หน้าแรก Opensource ตามไปดู ข้อดี 6 ประการของการใช้สตอเรจแบบโอเพ่นซอร์ส

ตามไปดู ข้อดี 6 ประการของการใช้สตอเรจแบบโอเพ่นซอร์ส

แบ่งปัน
opensource

ปัจจุบันมีการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์สตอเรจอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาแบบโอเพ่นซอร์สไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ด, การพ่วงบริการซัพพอร์ต, การผนวกรวมแพลตฟอร์ม, การให้บริการเขียนโค้ดผ่านคลาวด์, สถาปัตยกรรมแบบ Microservice, รวมทั้งบริการสตอเรจแบบ Software-Defined ที่เข้ามาเป็นโซลูชั่นหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแทนการใช้โค้ดที่ผูกขาดกับผู้จำหน่ายรายใดรายหนึ่งแบบเดิม

โดยผู้นำตลาดด้านสตอเรจแบบโอเพ่นซอร์สได้แก่ Cephและ Glusterมีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่มาก รวมทั้งการสื่อสารระหว่างนักพัฒนาที่เป็นระบบ, อิงตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก, รวมทั้งให้การสนับสนุนผู้จำหน่ายต่างๆ อย่างเต็มที่ในการพัฒนาโซลูชั่นระดับองค์กรแบบจำหน่ายที่มีฟีเจอร์เพิ่มเติม

ทั้งนี้ ทาง NetworkComputing.com ได้รวบรวมคุณประโยชน์ 6 ประการของสตอเรจแบบโอเพ่นซอร์ส ที่คุณควรพิจารณาเลือกใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ดังต่อไปนี้

1. มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย อย่างเช่น Ceph, Gluster, HDFS, OpenStack Swift ที่มีกลุ่มชุมชนขนาดใหญ่และผู้ผลิตโครงสร้างพื้นฐานไอทีรองรับอย่างกว้างขวาง

2. มีค่าใช้จ่ายต่ำมากด้วยการบังคับกลายๆ ให้ต้องใช้แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์มาตรฐานหรือ COTS ซึ่งให้ทั้งความคุ้มค่า, ประสิทธิภาพ, และความยืดหยุ่นในการติดตั้งร่วมกับโซลูชั่น เช่น แอพพลายแอนซ์ของ Cephสามารถใช้ร่วมกับไดรฟ์SSD ราคาถูกหรือฮาร์ดดิสก์ทั่วไปในกล่อง ARM ขนาดเล็กได้ เป็นต้น

3. หาบริการซัพพอร์ตได้หลากหลาย โดยไม่ถูกผูกขาดจากผู้ผลิตเปลี่ยนความคิดเดิมๆ ที่ว่าโอเพ่นซอร์สไม่มีบริษัทคอยให้บริการอย่างเต็มที่อีกต่อไป เนื่องจากผู้จำหน่ายอุปกรณ์ปัจจุบันมักพ่วงซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สมาให้พร้อมขายไลเซนส์ในการซัพพอร์ตถ้าต้องการ เช่น บริการของ Red Hat ใน Cephอย่างเช่น Storage One ที่รวมเอาสตอเรจแบบจำหน่ายอย่าง Red Hat Glusterเข้ามาอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ด้วย

4. มีชุมชนที่ร่วมกันพัฒนาและให้ความช่วยเหลืออย่างแข็งแกร่ง ที่คอยแนะแนวทางการใช้งานตั้งแต่เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความคิดที่ว่าตนเองก็เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งโปรเจ็กต์ที่ชุมชนออนไลน์มีความเคลื่อนไหวมากเป็นสัญญาณว่าโค้ดดังกล่าวมีคุณภาพที่ดี มีความโปร่งใสในการแก้ไขบั๊กและปัญหาในการใช้งาน

5. มีโซลูชั่นที่แปลกใหม่ออกมาตลอด โดยเฉพาะโปรเจ็กต์สตอเรจขนาดเล็กที่มีกลุ่มชุมชนนักพัฒนาที่มีแรงจูงใจในการให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ซึ่งโปรเจ็กต์ใหม่ขนาดเล็กเหล่านี้มักมีนวัตกรรมใหม่และฟีเจอร์ดีๆ ออกมาเร็วมาก

6. โค้ดมีคุณภาพ มีคนช่วยกันดีบั๊กอย่างรวดเร็วเนื่องจากโค้ดมีความโปร่งใส เปิดเผยทุกเม็ด จึงไม่ค่อยมีการหมกเม็ดซ่อนบั๊กไว้ในแต่ละเวอร์ชั่นที่ออกมาให้ใช้ โดยเฉพาะโค้ดที่ออกมาจากนักพัฒนาตัวท็อปๆ ซึ่งจากกระบวนการพัฒนาแบบ Agile ทำให้เกือบทุกโปรเจ็กต์สามารถแก้ไขบั๊กได้อย่างรวดเร็วมาก

ที่มา : https://www.networkcomputing.com/storage/open-source-storage-6-benefits/545523140