ภัยคุกคามทวีความรุนแรงมากขึ้น เวนเดอร์ด้านซีเคียวริตี้ต่างก็ผุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ได้เพียงแค่ทำแค่ Outsider Protection เท่านั้น การทำ Insider Protection ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย เพราะจะช่วยป้องกันภัยคุกคามได้ดีมากขึ้น
วันนี้ทาง Enterprise ITPro ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณฉัตรกุล โสภณางกูร ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท ฟอร์ซพอยต์ จำกัด (Forcepoint) เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจในแวดวง Security ที่เกิดขึ้นในยุคนี้
คุณฉัตรกุล เล่าให้ฟังว่าปัญหาภัยคุกคามมีความรุนแรงมากขึ้นและมีการโจมตีอย่างไม่หยุดหย่อน แม้ว่าบริษัทและองค์กรทั้งหลายต่างก็หาแนวทางในการป้องกันตัวเองมาก็มากมายแล้ว แต่ก็ยังพบว่าโดนโจมตีเช่นเคย ทั้งนี้เป็นเพราะใช้ระบบการป้องกันแบบเก่า คือเน้นไปที่การสร้างการป้องกันด้านภายนอกมากเกินไป และละเลยการป้องกันในส่วนภายใน ซึ่งฉัตรกุลบอกว่า การที่จะป้องกันที่ดีได้นั้นควรจะมองประเด็นที่สำคัญคือ การป้องกันยูสเซอร์, ป้องกันดาต้า, และป้องกันเครือข่าย
ซึ่งการเปิดตัวบริษัท ฟอร์ซพอยต์ ในวันนี้ก็ยังรวมไปถึงการมีโซลูชันในการตอบโจทย์ประเด็นทั้งสามข้อข้างต้นด้วย ซึ่ง องค์กรจะสามารถปกป้องผู้ใช้ เครือข่าย และข้อมูลในระบบคลาวด์ ขณะเดินทาง และในสำนักงานได้ ทำให้การปฏิบัติตามกฎระเบียบกลายเป็นเรื่องง่าย ช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นลูกค้าของเราจึงสามารถทุ่มเทเวลาไปกับสิ่งที่มีความสำคัญของตนได้อย่างเต็มที่
4D แนวทางในการจัดการกับภัยคุกคาม
ฉัตรกุลได้แสดงถึงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดำเนินการกับภัยคุกคามโดยใช้หลักการ 4D ซึ่งประกอบด้วย 1) Defense คือเป็นการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้น, 2) Detect หมายถึงการตรวจสอบภัยคุกคามที่เกิดขึ้น หรืออาจจะแฝงตัวอยู่ในจุดต่างๆ ที่มองไม่เห็น 3) Decide เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้บริหารสามารถที่จะตัดสินใจในการทำงานได้ และ 4) Defeat วิธีการจัดการกับปัญหาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายอีก
กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ ฟอร์ซพอยต์ นั้นประกอบด้วยโซลูชันต่างๆ ที่มีความสามารถมาร่วมกัน คือต้องบอกว่า ฟอร์ซพอยต์ เดิมชื่อว่า เรย์เธียน เว็บเซนต์ (คือเป็นการร่วมกันของบริษัท เรย์เธียน และ เว็บเซนส์) และมีการซื้อบริษัท สโตนซอฟต์ เข้ามาอีกด้วย ทำให้ฟอร์ซพอยต์กลายเป็บริษัทที่มีโซลูชันด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่หลากหลาย เช่น พวก Content Security, Mail Security, Next Generation Firewall, Security for Cloud และอื่นๆ อีกมากมาย และผลิตภัณฑ์หลายๆ ตัวของพวกเขาได้รับการรับรองจากสถาบันด้านซีเคียวริตี้อย่างเช่น NSS Labs อีกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีโซลูชันที่น่าสนใจก็คือ Forcepoint The Summit ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยวัดความเสี่ยงของการใช้งานช่วยระบุได้ว่าใครมีความเสี่ยงมากน้อยอย่างไร สาเหตุของการเสี่ยงนั้น ฯลฯ เป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยได้ดีมากขึ้น
ฉัตรกุลยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ตลาดด้านความปลอดภัยในเมืองไทยยังเติบโตมาก และเป็นโอกาสอันดีที่ทางบริษัทจะรุกตลาดหนัก และคาดว่าตัวเลขจะเติบโตตามเป้าที่วางเอาไว้ด้วย
ปัจจุบันทางฟอร์ซพอยต์ มีตัวแทนจำหน่ายคือ ACA Pacific, Exclusive Networks และมีพาร์ทเนอรอีกมากมายกว่า 30 ราย พร้อมกับตั้งเป้าหมายกลุ่มลูกค้าพวก FSI, Telco, Governmet, Manufacturing และ Service เป็นหลัก