คงจะเคยเจอเวลาที่เปิดเว็บไม่ได้ทั้งที่ต่อเน็ตอยู่ แต่ ping IP ออกอินเทอร์เน็ตได้ อารมณ์ว่าติดต่อเซิร์ฟเวอร์ที่ Resolve URL เป็น IP ไม่ได้บ่อยๆ (เปิดเว็บไม่ได้แต่ใช้บริการอย่างอื่นที่ไม่ต้องแปลงชื่อเป็นไอพี เช่น เล่นไลน์ได้) ซึ่งปกติผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็มักส่งหรือให้เราตั้งค่าที่อยู่ไอพีของเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นของเค้าทั้งหมด ทั้ง Primary และ Secondary ซึ่งเวลาล่มก็มักล่มพร้อมๆ กัน (เพราะมาจากที่เดียวกัน)
นอกจากนี้เวลาอยู่ในวงแลนที่เราท์เตอร์จ่าย DHCP มาทั้งเลขไอพีเครื่องโฮส, เกตเวย์, และ DNS Server (ที่มักให้ชี้ไปที่ไอพีของเราเตอร์แทน) เช่น เวลาใช้งานในออฟฟิศหรือบ้านที่คนเยอะๆ เวลา DNS ของผู้ให้บริการล่ม หรือแม้แต่กรณีเราท์เตอร์เกตเวย์รวนจนไม่สามารถติดต่อเซิร์ฟเวอร์ DNS ได้ ก็กลายเป็นว่าเราท่องเว็บไม่ได้ซะงั้น ซึ่งถ้าคนที่พอรู้เรื่องหน่อยก็จะขยันเข้าไปตั้งค่าไอพี DNS เอง เช่น ตั้ง Primary เป็นของ ISP แต่ตั้ง Secondary เป็นไอพียอดฮิตจากกูเกิ้ลอย่าง 8.8.8.8 เพื่อสำรองไว้ เป็นต้น
จริงๆ เหตุผลที่เราควรเลือกหรือเปลี่ยนไปใช้เซิร์ฟเวอร์DNS อื่นนอกจากอันที่ผู้ให้บริการส่งมาให้ใช้นั้น นอกจากเรื่องสำรองการทำงานแล้ว ยังมีเหตุผลเรื่องของความเป็นส่วนตัว (ที่ไม่อยากให้ผู้ให้บริการในประเทศเก็บประวัติการเปิดเว็บของคุณ) การเข้าดูเว็บที่ทางการสั่งบล็อกไว้ และความเร็วในการเชื่อมต่อ หรือแม้แต่ฟีเจอร์อื่นที่คุณคาดไม่ถึงอย่างการบล็อกโฆษณาหรือเว็บอันตรายอีกด้วย อย่าไปนึกว่าทำไมต้องหันไปใช้ของเมืองนอกแทนของไทย มันไม่ช้ากว่าเหรอ เพราะบางทีเซิร์ฟเวอร์เจ้าดังกล่าวอาจจะตั้งอยู่ใกล้ๆ บ้านคุณ หรือใช้การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเสถียรกว่าก็ได้ตัวอย่างไอพีเซิร์ฟเวอร์DNS ที่น่าสนใจและ “ฟรี” มีดังนี้
• GOOGLE: 8.8.8.8 และ 8.8.8.44
ไอพี DNS ยอดนิยมมาเป็นสิบๆ ปี ซึ่งกูเกิ้ลโฆษณามาตลอดถึงข้อดี 3 ประการได้แก่ การท่องเว็บที่รวดเร็วขึ้น, มีความปลอดภัยมากขึ้น, และให้การแสดงผลที่แม่นยำโดยไม่ถูกรีไดเร็กต์แบบผิดๆ และด้วยการที่กูเกิ้ลมีดาต้าเซ็นเตอร์กระจายตามตำแหน่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกมากที่สุดแล้ว ทำให้เซิร์ฟเวอร์DNS นี้เป็นทางเลือกที่ดีมาก และให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงที่สุดไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหนของโลกก็ตาม
• QUAD9: 9.9.9.9 และ 149.112.112.112
เป็น DNS Server ที่เน้นปกป้องเครื่องผู้ใช้จากอันตรายทางไซเบอร์ด้วยการบล็อกเว็บไซต์อันตรายให้แบบอัตโนมัติ แต่เป็นที่สังเกตว่าเป็นการบล็อกแค่โดเมนเท่านั้น ไม่ได้คัดกรองลึกไปถึงเนื้อหาของเว็บแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีบริการ DNS แบบไม่ปิดกั้นอะไรเลยด้วย (9.9.9.10)
• OPENDNS: 208.67.222.222 และ 208.67.220.220
อ้างว่าตนเองมีความเสถียรถึง 100% โดยมีผู้ใช้กว่า 90 ล้านรายทั่วโลก อีกทั้งยังมีหน้าเว็บตั้งค่าที่เรียกว่า OpenDNS Home สำหรับตั้งปรับแต่งการคัดกรองได้ยืดหยุ่นตามต้องการ และชุด DNS สำหรับผู้ปกครองไว้กรองเว็บสำหรับผู้ใหญ่ที่เรียกว่า OpenDNS FamilyShieldด้วย (208.67.222.123, 208.67.220.123)
• CLOUDFLARE: 1.1.1.1 และ1.0.0.1
โฆษณาว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์DNS ที่เร็วที่สุดในโลก และไม่มีการบันทึก Log ไอพีผู้ใช้, ไม่ขายข้อมูลการใช้งานให้คนอื่น, และไม่มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์กับการโฆษณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังทำแอพชื่อ 1.1.1.1 สำหรับทั้งแอนดรอยด์และ iOS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้ง DNS บนอุปกรณ์พกพาด้วย
• CLEANBROWSING: 185.228.168.9 และ 185.228.169.9
เจ้านี้มีทางเลือกDNS หลายแบบ อย่างไอพีชุดข้างต้นเป็นแบบคัดกรองด้านความปลอดภัยพื้นฐานที่ช่วยสกัดกั้นมัลแวร์และเว็บฟิชชิ่ง นอกจากนี้ยังมี DNS แบบกรอง 18+ ออก (185.228.168.10) และแบบที่กั้นทุกอย่างที่ส่อไปในทางไม่ดี เช่น พร็อกซี่, วีพีเอ็น, และเว็บอย่างว่า (185.228.168.168) ด้วย
• VERISIGN: 64.6.64.6 และ 64.6.65.6
โฆษณาว่ามีความเสถียรและปลอดภัยสูง ประกันอัพไทม์100% ชนิดที่ไม่มีวันล่ม และรักษาความเป็นส่วนตัวยิ่งชีวิต ด้วยคำโปรยที่ว่า “เราจะไม่ขายข้อมูลการใช้งานของคุณไปยังเธิร์ดปาร์ตี้ หรือรีไดเรกต์คุณไปยังเว็บโฆษณาอื่น” โดยมีหน้าเว็บสำหรับตรวจสอบข้อมูลแคช DNS ของตัวเอง พร้อมออพชั่นในการล้างประวัติข้อมูลการท่องเว็บของตัวเองบนเซิร์ฟเวอร์ให้เกลี้ยง
• ALTERNATE DNS: 198.101.242.72 และ23.253.163.53
เป็นเซิร์ฟเวอร์DNS ที่ช่วยบล็อกโฆษณาไม่ให้ส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายของคุณ นอกจากนี้ยังมีออพชั่นที่ไว้บล็อกเนื้อหา 18+ ด้วย แต่คิดค่าบริการเดือนละ 8 เหรียญสหรัฐฯ
• ADGUARD DNS: 176.103.130.130 และ 176.103.130.131
มีฟีเจอร์พิเศษในการบล็อกโฆษณาที่แสดงในเกม, วิดีโอ, แอพ, และเว็บไซต์ โดยเฉพาะไอพีอันแรกที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ “ดีฟอลต์” ที่นอกจากโฆษณาแล้วยังสามารถบล็อกเว็บที่มีมัลแวร์และฟิชชิ่งได้ด้วยนอกจากสองไอพีดังกล่าว ยังมีไอพี DNS แบบ “Family Protection”สำหรับผู้ปกครองที่ยังไม่อยากให้บุตรหลานดูเว็บอย่างว่า เป็นต้น
ส่วนตารางล่างด้านล่างนี้ก็เก็บตกมาให้อีกหน่อย เผื่อเป็นทางเลือกให้ใช้กัน
Free & Public DNS Server List | ||
---|---|---|
Provider | Primary DNS | Secondary DNS |
CenturyLink (Level3) | 209.244.0.3 | 209.244.0.4 |
Verisign | 64.6.64.6 | 64.6.65.6 |
8.8.8.8 | 8.8.4.4 | |
Quad9 | 9.9.9.9 | 149.112.112.112 |
DNS.WATCH | 84.200.69.80 | 84.200.70.40 |
Comodo Secure DNS | 8.26.56.26 | 8.20.247.20 |
OpenDNS Home | 208.67.222.222 | 208.67.220.220 |
GreenTeamDNS | 81.218.119.11 | 209.88.198.133 |
SafeDNS | 195.46.39.39 | 195.46.39.40 |
OpenNIC | 198.206.14.241 | 172.98.193.42 |
SmartViper | 208.76.50.50 | 208.76.51.51 |
Dyn | 216.146.35.35 | 216.146.36.36 |
FreeDNS | 45.33.97.5 | 37.235.1.177 |
Alternate DNS | 198.101.242.72 | 23.253.163.53 |
Yandex.DNS | 77.88.8.8 | 77.88.8.1 |
UncensoredDNS | 91.239.100.100 | 89.233.43.71 |
Hurricane Electric | 74.82.42.42 | |
puntCAT | 109.69.8.51 | |
Neustar | 156.154.70.1 | 156.154.71.1 |
Cloudflare | 1.1.1.1 | 1.0.0.1 |
Fourth Estate | 45.77.165.194 | |
CleanBrowsing | 185.228.168.9 | 185.228.169.9 |
Tenta | 99.192.182.100 | 99.192.182.101 |
AdGuard DNS | 176.103.130.130 | 176.103.130.131 |
ที่มา : Lifewire