หน้าแรก Vendors COMMSCOPE RUCKUS ความหมายของคำว่า Wi-Fi Roaming ในมุม CommScope

ความหมายของคำว่า Wi-Fi Roaming ในมุม CommScope

แบ่งปัน

ประเด็นเกี่ยวกับการโรมมิ่งระหว่างเครือข่าย Wi-Fi นั้นกำลังได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงไม่นานมานี้ เริ่มจากที่ซิสโก้เปิดตัว OpenRoaming ไปเมื่อปี 2019 จากนั้นทาง Aruba ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชั่นของตัวเองอย่าง Air Pass ด้วยเมื่อมีนาคม 2020

ซิสโก้เองก็เล่นเกมต่อด้วยการให้ OpenRoaming กับทาง Wireless Broadband Alliance (WBA) เพื่อนำไปสร้างแพลตฟอร์มแบบเปิดในการเร่งให้ตลาดนำไปใช้งานในวงกว้าง และล่าสุดทางกูเกิ้ลก็ออกมาเปิดตัว Orion WiFi ด้วย

ทั้งสามแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้นต่างมีเป้าหมายในการบริการเชื่อมต่อและโรมมิ่งระหว่างเครือข่ายไร้สายได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด โดยใช้โปรโตคอล Passpoint ของทาง Wi-Fi Alliance ที่เคยเปิดตัวตั้งแต่สมัยทศวรรษที่แล้ว

ดังนั้นครั้งนี้ไม่ใช่การเริ่มต้นแต่แรก อย่างเมื่อปี 2002 มีโครงการริเริ่มชื่อ eduroam ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำโรมมิ่ง Wi-Fi ระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ซึ่งมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ให้บริการทั้งนักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษา

ให้เข้าถึงเครือข่ายได้ง่ายและปลอดภัยเวลาเดินทางไปในสถาบันอื่นนอกจากของตัวเอง ซึ่งองค์กร eduroam นี้ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกผู้ก่อตั้งโครงการ OpenRoaming ของ WBA อีกด้วย และในปี 2012 นั้น ทาง Wi-Fi Alliance ก็ได้เปิดตัว Wi-Fi CERTIFIED™ Passpoint R1 (Release 1) ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถสับเปลี่ยนเครือข่ายระหว่างพาร์ทเนอร์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานของ Hotspot 2.0

สำหรับโปรโตคอล Passpoint นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการค้นหาเครือข่าย การเข้าถึงเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ และการยืนยันตนและการเชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัย ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ผู้คนที่ใช้อุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อปลดการพึ่งพาการสื่อสารผ่านโครงข่ายโทรศัพท์

แล้วหันมาเชื่อมต่อเปลี่ยนไปตามเครือข่ายไวไฟแทนระหว่างที่เดินทาง โดยไม่รู้สึกสะดุดระหว่างการเปลี่ยนจาก SSID หนึ่งไปสู่ SSID หนึ่ง ซึ่งทั้ง OpenRoaming, Air Pass, และ Orion WiFi ต่างก็พยายามที่จะยกระดับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเดินทางด้วยการสร้างจุดรวมศูนย์กลาง (ที่เรียกกันว่า Federation) ทำหน้าที่เป็นผู้คอยจับคู่ระหว่างเจ้าของเครือข่ายไวไฟและผู้ให้บริการ แต่ว่าก็มีวัตถุประสงค์การใช้แตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างแพลตฟอร์มเหล่านี้

โดยเฉพาะในแง่ของเชิงพาณิชย์ โดยอย่าง OpenRoaming และ Air Pass จะเน้นไปที่ความสามารถของผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้โรมมิ่งไปยังเครือข่ายไวไฟขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้รหัสซิมของโทรศัพท์ในการยืนยันตน

ซึ่งช่วยหลีกเลี่ยงกระบวนการที่สร้างความรำคาญในการหาชื่อหรือป้อนข้อมูลทั้ง SSID และรหัสไวไฟ แต่ว่าในส่วน OpenRoaming เองมีเป้าหมายในการแบ่งเบาภาระการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ Air Pass ต้องการขยายความครอบคลุมบริการวอยซ์ไปในอาคารที่สัญญาณโทรศัพท์เข้าไม่ถึง

ในคราวหน้าจะมาต่อให้ได้อ่านกันอีก

ที่มา : Commscope