หน้าแรก Security Malware บทความน่ารู้ : มัลแวร์คืออะไร? และมัลแวร์ 9 ประเภทที่คุณควรรู้

บทความน่ารู้ : มัลแวร์คืออะไร? และมัลแวร์ 9 ประเภทที่คุณควรรู้

แบ่งปัน

เทคโนโลยีถือเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่สำหรับทุกคนทั้งด้านชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งทั้งเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตต่างก็ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความเสี่ยงต่ออันตรายบนโลกออนไลน์มากมายด้วย รวมไปถึงการถูกเปิดเผยข้อมูลความลับส่วนบุคคล

ตัวอย่างอันตรายต่างๆ ได้แก่ แฮ็กเกอร์ สแกมเมอร์ ผู้ที่ล่าเหยื่อออนไลน์ โจรขโมยข้อมูลและสวมรวมตัวตน รวมทั้งพวกใช้การหาคู่ออนไลน์มาหลอกหาประโยชน์ เป็นต้น แต่หนึ่งในเครื่องมือที่อาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ใช้ในการหาเหยื่อและเข้าถึงอุปกรณ์หรือข้อมูลก็คือ มัลแวร์

มัลแวร์ถือเป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์อันตรายที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างความเสียหาย หรือเข้าถึงเครือข่ายและอุปกรณ์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมัลแวร์จะติดเชื้อบนอุปกรณ์และแพร่กระจายไปบนเครือข่าย พร้อมทั้งทำให้ระบบล่ม

หรือขโมยข้อมูลส่วนตัวไปจากอุปกรณ์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ด้วย มักเริ่มต้นจากการแพร่กระจายไปบนคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในรูปของแอพปลอม ลิงค์ อีเมล์ ไฟล์แนบ ข้อความต่างๆ ซึ่งการล่อหลอกให้คนเผลอทำมัลแวร์ติดเชื้อบนเครื่องนั้น

อาชญากรที่อยู่เบื้องหลังก็มักใช้เทคนิคทางจิตวิทยาหรือที่เรียกว่า Social Engineering ในการควบคุมการกระทำของเหยื่อเป้าหมาย ทั้งนี้ มัลแวร์มีหลากหลายประเภทด้วยกัน แต่ชนิดมัลแวร์ที่ควรเฝ้าระวังนั้นมีดังต่อไปนี้

  1. Adware

เป็นโฆษณาที่ยัดเยียดโผล่ขึ้นมาเองโดยผู้ใช้ไม่ต้องการ แสดงผลกับผู้ใช้ออนไลน์เพื่อล่อให้คลิกโฆษณา หรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ หรือแอพบางอย่างที่เจาะจง ซึ่งเว็บไซต์หรือแอพที่ลิงค์ไปนั้นก็มักมีมัลแวร์ประเภทอื่นรอโจมตีอยู่ด้วย

  1. แรนซั่มแวร์

การโจมตีแบบแรนซั่มแวร์นี้จะพุ่งเป้าในการล็อกอุปกรณ์และไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์ไว้เป็นตัวประกันแลกกับเงินค่าไถ่ ซึ่งข้อมูลและไฟล์ต่างๆ บนอุปกรณ์จะถูกเข้ารหัสโดยผู้โจมตีเพื่อขู่ให้เหยื่อจ่ายเงินแลกกับการเข้าถึงอีกครั้ง

  1. Rootkit

รูทคิตเป็นซอฟต์แวร์อันตรายที่ใช้เข้าถึงและควบคุมอุปกรณ์ได้จากระยะไกลโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อฝังตัวเชื่อมต่อแล้วก็สามารถทำงานได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการจารกรรมข้อมูล ปรับแต่งตั้งค่าความปลอดภัย ติดตั้งมัลแวร์อื่น หรือควบคุมต่างๆ

  1. สปายแวร์

เป็นมัลแวร์ที่พบได้บ่อย ใช้สำหรับสอดแนมกิจกรรมของผู้ใช้บนอุปกรณ์ มักแฝงตัวมากับซอฟต์แวร์หรือแอพ โทรจัน หรือแม้แต่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทั้งหลาย มักตรวจจับการกดคีย์บอร์ด ดูดข้อมูล แก้ไขการตั้งค่าความปลอดภัย

  1. ไวรัส

เป็นมัลแวร์ที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างความเสียหายแก่ทุกระบบ เครือข่าย และอุปกรณ์ที่ตัวเองสัมผัส มีวิธีแพร่กระจายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะฝังมากับซอฟต์แวร์หรือแอพที่จะติดเชื้อเมื่อเปิดขึ้นมา หรือมากับเอกสาร สคริปต์ และผ่านช่องโหว่ด้านความปลอดภัย

  1. โทรจัน

มาจากคำเต็มๆ ว่าม้าโทรจัน (Trojan Horse) ด้วยพฤติกรรมที่ปลอมตัวเป็นแอพ ไฟล์ หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกต้อง ดูปลอดภัย หลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด เมื่อฝังเข้ามาบนเครื่องแล้ว อาชญากรเบื้องหลังก็สามารถเข้ามาทำอะไรต่างๆ บนเครื่องได้มากมาย

  1. บอท

บอทเป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานบางอย่างที่เจาะจง ที่ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายเสมอไป เช่น บอทที่ใช้กับเกม หรือบอทที่ไล่เก็บข้อมูลตามเว็บไซต์ แต่บางครั้งก็อาจใช้ในวัตถุประสงค์ที่อันตรายได้ เช่น

  • บอทเน็ต ที่ทำให้บุคคลจากภายนอกเข้ามาควบคุมอุปกรณ์จำนวนมากได้
  • การโจมตีแบบ DDoS ที่บอทถูกนำมาใช้เริ่มการโจมตีเพื่อก่อกวนและปิดกั้นทราฟิกปกติที่ไปยังเซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย หรือเว็บไซต์
  • สแปมบอท ที่คอยส่งต่อโค้ด ลิงค์อันตราย และโทรจัน
  • Parsing Bot จารกรรมข้อมูลความลับจากเว็บไซต์ที่เจาะจง
  1. Worm

เวิร์มนั้นมีเอกลักษณ์ในการขยายจำนวนตัวเองด้วยการเจาะช่องโหว่บนอุปกรณ์ เครือข่าย และเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งการโจมตีของมัลแวร์ประเภทนี้จะอาศัยมนุษย์ในการดาวน์โหลดและเปิดไฟล์ แอพ หรือลิงค์ คำว่าเวิร์มมักใช้กับการที่ต้องการติดเชื้อบนอุปกรณ์ แทรกซึมไปทั้งระบบ

  1. บั๊ก

บั๊กหมายถึงช่องโหว่ที่อยู่ในโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรืออุปกรณ์ ที่มักเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ซึ่งถ้าไม่มีการตรวจสอบอยู่เป็นประจำ เราก็มักไม่รู้ว่ามีบั๊กอยู่จนกระทั่งสายเกินไป ไม่ว่าจะทำความเสียหายแก่ระบบ หรือเปิดช่องให้คนอื่นเข้ามาได้โดยไม่ถูกตรวจจับ

ที่มา : Technotification