ปิดฉากลงอย่างยิ่งใหญ่กับงานสัมมนาแบบ Virtual จากเอไอเอส ในงานที่ชื่อว่า AIS 5G for Business is NOW ซึ่งนับเป็นการเปิดประสบการณ์ให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ได้พบกับเทคโนโลยีโครงข่ายอันล้ำสมัยอย่าง 5G โดยนำเอาโครงข่ายนี้มาใช้ในการดำเนินธุรกิจชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น
Enterprise ITPro ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยจะขอถ่ายทอดประเด็นต่างๆ พร้อมทั้งสาระสำคัญในงานนี้มาสู่ท่านสมาชิกผู้อ่านได้ทราบกัน
โดยในลำดับแรก Mr.Hui Weng Cheong , President ของ AIS ได้กล่าวถึงพัฒนาการของ 5G ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสทำให้องค์กรเริ่มหาวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมการทำงาน โดย 5G เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยเขาบอกว่า 5G จะช่วยก่อให้เกิดคุณประโยชน์และคาดว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และช่วยยกระดับการดำเนินธุรกิจในการแข่งขันระดับโลกได้ โดย AIS พร้อมแล้วในการให้บริการ 5G สำหรับธุรกิจเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลในวันนี้
ถัดมาในส่วนของประเด็นหัวข้อสำคัญ Thailand and APAC 5G Readiness เป็นการรวมเอากูรูในวงการดิจิทัลทั้งในระดับประเทศและระดับเอเชียแปซิฟิก มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา 5G โดยในลำดับแรกนั้น เริ่มต้นที่คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ Head of Enterprise Marketing and SME Business Management Section ท่านได้ย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทยในการใช้งานเรื่องของ 5G ว่า ตอนนี้ทางเอไอเอสที่มีการลงทุนและพัฒนา แบ่งออกเป็นสามเรื่อง คือการประมูลและลงทุนในเรื่องของคลื่นความถี่สำหรับการใช้งาน 5G ถัดมาเป็นเรื่องของการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุม และสุดท้ายคือการพัฒนาเรื่องของแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันต่างๆเพื่อใช้งาน 5G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเอไอเอส ได้ร่วมมือทั้งในส่วนของเวนเดอร์และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ นิคมอุตสาหกรรม, ภาคการผลิต, ภาคการเงินการธนาคารและค้าปลีก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำเอาเทคโนโลยี 5G ไปใช้งานได้จริง
คุณนวชัย ย้ำต่อว่าเอไอเอสไม่ใช่เพียงแค่องค์กรเดียวที่จะมายืนยันความพร้อมในครั้งนี้ แต่ยังได้เชิญผู้นำองค์กรในระดับประเทศหลายๆ ท่านมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้าน 5G ที่เกิดขึ้นมาพูดคุยด้วย โดยได้เรียนเชิญผู้บริหารระดับสูงหลายๆ ท่านโดยท่านแรกที่มาแบ่งปันข้อมูลก็คือ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)
ผศ.ดร.ณัฐพล ได้เริ่มเล่าให้ฟังถึงโครงสร้างของเศรษฐกิจในประเทศไทย แบ่งออกเป็นกลุ่มทั้งกสิกรรม กลุ่มเอสเอ็มอี และกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ เป็นไปในลักษณะของพีระมิด แต่ในวันนี้โครงสร้างกำลังเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยเรื่องราวเกี่ยวข้องกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีเทคโนโลยีทั้งในแง่ของคลาวด์มาเป็นตัวขับเคลื่อน และมีแอปพลิเคชันด้านโซเชียลที่เกิดขึ้นมากมายในการสร้างข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมื่อร่วมกับการพัฒนาในแง่ของโครงข่ายอย่าง 5G ในปัจจุบันส่งผลก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกกันว่า อุตสาหกรรมดิจิทัล อันประกอบไปด้วย เช่น ซอฟต์แวร์, อุปกรณ์ที่ประเภทฮาร์ดแวร์ที่มีความอัจฉริยะ, บริการด้านดิจิทัล, การพัฒนาเนื้อหาด้านดิจิทัล และการใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยล่าสุดในปี 63 ที่ผ่านมาตัวเลขของมูลค่ารวมนั้นสูงถึงเกือบระดับ 7 แสนล้านบาท!
เขายังกล่าวต่อไปว่า depa ได้วางแผนในส่วนของการพัฒนาต่อยอดในแง่ของ 5G โดยการสร้างสิ่งที่เรียกว่า 5G Innovation Center เป็นศูนย์กลางในการผนึกรวมเอาเทคโนโลยีเรื่องของข้อมูล คลาวด์ และโครงข่าย 5G เพื่อให้นวัตกรหรือนักพัฒนาใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชัน หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นนวัตกรรมสำหรับการทำงานในอนาคต และรวมไปถึงการต่อยอดที่จะเกิดขึ้นอย่างเช่น Thailand Digital Valley ที่เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญทางด้านดิจิทัลแห่งอนาคต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สำคัญในการสร้างชุมชนแห่งดิจิทัลในกลุ่มของพวกนวัตกร หรือ กลุ่มดิจิทัล สตาร์ทอัพ ที่เป็นตัวผลักดันในการก้าวสู่ Smart City
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวเสริมต่อไปว่า ทาง depa ได้เริ่มมีแนวคิดในการที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City สำหรับภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดย depa เข้ามาส่วนของระบบในการออกแบบผังเมืองโดยใช้ข้อมูลและคลาวด์ รวมถึงโครงข่าย 5G ผนึกร่วมกัน
ล่าสุดทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และเอไอเอส ได้ร่วมมือกันในส่วนของโครงการที่เกี่ยวข้องกับ 5G นั่นก็คือการสร้างศูนย์ AIS 5G Innovation Center / Laboratory โดยจะตั้งอยู่ในพื้นที่ Thailand Digital Valley ในโซน EEC (อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี) จะเปิดในปี 2022 โดยคุณนวชัย กล่าวเสริมว่า จะเป็นศูนย์ในการพัฒนาและทำแล็ปเพื่อทดสอบวิธีการใช้งานหรือผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับโซลูชัน 5G
นอกจากการทำงานร่วมกันกับ depa AIS ยังทำงานร่วมกับภาครัฐอย่าง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีแผนงานสนับสนุน 5G infrastructure สำหรับเป็นสนามทดสอบ 5G (5G testbeds) เพื่อเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิต รับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G ณ ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ Sustainable Manufacturing Center: SMC อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมการผลิต Smart Manufacturing แห่งใหม่ในพื้นที่ EEC อีกด้วย
ในเชิงของภาคอุตสาหกรรมนั้น ถือว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญของการผลักดันการใช้งาน 5G เป็นสำคัญโดยในงานครั้งนี้ รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้เกียรติบรรยายในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน โดยท่านชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรมตลอดจนโรงงานต่างๆ ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในยุค 5G โดยการนิคมฯ มีแผนสำคัญในการเดินหน้าสู่มิติใหม่ ภายใต้แนวคิด นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0 (Smart Eco 4.0) ซึ่งมีบริบทสำคัญในการที่จะผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Smart Water, Smart Energy, Smart Waste, Smart IT, ระบบ IT Surveillance เป็นต้น
ดร.วีริศ กล่าวต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น โดยระบุเป็นหลายประเด็น ดังเช่น การทำระบบ Automatic Water Supply System ทำให้พนักงานสามารถควบคุมการทำงานของระบบและคุณภาพของน้ำที่มาใช้ และน้ำเสีย ได้แบบเรียลไทม์ ผ่านทางโครงข่าย 5G หรือ จะเป็นการทำระบบ Smart Metering และ Pressure Sensor เพื่อยกระดับของระบบ Water Supply ให้มีศักยภาพสูง หรือระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการใช้น้ำและไฟฟ้า เข้าสู่ระบบ SCADA ของนิคมฯ ที่สามารถติดตามการใช้ทรัพยากรได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน NK-IE Plus ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันท่วงที เป็นต้น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดความอัจฉริยะที่สูงขึ้นในแง่ของภาคอุตสาหกรรม
ปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมยังได้ผุดโครงการที่ชื่อว่า โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industrial Digital Platform : IDP) เพื่อเป็นแพลตฟอร์มสื่อกลางการเชื่อมโยงทั้งฝั่งอุปสงค์และฝั่งอุปทาน โดยการใช้เทคโนโลยีข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผ่านทางระบบข้อมูลจากทั้งอุปกรณ์ IoT การใช้งานผ่านทางคลาวด์ และระบบ 5G ด้วย
ในส่วนของเอไอเอสนั้น ก็ได้มีการส่งเสริมเทคโนโลยี 5G ในการใช้งานในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Smart Industrial Estate ในภาคอุตสาหกรรม ทางเอไอเอสจึงได้มีการพัฒนาความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ เพื่อนำเอาโครงข่าย 5G ไปยกระดับอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่แนวคิดอย่าง Industry 4.0 ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้ร่วมมือกับเอไอเอสแล้วมากมาย อาทิเช่น นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร, สวนอุตสาหกรรมโรจนะ, นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ, WHA Group, กลุ่มสหพัฒน์, สวนอุตสาหกรรมบางกระดี, นิคมอุตสาหกรรมบางปูเหนือ, นิคมอุตสาหกรรมไฮ-เทค เป็นต้น
การเสริมสร้างศักยภาพของการนำเอาเทคโนโลยี 5G ของเอไอเอสไม่ได้หยุดที่แค่เรื่องของการสร้างเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และการประสานความร่วมมือกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพียงเท่านั้น ในบริบทของการทำงานจริง AIS ยังได้จับมือร่วมกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในด้านของ Platforms และ Solutions ชั้นนำระดับโลกมากมาย และยังเข้าร่วมมือกับหน่วยงานระดับภูมิภาคอย่างเช่น GSMA ในการร่วมก่อตั้ง APAC 5G Industry Community และร่วมมือกับอีกหลายองค์กร อาทิเช่น 5GEC (5G Enterprise solution Consortium) เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการทำงานและนำเสนอบริการที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง
ศักยภาพของโครงข่าย 5G ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการเสริมขีดความสามารถการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในหลายมิติ ทั้งในส่วนของภาคการผลิต โรงงานเครื่องจักร โซลูชัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ โดยที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่พร้อมเชื่อมต่อการทำงานของภาคอุตสาหกรรม เสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งในระดับนโยบายการขับเคลื่อนกับภาครัฐ และในระดับของการพัฒนาโซลูชันในด้านต่างๆกับภาคเอกชน ทำให้วันนี้ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายเอไอเอส จึงพร้อมที่จะติดปีกภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะจาก AIS 5G ทั้งด้าน Platforms และ Solutions
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “ด้วยเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนของ AIS ต่อการนำศักยภาพของ 5G มาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ จากการเดินหน้าลงทุนพัฒนาขีดความสามารถของเทคโนโลยีโครงข่ายอย่างต่อเนื่องทำให้วันนี้โครงสร้างพื้นฐานหรือ Digital Infrastructure มีความสมบูรณ์ พร้อมให้บริการกับภาคอุตสาหกรรม โดยยึดแนวทางการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของ Digital Ecosystem เพราะเราเชื่อว่าความสามารถและพลังของพาร์ทเนอร์จะช่วยส่งเสริมธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นได้แบบทวีคูณ”
เขายังเสริมอีกว่า นอกเหนือจากการเดินหน้าตามแผนงานการขับเคลื่อนของประเทศแล้ว ในบริบทของการทำงานจริง AIS ยังได้จับมือร่วมกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในด้านของ Platforms และ Solutions ชั้นนำระดับโลกมากมาย และยังประกาศความพร้อมในการให้บริการต่างๆ ดังนี้
– MEC (Multi-access Edge Computing) เป็นบริการที่นำเอาศักยภาพในการประมวลผล และการจัดการกับข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์มากขึ้น เพื่อช่วยลดปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และ Cloud อีกทั้งยังช่วยลดความหน่วง (latency) เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยทาง AIS พร้อมให้บริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกที่มาร่วมกันมากมายทั้ง Huawei, HPE, Microsoft และ ZTE ซึ่งให้บริการได้แล้วใน 2 โมเดล คือ Shared MEC และ Dedicated MEC ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหรือ Data Privacy
– 5G Private Network เป็นบริการเครือข่าย 5G ส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะของแต่ละธุรกิจ และสามารถทำ Network Slicing ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะของ 5G ทำให้สามารถสร้างโครงข่ายส่วนบุคคลเสมือนถึงระดับคลื่นความถี่ จึงเชื่อมต่อภายในองค์กรได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย นอกจากนี้ยังรองรับ use cases ที่หลากหลายในสถานที่เดียวกัน
– Smart Manufacturing Solutions ที่พร้อมส่งมอบบริการที่หลากหลายมากที่สุดในไทย อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิต การทำงานระยะไกลสำหรับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ผ่านการทำงานร่วมกับ Mitsubishi, Omron, TKK และล่าสุดร่วมกับ Schneider ผู้นำด้านโซลูชันการผลิตอัจฉริยะที่จะมาเสริมการทำงานภายใต้แพลตฟอร์ม EcoStruxture ซึ่งประกอบไปด้วย 3 แอปพลิเคชันได้แก่ Machine Advisor ซึ่งสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆได้ว่าทำงานอย่างไร สำหรับ Augmented Operator Advisor ใช้ AR เทคโนโลยีในการดูข้อมูลต่างๆ และ Secure Connect Advisor ให้คำแนะนำผู้ที่ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
– 5G IoT solutions กับ TCS โดย AIS เข้าไปให้บริการโซลูชันด้าน IoT ที่ช่วยตอบโจทย์ในการเสริมประสิทธิภาพด้านการผลิตการปรับปรุงและตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและพนักงาน การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงควบคุมต้นทุนในการผลิตที่ครอบคลุมในทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ
– 5G Security Platform กับ Palo Alto Network และ Cisco โดยทาง AIS เข้าไปให้บริการ AIS Managed Secure Access Service Edge (SASE), AIS SD-WAN และบริการด้านความปลอดภัยไซเบอร์อื่นๆ รวมทั้ง AIS CSOC ซึ่งเป็นระบบควบคุมแบบรวมศูนย์บนคลาวด์เพื่อตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับโซลูชันด้านความปลอดภัยจากพันธมิตรชั้นนำเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์
สำหรับงาน AIS Business 5G For Business is NOW ทุกท่านสามารถที่จะรับชม VDO ได้ตาม Link ด้านล่างนี้
ผู้ที่สนใจข้อมูลจาก AIS Business เพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมขายที่ดูแลองค์กรของท่าน หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ [AIS Business]