หน้าแรก Vendors HUAWEI Huawei ผนึก ITU จัดปาฐกถาในหัวข้อ กฎหมายและนโยบายบรอดแบนด์ในเอเชียแปซิฟิค

Huawei ผนึก ITU จัดปาฐกถาในหัวข้อ กฎหมายและนโยบายบรอดแบนด์ในเอเชียแปซิฟิค

แบ่งปัน

ในงาน ITU Telecom World 2016 หัวเว่ยและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดปาฐกถาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ กฎหมายและนโยบายบรอดแบนด์ในเอเชียแปซิฟิค ขึ้นเป็นครั้งแรก

พร้อมเผย รายงานสมุดปกขาวเรื่อง กฎหมายและนโยบายด้านบรอดแบนด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผลักดันการพัฒนาติดตั้งบรอดแบนด์ให้รวดเร็วขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมได้เรียกร้องให้มีนโยบายบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเร่งให้เกิดการติดตั้งเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล

มร. จ้าว โฮ่วหลิน เลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานปาฐกถา โดยเริ่มจากการแสดงความซาบซึ้งใจต่อหัวเว่ยที่ได้ให้การสนับสนุนการจัดปาฐกถาของสหภาพโทรคมนาคมฯ ในวันนี้ รวมถึงการที่หัวเว่ยเข้าร่วมเป็นสมาชิกระยะยาวของสหภาพโทรคมนาคมฯ ด้วย เขาชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีไอซีทีและโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในขณะที่บรอดแบนด์ได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้คน เราจึงไม่อาจนึกถึงช่วงเวลาที่ไม่มีบรอดแบนด์เน็ตเวิร์คหรือแอพลิชั่นต่าง ๆ ได้เลย ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้บรอดแบนด์เป็นนโยบายสำคัญและมุ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีความแตกต่างกันอย่างมาก ตลอดจนการเชื่อมโยงสื่อสารในภูมิภาคก็หลากหลายเป็นอย่างยิ่ง ตามข้อมูลของมร. จิน อี่จือ รองประธานบริหารของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงคโปร์ จัดอยู่ในกลุ่มผู้นำระดับโลก โดยมีอัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์ถึงร้อยละ 95 ในขณะที่พม่า บังคลาเทศ กัมพูชา กลับมีประชากรน้อยกว่าร้อยละ 5 ที่สามารถเข้าถึงบรอดแบนด์ได้ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านในงานกล่าวด้วยว่า ประเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านนโยบายจากรัฐบาลมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้โครงสร้างพื้นฐานเติบโตและเพิ่มการเชื่อมโยงสื่อสารภายนอกด้วย

มร. จิน กล่าวอีกว่า “บรอดแบนด์ควรเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์แห่งชาติ รัฐบาลควรจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านโทรคมนาคมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ เคเบิลใต้ทะเลหรือบนบก รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์และการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ”