ไม่ว่าจะเป็นอัลกอริทึมที่ใช้กับแอพเรียกรถโดยสารไปจนถึงระบบบริการลูกค้าผ่านบอทเอไอ ก็ต้องถือว่าเทคโนโลยีสมองกลนี้ได้ถูกนำมาใช้ยกระดับการให้บริการได้หลากหลายรูปแบบมากในยุคปัจจุบัน
ซึ่งคำว่า AIOps ในที่นี้มีความหมายว่า ระบบสมองกลสำหรับผู้ที่ทำงานด้านไอที หรือกล่าวถึงแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารพัดประโยชน์ที่สามารถทำงานด้านไอทีได้แบบอัตโนมัติ และยกระดับการทำงานได้ผ่านระบบอนาไลติกและแมชชีนเลิร์นนิ่ง
AIOps ทำงานโดยการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณมหาศาลและหลากหลายที่นำเข้ามาผ่านเครื่องมือด้านไอทีแบบต่างๆ เพื่อที่จะตรวจจับและดำเนินการกับปัญหาทั้งหลายได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกย้อนหลังไปพร้อมกัน
ถ้านำ AIOps มาใช้อย่างเหมาะสมแล้ว จะให้ประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการลดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดหรือไม่สำคัญ ที่ช่วยเร่งความเร็วในการตรวจจับปัญหาและหาแนวทางแก้ไขในด้านการให้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หรือแม้แต่การทลายพรมแดนที่เคยแยกข้อมูลเป็นส่วนๆ ออกจากกัน ทำให้ได้มุมมองภาพรวมที่ครบถ้วนตลอดทั้งระบบไอที ไม่ว่าจะเป็นส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน การประยุกต์ใช้บนเครือข่ายต่างๆ ไปจนถึงระบบสตอเรจ
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ระบบ AIOps ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็วนั้น จำเป็นต้องพิจารณาและตรวจประเมินวิธีการติดตั้งและวางระบบใช้งานอย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งเราควรมองถึงปัจจัย 7 ประการดังต่อไปนี้
1.ไม่ว่าจะเป็นอัลกอริทึมที่ใช้กับแอพเรียกรถโดยสารไปจนถึงระบบบริการลูกค้าผ่านบอทเอไอ ก็ต้องถือว่าเทคโนโลยีสมองกลนี้ได้ถูกนำมาใช้ยกระดับการให้บริการได้หลากหลายรูปแบบมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งคำว่า AIOps ในที่นี้
มีความหมายว่า ระบบสมองกลสำหรับผู้ที่ทำงานด้านไอที หรือกล่าวถึงแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารพัดประโยชน์ที่สามารถทำงานด้านไอทีได้แบบอัตโนมัติ และยกระดับการทำงานได้ผ่านระบบอนาไลติกและแมชชีนเลิร์นนิ่ง
AIOps ทำงานโดยการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลปริมาณมหาศาลและหลากหลายที่นำเข้ามาผ่านเครื่องมือด้านไอทีแบบต่างๆ เพื่อที่จะตรวจจับและดำเนินการกับปัญหาทั้งหลายได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกย้อนหลังไปพร้อมกัน
ถ้านำ AIOps มาใช้อย่างเหมาะสมแล้ว จะให้ประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการลดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดหรือไม่สำคัญ ที่ช่วยเร่งความเร็วในการตรวจจับปัญหาและหาแนวทางแก้ไขในด้านการให้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
หรือแม้แต่การทลายพรมแดนที่เคยแยกข้อมูลเป็นส่วนๆ ออกจากกัน ทำให้ได้มุมมองภาพรวมที่ครบถ้วนตลอดทั้งระบบไอที ไม่ว่าจะเป็นส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน การประยุกต์ใช้บนเครือข่ายต่างๆ ไปจนถึงระบบสตอเรจ
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ระบบ AIOps ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็วนั้น จำเป็นต้องพิจารณาและตรวจประเมินวิธีการติดตั้งและวางระบบใช้งานอย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งเราควรมองถึงปัจจัย 7 ประการดังต่อไปนี้
1. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางระบบ AIOps ที่ต้องทำให้แน่ใจว่าคุณมีพนักงานที่เหมาะสมเข้ามาดูแล ที่เข้าใจเทคโนโลยีและรู้วิธีที่จะประยุกต์มาใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างลงตัว
แต่ถึงแม้คุณจะโชคดีที่ได้คนคุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้มาใช้งาน แต่ก็ควรมองหาพนักงานเพิ่มเติมที่เชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและระบบออโตเมชั่นด้วย แม้พวกเขาจะสามารถทำงานจากระยะไกลก็ตาม
2. บอกกล่าวให้รู้ หนึ่งในเคล็ดลับของการบริหารจัดการธุรกิจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ AIOps ก็คือ การทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่คุณกำลังจะทำ ทั้งกลุ่มผู้ใช้ และผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการวางระบบด้วย
3. เรียนรู้การใช้ประโยชน์จาก AIOps คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงความสามารถของระบบใหม่นี้ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบดังกล่าว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักเป็นการมองหาสิ่งผิดปกติ การโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ การทำให้การแจ้งเตือนแม่นยำขึ้น เป็นต้น
4. ทดสอบและตรวจติดตาม การตั้งค่าและเปิดใช้งานระบบในสเกลเล็กๆ ที่ไม่กระทบกับงานหลักก่อนนั้นจะทำให้ได้ไอเดียในการใช้งานจริงโดยไม่มีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหาย โดยเฉพาะการเลี้ยงกลไกแมชชีนเลิร์นนิ่งในช่วงแรก
5. คอยดูแลสอนการทำงานให้ระบบ ด้วยการกำหนดหน้าที่การทำงานด้านไอทีที่ต้องทำเป็นประจำ ที่ระบบ AIOps สามารถเข้าจัดการหรือทำนายได้อย่างรวดเร็วก่อน เพื่อดูว่า AIOps ทำงานนั้นๆ ได้มีประสิทธิภาพหรือไม่
6. การติดตั้ง หลังจากได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจจากการทดสอบระบบในสถานการณ์หลากหลายแบบแล้ว ก็ถึงเวลาที่ควรติดตั้งระบบในเครือข่ายที่ใหญ่กว่าเดิม โดยอาจตั้งค่าให้ทำงานโหมดทดสอบก่อนในช่วงเริ่มต้นได้
เหตุผลก็คือ เพื่อประกันว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีความแม่นยำ นำไปใช้ประโยชน์โดยผู้ใช้งานที่เราต้องการได้ ในบางกรณีอาจยกระดับการใช้งานด้วยการผสานกับซอฟต์แวร์วิเคราะห์คุณภาพข้อมูลด้วยก็ได้
7. การประเมินและพัฒนา หลังจากนำมาใช้งานจริงหลายสัปดาห์แล้ว ทีมงานของคุณควรร่วมกันพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานของระบบในแง่ของการได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่เคยวางเอาไว้ในช่วงที่เลือกนำระบบเข้ามาใช้ตอนแรก
ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขที่ตรวจวัดได้อย่างการลดจำนวนความผิดพลาดของระบบ ไปจนถึงการสำรวจและบันทึกเสียงตอบรับจากลูกค้า ซึ่งโดยรวมแล้ว AIOps ที่ประสบความสำเร็จควรทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการ
ที่มา : Networkcomputing