ด้วยความมุ่งมั่นของภาครัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ ในการก้าวไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 เพื่อบรรลุถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจยุคใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตจึงได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเข้าสู่โลกดิจิทัลภายใต้ Industrial 4.0 ด้วยการอาศัยแนวทางการดำเนินงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มองเห็นภาพรวมของทั้งกระบวนการผลิต เชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าหากัน สามารถคาดการณ์และปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์
Fujitsu Smart Factory เป็นการทำงานร่วมกันของหลากหลายโซลูชัน เพื่อให้การปรับใช้และยอมรับนวัตกรรมใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น เส้นทางสู่การเป็น ‘โรงงานอัจฉริยะ’ จึงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว หรือมีโซลูชันสำเร็จรูปเพื่อการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะได้แบบทันที หากแต่สามารถเลือกและนำไปปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการที่ต่างกันของแต่ละอุตสาหกรรม บางธุรกิจต้องการเปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระดาษที่จดด้วยมือไปสู่โซลูชันดิจิทัล หรือต้องการนำข้อมูลจากตัวควบคุม PLC (Programmable Logic Controller) มาแสดงในแดชบอร์ดเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของโรงงานได้
ก็อาจจะเพียงพอ ขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ อาจต้องการระบบอัตโนมัติ เครือข่ายระบบควบคุมอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงเครื่องจักรเข้าหากัน ใช้เทคโนโลยีการทำนายผล (Predictive Technology) และเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (Machine Learning) เป็นต้น
โดยหัวใจหลักของโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่การขับเคลื่อนสู่โรงงานอัจฉริยะก็คือ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลด้วยข้อมูล เพื่อทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งการให้ผู้ประกอบการรู้ว่าในระบบของตนเองมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง สามารถนำมาวิเคราะห์ และนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้เพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสาร เพราะการทำงานของอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน อาจไม่ได้อยู่แต่ที่หน้างานหรือภายในโรงงานอีกต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีโซลูชันที่ช่วยให้ทำงานและสื่อสารกันได้จากทุกเวลาทุกสถานที่
โซลูชัน Fujitsu Smart Factory ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตยุคดิจิทัล ด้วยแนวคิดด้านประสบการณ์ใช้งาน (Experiences) อันน่าประทับใจ ซึ่งครอบคลุมถึงความสามารถในการรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดจึงเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงระบุวิธีการแก้ไขปัญหา ได้แก่ Worker Experience, Factory Operation Experience และ Ecosystem Experience เพื่อให้การพัฒนาไปสู่โรงงานอัจฉริยะสามารถบรรลุผลลัพธ์ ได้แก่
1) ความพร้อมใช้งานและความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น: เพราะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานในสายการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ผู้ผลิตวางแผนการใช้ทรัพยากร และลดเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนได้
2) ประสิทธิภาพการทำงาน: ผู้ผลิตสามารถมองเห็นภาพรวมของปริมาณงานและผลผลิตได้ดีขึ้น ลดเวลาหยุดทำงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม
3) การประกันคุณภาพ: การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำและประสิทธิผล โดยลดความจำเป็นในการตรวจสอบด้วยสายตาตนเอง
Worker Experience
เป็นแกนหลักด้านหนึ่งในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เต็มรูปแบบ ซึ่งมุ่งเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานด้วยความเป็นเลิศในการดำเนินงาน (Operational Excellence) โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
a. Smart Digitalization Operation จากการทำงานแบบเดิมที่ผู้ใช้จะบันทึกข้อมูลการตรวจสอบหรือข้อมูลต่าง ๆ
ลงในกระดาษ ดังนั้นขั้นตอนแรกของการนำไปสู่ Smart Factory คือ การแปลงข้อมูล (Convert Data)
จากกระดาษไปเป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้หัวหน้างานสามารถยืนยันคำสั่ง ตรวจสอบ หรือช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ทันที หรืออีกกรณีคือ วิศวกรสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือคู่มือเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขั้นตอนต่อมาคือการทำ Centralize Apps Platform เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ในเวลาจริง (Real-Time) และผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลชุดเดียวกันโดยทั่วถึงและทันท่วงที ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น
b. Collaborative Field Inspection การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการแบ่งช่วงเวลาทำงานเป็นกะ
ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงที่ผู้เชี่ยวชาญหรือหัวหน้างานไม่ได้ทำงานอยู่ ก็จะยังคงแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์นั้นได้ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลจากปัญหาที่ได้เคยถูกบันทึกไว้ รวมถึงคำแนะนำในการแก้ไข และการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote) เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากเป็นการบันทึกข้อมูลด้วยกระดาษจะมีข้อจำกัดเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
c. Advance Digital Simulation การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงาน โดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) ความจริงเสมือน (Virtual Reality) และความจริงผสม (Mixed Reality) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ รวมถึงการจำลองสถานการณ์ให้เกิดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
Factory Operation Experience
แกนหลักด้านที่ 2 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการภายในโรงงานที่ระดับของแผนก โดยมีความแตกต่างจากด้าน Worker Experience ซึ่งมุ่งพัฒนาในระดับรายบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงของกระบวนการผลิต (Production Improvement) โดยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุน ได้แก่
a. Collaborative Development (สำหรับแผนกออกแบบ) เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือการออกแบบสายการผลิต (Production Line) ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยียุคใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันบนแบบร่างเดียวกันได้ (Collaborative Design) รวมไปถึงการจำลองผลิตภัณฑ์ (Product Simulation) และการจำลองสายการผลิต (Production Line Simulation) เพื่อให้งานต่าง ๆ ดำเนินต่อไปได้ โดยพนักงานยังคงสามารถทำงานอยู่ที่บ้านของตนเอง
b. Manufacturing Intelligence (สำหรับแผนกการผลิต) การนำข้อมูลของเครื่องจักรในการผลิตที่ได้ มาแสดงเป็นข้อมูลสำคัญ (KPIs) บนแผงควบคุม (Dashboard) เพื่อให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างตรงจุด
c. Asset Tracking and Optimization (สำหรับแผนกซ่อมบำรุง) เป็นระบบรายงานแสดงจำนวนของอุปกรณ์ สถานะของทรัพยากรที่อยู่ในคลังทั้งที่เป็นสินทรัพย์ชั่วคราวและถาวร การบริหารจัดการทั้งในด้านการใช้งาน สถานที่จัดเก็บ การซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายงานผลิตต่อไป
d. Real-Time Quality and Conformance (สำหรับแผนกควบคุมคุณภาพ) การยกระดับด้วยการใช้ AI รวมถึงการใช้ข้อมูลดิจิทัล โดยการเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ (Sensors) ของกล้องวิดีโอ เพื่อให้สามารถควบคุมประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและเกิดความพึงพอใจจากลูกค้า
Ecosystem Experience
แกนหลักด้านที่ 3 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือส่วนที่มุ่งเน้นด้านการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร โดยเน้นเรื่องของการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนให้ได้ดีที่สุด (Cost Optimization) โดยแบ่งตามหมวดหมู่ได้ดังนี้
a. Data Factory Platform โซลูชันสำหรับการรวบรวมข้อมูลของโรงงานมาไว้ในจุดเดียว ให้ความสามารถในการจัดการกับปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับข้อมูลหลากหลายประเภท ทั้งแบบที่เป็นข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) และข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ
มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต โดยคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดการใช้งานข้อมูลที่สะดวกและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
b. Edge Intelligence โซลูชันการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลไปยัง Data Factory Platform รวมถึงการส่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์ไปยังผู้ดูแลระบบผ่านทางอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดเก็บและนำมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป เช่น ล็อก (Log) การใช้งานระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบ IoT อื่น ๆ ซึ่งนอกจากเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผนก IT และแผนก OT (Operation Technology) แล้ว โซลูชันยังครอบคลุมถึงความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ด้วยเช่นกัน
c. Predictive Monitoring and Diagnostics เมื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ Data Factory Platform เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ถึงการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงสามารถประเมินวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถบรรลุถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด (Cost Optimization) นั่นเอง
การขับเคลื่อน Smart Factory ให้อุตสาหกรรมต่างๆ
ที่ผ่านมาฟูจิตสึได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา Smart Factory ให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ด้วยโซลูชันย่อยหลายรูปแบบ ตามแต่ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันตามอุตสาหกรรม
ตัวอย่างเช่น ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) ได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการสร้าง “โรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ” (Digital Connected Plant) แห่งแรกในประเทศไทยให้เกิดขึ้นจริง เพื่อขยายระบบดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมการผลิต ในธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนระบบงานแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก รวมถึงเอกสารที่เป็นกระดาษ
พร้อมปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล (Remote Expert Collaboration) และเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)
ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผน ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในแต่ละปี ลดระดับสินค้า
คงคลัง เพิ่มระบบความปลอดภัยการทำงาน ลดระยะเวลาการทำงานพนักงานใหม่ เนื่องจากมีมาตรฐานและกระบวนการทำงานที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในการจ่ายเงิน และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมา
ขณะที่ในต่างประเทศโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ของอินเทล ในเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดของ
อินเทลภายนอกสหรัฐฯ ได้มีการติดตั้งและใช้งานโซลูชัน Fujitsu Smart Factory และอุปกรณ์ IoT เพื่อบันทึกสถานะการทำงานของสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านระบบคลาวด์ของฟูจิตสึ ทั้งจากมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมไปถึงเซ็นเซอร์สภาพแวดล้อมที่ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น และข้อมูลสถานะการปฏิบัติงานจากสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์
ระบบจะแสดงผลตัวบ่งชี้สำคัญ ๆ ด้านการจัดการ เช่น พลังงานที่ใช้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักร ผ่านทางแดชบอร์ดอัจฉริยะ (Intelligent Dashboard) ซึ่งแสดงผลข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ส่วนข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตในสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ จากที่เคยถูกเก็บรวบรวมและใช้งานเป็นรายกรณี โซลูชันนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ทั่วทุกพื้นที่ภายในโรงงานในแบบเรียลไทม์ ผู้บริหารสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาในสายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
ออมรอน คอร์ปอเรชัน หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมในอุตสาหกรรมระดับโลก ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ โดยร่วมมือกับฟูจิตสึในการนำโซลูชันเพื่อการมองเห็น การเคลื่อนไหวของสายการผลิตแบบเรียลไทม์ ด้วย Big Data ด้านอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมผลิตแผงวงจรเข้ากับประเภทข้อมูลแต่ละประเภท ที่มีการบันทึก
ในระบบการผลิตแต่ละระบบในสายการผลิตเพื่อระบุจุดที่ต้องมีการปรับปรุง ซึ่งเป็นจุดที่หาได้ไม่ง่ายนัก แม้แต่พนักงานโรงงานที่มีประสบการณ์แล้วก็ตาม
โดยมีการพัฒนาระบบที่สร้างรายงาน “Timeline Data Visualization (การมองภาพข้อมูลตามแนวเวลา)” เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามจริง ที่ง่ายต่อการเข้าใจได้อย่างรวดเร็วภายในพริบตาเดียว ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึง
6 เท่า
ก้าวต่อไปของผู้ผลิตไทย
การสร้างสภาพแวดล้อมโรงงานอัจฉริยะที่รวมเอาเทคโนโลยีคลาวด์และ IoT ไว้ด้วยกัน สามารถช่วยขับเคลื่อนโรงงานการผลิตของคุณไปสู่วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 หรือเกินกว่านั้นได้ เนื่องจากโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
ความปลอดภัยและคุณภาพที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้โรงงานผลิตของคุณแตกต่างไปจากคู่แข่ง
หนึ่งในประเด็นสำคัญจากข้อมูลข้างต้น คุณจะเห็นว่า การก้าวสู่เส้นทางของโรงงานอัจฉริยะ อาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม หรือต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมากอย่างที่หลายคนคิด เพราะสามารถเริ่มต้นได้ด้วยจุดเล็ก ๆ เมื่อมีความพร้อมหรือเห็นว่าได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจึงค่อยต่อยอดไปสู่โซลูชันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้
ซึ่งสิ่งที่คุณต้องการคือมืออาชีพที่มีความเข้าใจธุรกิจ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโซลูชันอย่างรอบด้าน พร้อมเป็นที่ปรึกษาและสร้าง Smart Factory ในแบบที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งทั้งหมดนั้นจะพบได้จาก “ฟูจิตสึ”
ร่วมสร้างสรรค์ความสำเร็จกับฟูจิตสึ
ฟูจิตสึเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโรงงานไปสู่ยุคดิจิทัล เพราะฟูจิตสึได้ศึกษาและพัฒนาโซลูชันโรงงานอัจฉริยะส่วนหนึ่งขึ้นมาจากสายการผลิตของทางบริษัทฯ เอง จึงมีความรู้ในเชิงลึก รวมทั้งยังดำเนินธุรกิจในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบ (System Integrator) อีกด้วย
มาร่วมสัมผัสบริการและเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของฟูจิตสึได้ที่ Fujitsu ActivateNow 2021
หากคุณต้องการทราบว่า ฟูจิตสึสามารถช่วยพัฒนาให้ธุรกิจการผลิตของคุณกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะได้อย่างไร สามารถติดต่อเราที่