หน้าแรก Internet of Things เชื่อไหม? แบคทีเรียในมนุษย์สามารถเอามาเก็บข้อมูลได้ !

เชื่อไหม? แบคทีเรียในมนุษย์สามารถเอามาเก็บข้อมูลได้ !

แบ่งปัน

นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐฯ ได้ค้นพบวิธีการแปลงระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในลำไส้ใหญ่มนุษย์ ให้เป็นตัวบันทึกข้อมูลเหตุการณ์รอบตัวหรือ Tape ที่เล็กที่สุดในโลกได้สำเร็จ โดยนำมาใช้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของนักวิจัยพร้อมลงวันเวลาประกอบอย่างครบถ้วน

งานวิจัยฉบับนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Science โดยเจ้าของงานวิจัยอย่าง Harris Wang ที่อธิบายว่า หลังจากให้ผู้ป่วยทดลองกลืนแบคทีเรียดัดแปลงดังกล่าวแล้ว ได้พบว่าแบคทีเรียเริ่มบันทึกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทางเดินอาหาร และให้ข้อมูลที่ไม่เคยสามารถตรวจจับได้มาก่อนโดยใช้อุปกรณ์หน่วยความจำชีวภาพที่เรียกว่า CRISPR-Cas

ตัว CRISPR-Cas นี้เป็นระบบภูมิคุ้มกันส่วนตัวที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายของแบคทีเรียตัวนี้ ซึ่งสามารถคัดลอกชิ้นส่วน DNA หลังจากสู้รบปรบมือกับไวรัสที่จ้องเข้ามาบ่อนทำลายและใช้เซลล์แบคทีเรียเป็นฐานก๊อปปี้ตัวเองได้สำเร็จ ทั้งนี้เพื่อสอนแบคทีเรียรุ่นลูกรุ่นหลานถึงวิธีรับมือไวรัสตัวนั้นๆ ในอนาคต

อ่านข่าว : Microsoft วางแผนเก็บข้อมูล 1,000,000,000 เทราไบต์ ใน DNA เพียง 1 กรัม

ทั้งนี้ นักวิจัยได้ปรับแต่งพลาสมิด หรือดีเอ็นเอที่ต่อเป็นสายวงกลมในแบคทีเรีย เพื่อให้มีการบันทึกเหตุการณ์รอบข้างและเวลาประกอบแทน โดยพลาสมิดจะเพิ่มตัวเว้นช่องหรือ Spacer อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เท่ากัน และจะเริ่มบันทึกข้อมูลเมื่อเจอกับสัญญาณสิ่งเร้าภายนอก เช่น เจอกับอวัยวะภายนอกต่างๆ ทั้งนี้ ระบบพลาสมิดในอีโคไลสามารถบันทึกได้สามสัญญาณพร้อมกัน และบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ได้ยาวหลายวัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก

ที่มา : https://www.hackread.com/researchers-convert-human-bacteria-into-worlds-tiniest-tape-recorder