เป้าหมายหลักคือการอาศัยช่องโหว่ของเสียงที่เกิดจากการกดแป้นพิมพ์มาเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเดาเนื้อหาข้อความที่กำลังพิมพ์อยู่ ซึ่งกลไกที่ใช้จะอิงข้อมูลอินพุธเป็นเซ็ตชื่อ training ที่ประกอบด้วยเสียงที่บันทึกคู่กับแป้นพิมพ์ที่กดระหว่างบันทึกเสียง
เมื่อใช้ข้อมูลดังกล่าว อัลกอริทึมจะเรียนรู้ได้ว่าเสียงที่แตกต่างกันระหว่างแป้นพิมพ์แต่ละแป้นเป็นอย่างไรบ้าง จนภายหลังสามารถจดจำได้เพียงแค่อาศัยข้อมูลเสียงที่รับฟังอย่างเดียว เซ็ตเทรนนิ่งนี้ค่อนข้างจำเพาะ
โดยรับรู้การติดตั้งเพียงครั้งเดียวกับอุปกรณ์คีย์บอร์ดกับไมโครโฟน พร้อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ภายหลังก็จะทำให้ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้อีก สำหรับทูลปัจจุบันสามารถทำนายข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
ขั้นตอนหลักที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งนั้นได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเทรนนิ่ง, การสร้างโมเดลทำนาย (เป็นขั้นตอนการเรียนรู้), การตรวจจับการกดแป้นพิมพ์, และการทำนายค่าแป้นพิมพ์จากข้อมูลที่ตรวจจับ ซึ่งปัจจุบันจะมองข้ามเสียงระหว่างการกดแป้นพิมพ์แต่ละครั้ง
ที่มา : https://n0where.net/tools-for-capturing-and-analyzing-keyboard-input-paired-with-microphone-capture