการแบบ E-Service ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคล
- AIS SME Special Privileges สิทธิพิเศษที่ทำให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นด้วย AIS SME BIZ UP
- AIS SME Strategic Partnership การผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ
เคล็ดลับข้อที่ 2 : วางแผนดิจิทัลให้ถูกจุด เปิดประสบการณ์ SME ไทยสู่โลกดิจิทัล
AIS Business ได้นำเอาโซลูชันและการบริการดังกล่าวเข้าไปช่วยกลุ่มธุรกิจ SME ในหลายๆ อุตสาหกรรม และในช่วงแรกนั้นได้มีการมุ่งเน้นไปยังกลุ่มหลักก่อน อันประกอบด้วย ธุรกิจการผลิต, ธุรกิจการค้า, ธุรกิจภาคบริการ และธุรกิจด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล (กลุ่มเทคสตาร์ทอัพ) โดยปัจจุบันตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มี SME ผู้ใช้บริการ Electronic ของ AIS (เช่น eBill, eReciept, ePayment ฯลฯ) ประมาณ 58% มีพาร์ทเนอร์ในการช่วยสนับสนุนกว่า 95 พาร์ทเนอร์และมีสมาชิกที่ได้สิทธิพิเศษจาก AIS กว่า 1.7 แสนราย ตัวอย่างบริษัท AIS Business ได้นำโซลูชันดิจิทัลไปช่วยเหลือ ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ดังนี้
– กลุ่มธุรกิจการผลิต
ทาง AIS Business ได้เข้าไปช่วยให้ธุรกิจภาคผลิตของบริษัท Abalone Cosmetic Product Manager ชื่อผลิตภัณฑ์สินค้า AOVA มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าด้านอาหารและยา โดยที่ AIS Business นำเอาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยี Cloud Contact Center ไปให้บริษัทได้ใช้งานเพื่อเข้าถึงลูกค้า และสามารถบริหารจัดการสินค้าในช่วงฤดูกาลได้อย่างลงตัวมากขึ้น
กลุ่มธุรกิจการค้า
บริษัท Shu Global เป็นผู้ให้บริการด้านแฟชั่นค้าปลีก ได้นำเอาเทคโนโลยี 5G FWA และการบริการ Cloud Management ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของ Shu Global เพื่อให้สามารถจัดการเรื่องของสินค้าได้อย่างง่ายดายขึ้น
– กลุ่มธุรกิจภาคบริการ
โดย AIS Business ได้นำเอาระบบการจองที่เป็นรูปแบบบริการ ไปช่วยในงานของทาง Captain Quint – ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการรับฝากและดูแลสัตว์เลี้ยง สามารถบริหารรูปแบบการจองบริการได้ดีมากยิ่งขึ้น
– กลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล
Zipevent ผู้ให้บริการด้านแพลตฟอร์มอีเวนต์แบบออนไลน์ ก็ได้เลือกใช้บริการคลาวด์และ Micrsoft Azure ในการทำงานโดยให้ทาง AIS Business เป็นผู้จัดหาและดำเนินการให้
เคล็ดลับข้อที่ 3 : การพัฒนาดิจิทัลให้ทันกระแส
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ SME จะสามารถยืนหยัดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในทุกวันนี้ได้ ก็คือ “การพัฒนาระบบดิจิทัลของตนให้ทันกระแสโลก” ซึ่ง AIS Business เองก็มีบริการที่ออกมาตอบสนองความต้องการของกลุ่ม SME ตัวอย่างเช่น กรณีแอปพลิเคชันถุงเงิน ที่พบว่ามีกลุ่มธุรกิจการค้าให้บริการในแอปพลิเคชันถุงเงินประมาณ 1.8 ล้านราย ทาง AIS Business ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนร้านค้านั้น เพื่อทำความร่วมมือและข้อตกลงให้ร้านค้าดังกล่าวสามารถรับแต้ม Point ของ AIS จากผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าของร้านค้าได้โดยตรง
หรือกลุ่มร้านค้าหรือ SME ใดที่เปิดบริการหรือขายสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TikTok ทาง AIS Business ก็จะมีโปรโมชันพิเศษให้กับกลุ่มร้านค้า หรือ SME ดังกล่าวด้วย ตลอดจนบริการด้านบัญชี-การเงิน การจัดการเรื่องระบบบิลและเปย์เมนท์จาก สตาร์ทอัพ Flow Account สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME ด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้นแล้วยังมีบริการ Yellow ที่เป็นแพลตฟอร์มสำคัญแบบ B2B2C e-marketplace ใหม่ล่าสุด ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้สามารถต่อยอดธุรกิจทั้งเชิง B2B และ B2C แบบครบวงจร เพิ่มช่องทางให้ SME พบผู้ซื้อทั้งรายใหญ่และรายเล็กได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าและบริการได้ง่ายๆ หรือโพสต์สร้างความต้องการสินค้าหรือบริการ (RFQ Marketplace) เพื่อให้ผู้ขายติดต่อเสนอราคาได้ทันที ผ่านเว็บไซต์ www.yellow.co.th ซึ่งบริการนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ได้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร ก็เพื่อเชิญชวนและเปิดโอกาสให้สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมสามารถใช้บริการนี้ได้ด้วยข้อเสนอพิเศษต่างๆ เป็นต้น
เคล็ดลับข้อที่ 4 : การนำดิจิทัลมาพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
การสร้างเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ Ecosystem Economy จะทำได้นั้นต้องอาศัย องค์กรประกอบด้านโซลูชัน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล, การเชื่อมต่อธุรกิจในแบบข้ามอุตสาหกรรม และการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่ง AIS Business ได้มีเครื่องมือต่างๆ มาให้ได้ใช้งานอย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้ว ดังนั้นธุรกิจ SME เพียงแต่นำเอาเครื่องมือเหล่านั้นไปปฏิบัติใช้จากเล็กไปมาก และในส่วน AIS Business เองก็จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาระบบดิจิทัลให้แก่ SME ต่างๆ อีกด้วย
นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ SME แล้วทาง AIS Business ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มภาคบริการและบริษัทเทคสตาร์ทอัพ โดยบริการที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ SME ในกลุ่มบริการและบริษัทเทคสตาร์ทอัพนั้น AIS Business ออกแบบมาให้เหมาะกับในทุกๆ องค์กร โดยส่วนหนึ่งเป็นบริการเสริมที่มาจากทาง AIS Business เองและมาจากพันธมิตรของ AIS ยกตัวอย่างรูปแบบบริการอย่างเช่น
– การอัปเดตความรู้ และแนวโน้มใหม่ๆ ให้กับธุรกิจแบบเอ็กคลูซีฟ
– ส่วนลดค่าสินค้าและบริการจากพันธมิตร ร้านค้า ในกลุ่ม AIS The StartUp
– ส่วนลดสุงสุด 20% กับบริการขนส่งออนไลน์ Shippop แพลตฟอร์มด้านการขนส่ง
– แพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบในร้านอาหารจาก Foodstory
บทสรุป
AIS Business ระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการ SME ไทย มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก และสามารถที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการที่ SME ที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยี จะยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานให้ก้าวไปอีกขั้น ซึ่ง AIS Business ก็จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิด การสร้างเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ Ecosystem Economy ผ่านทางเทคโนโลยีที่หลากหลายที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของ SME ได้
สำหรับท่านใดสนใจโปรโมชั่นสำหรับ SME สามารถคลิก/สแกน QR Code เพื่อดูแพ็กเกจที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจของท่านเอง
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://business.ais.co.th/sme/
#AISSME #SME #เอสเอ็มอี #เติบโตอุ่นใจไปด้วยกัน #EcosystemEconomy #เศรษฐกิจดิจิทัล #AISBusiness #7S #Yellow #BizUp #TheStartUp #AISPoints #พร้อมเคียงข้างทุกธุรกิจSME