“การบริหารจัดการข้อมูลที่ดี” เราควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับข้อมูล, วิธีในการจัดเก็บข้อมูล, เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล และวิธีการดึงข้อมูลกลับมาใช้ เป็นต้น
องค์กรระดับกลางขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอินฟราสตรัคเจอร์และ “ดาต้าเซ็นเตอร์” แยกออกมา ก็เพื่อสามารถที่จะจัดการระบบโครงสร้างไอทีในองค์กรได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีศูนย์ข้อมูล หรือ Data Storage ที่แยกเป็นสัดส่วนออกมาอย่างชัดเจนนั้น จะทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีในองค์กร สามารถที่จะบริหารจัดการข้อมูลสำคัญภายในองค์กรได้ทั้หมด
Lenovo เองมองเห็นถึงประเด็นเรื่องของความสำคัญเกี่ยวกับระบบ Data Storage เป็นอย่างมาก และได้ออกแบบระบบสตอเรจต่างๆ ตั้งแต่ DAS, NAS และ SAN รวมถึงระบบเทปแบ็กอัพสำหรับองค์กรที่จำเป็นต้องใช้การบันทึกข้อมูลแบบเทปอยู่
การบริหารจัดการ Data Storage
ในดาต้าเซ็นเตอร์โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นสถานที่สำหรับรวมศูนย์ระบบไอที ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์, เน็ตเวิร์ก, ระบบการจัดการพลังงาน, รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล ก็ด้วยเช่นกัน องค์กรส่วนใหญ่มักจะเลือกสตอเรจสำหรับจัดการข้อมูล โดยเน้นไปที่พื้นที่การจัดเก็บเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามวิธีการจัดเก็บและการกู้คืนรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ก็ไม่ควรมองข้าม
Lenovo มีผลิตภัณฑ์ด้านสตอเรจที่ออกแบบมาเพื่องานในดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะอยู่หลากหลายรุ่น เป็นสตอเรจที่แยกส่วนการทำงานออกมา โดยสามารถแบ่งตามขนาดองค์กรได้ดังนี้
– องค์กรขนาดย่อมและกลาง : องค์กรขนาดนี้มักจะมีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ยังไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นจึงเหมาะกับสตอเรจในรุ่น Lenovo Storage N4610 และ Lenovo Storage N3310 ซึ่งสตอเรจที่มีการบริหารจัดการแบบศูนย์กลาง เป็นลักษณะแบบแร็ก 2U และ 1U (ตามลำดับ) โดยผู้ดูแลระบบสามารถที่จะใช้ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการที่คุ้นเคยอย่าง Windows Storage Server รวมถึงเทคโนโลยีที่ Lenovo AnyRAID ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ในการออกแบบ, เก็บรักษาข้อมูลตลอดจนการดึงกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
– องค์กรขนาดใหญ่ : ทุกองค์กรในระดับนี้จะมีดาต้าเซ็นเตอร์ที่แยกเป็นสัดส่วนชัดเจน ซึ่งองค์กรบางแห่งนอกจากจะบริหารจัดการระบบไอทีของสำนักงานใหญ่แล้ว ยังต้องดูแลงานไอทีของสำนักงานสาขาต่างๆ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ธนาคารที่มีสาขาเป็นจำนวนมากๆ ดังนั้นการใช้สตอเรจในการเก็บข้อมูล จึงจะต้องพิจารณาถึงการเติบโตของข้อมูล, ความเร็วในการบันทึกข้อมูล, เทคโนโลยีในการสร้าง Virtual Storage เป็นต้น ซึ่ง Lenovo มีสตอเรจในกลุ่ม SAN (Storage-Area Network) มากมาย อาทิ Lenovo Storage S Series, V Series และรวมไปถึงสวิตช์แบบ Fiber ที่ใช้ขุมพลังจากทาง Brocade ซึ่งออกแบบมาเพื่อความเร็วในการจัดการด้านสตอเรจโดยเฉพาะ รวมไปถึงยังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์สตอเรจในรุ่น IBM Storwize ให้เลือกใช้งานทั้ง IBM Storwize V5000 และ V7000 ซึ่งสำหรับองค์กรเอ็นเทอร์ไพรส์ขนาดใหญ่ๆ เลยทีเดียว
และนอกเหนือจากสตอเรจที่ Lenovo มีให้เลือกใช้ทั้งในแบบ DAS, NAS หรือ SAN แล้ว Lenovo ยังพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการทำงานร่วมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ในการสร้างระบบสตอเรจแบบใหม่ในลักษณะที่เรียกว่า “Software Defined Storage” ซึ่ง Lenovo มีให้เลือกในรุ่น DX8200N ทำงานร่วมกับ NexentaStor และรุน DX8200C ที่ทำงานร่วมกับ Cloudian ที่ได้รับรางวัลมากมายรองรับกับดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งในองค์กร และการใช้งานผ่านระบบคลาวด์ ด้วยโซลูชั่นของ NexentaStor และ Cloudian ซึ่งเมื่อผสานเข้ากับตัว Lenovo XClarity ที่รันบน DX8200N และ DX8200C ทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะจัดการกับระบบสตอเรจได้ดีกว่า ทำงานควบคู่กับระบบเดิมที่มีอยู่ในองค์กรได้รวดเร็วและราบรื่น ทำให้องค์กรสามารถขยายสู่โลกของคลาวด์สตอเรจได้ง่ายขึ้น
สรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ Storage Lenovo ในทุกๆ รุ่น สามารถตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น :
– การขยายตัวที่ทำงานได้อย่างง่ายดายผ่านระบบ Software Defined Storage
– มีความสามารถในการรองรับโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์, การทำเวอร์ชวลไลเซชั่น, การใช้งานคลาวด์, การรองรับเทคโนโลยีอย่าง Big Data
– ระบบที่มีความคงทนและเสถียรภาพ พร้อมทั้งงบประมาณที่สมเหตุสมผลสำหรับองค์กร
– และเป็นระบบสตอเรจที่ออกแบบเป็น Enterprise-Class อย่างแท้จริง แม้จะเป็นรุ่นสำหรับกลุ่มองค์กรขนาดย่อมก็ตาม
หากท่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Lenovo Storage ทั้งหมดสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://shop.lenovo.com/gb/en/systems/storage/