หน้าแรก Cloud 7 การคาดการณ์แนวโน้มไอที ปี 2017 โดย อโณทัย เวทยากร MD จาก Dell EMC

7 การคาดการณ์แนวโน้มไอที ปี 2017 โดย อโณทัย เวทยากร MD จาก Dell EMC

แบ่งปัน
อโณทัย
อโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) และรองประธานบริหารภูมิภาคอินโดจีน

หากคุณสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ คุณจะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่? เมื่อเราตั้งคำถามนี้กับกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค 70 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการแข่งขันจากกลุ่มดิจิทัล สตาร์ทอัพ กำลังสร้างแรงจูงใจให้องค์กรธุรกิจหันมาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงความเป็นผู้นำด้านทักษะทางดิจิทัล

ด้วยความเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังมา จึงทำให้ช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเป็นช่วงแห่งความปั่นป่วน ที่ทำให้ทุกอุตสาหกรรม ทุกภาคส่วน และทุกธุรกิจหันมาเปลี่ยนแปลงองค์กรตัวเองกันถ้วนหน้า และคาดว่าจะได้เห็นการปฏิรูปตามมาอีกมากมาย บริษัทที่ก่อตั้งมาอย่างมั่นคงกำลังถูกบรรดาดิจิทัล สตาร์ทอัพทั่วโลก คิดค้นนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้นไปอีก และแซงหน้าไปบริษัทเหล่านี้ไป กว่าครึ่งขององค์กรธุรกิจที่เราได้ทำการสำรวจ ไม่แน่ใจแม้กระทั่งว่าองค์กรของเขาเองจะสามารถอยู่รอดภายใน 3-5 ปีข้างหน้าได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางการปฏิรูปก็คือโอกาส และยังเป็นโอกาสอันมหาศาล สิ่งที่จะกล่าวต่อไปก็คือ แนวโน้มสำคัญ 7 ประการสำหรับปี 2017 ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าแนวโน้มบางอย่างจะเข้ามาเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจ ตั้งแต่ปลายทาง ไปยังศูนย์กลางสำคัญ จนถึงบนคลาวด์

การคาดการณ์ที่ 1 การสร้างสรรค์โลกจินตนาการที่เสมือนจริง (Immersive) ราวกับเกิดขึ้นจริง จะกลายเป็นกระแสหลัก

ปี 2017 จะส่งสัญญาณให้รู้ว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความสร้างสรรค์ที่มุมมองที่เสมือนจริงได้และอีกเพียงไม่นานเกินรอ ในที่สุดแล้ว ผู้สรรค์สร้างก็จะสามารถเข้าถึงขุมพลังที่ทำให้งานสร้างสรรค์เป็นได้ดังจินตนาการนำเทคโนโลยีที่ให้พลานุภาพระดับสูงมาเชื่อมโยงโลกจินตนาการ และโลกความเป็นจริง ซึ่งประชาชนในวงกว้างก็จะได้ใช้เทคโนโลยีที่ว่าในที่สุด ผู้รับเหมาและสถาปนิกจะเดินไปยังไซต์งานของโครงการ และใช้อุปกรณ์ของตัวเองในการดูโมเดลของอาคารได้อย่างเต็มรูปแบบบนพื้นที่จริงก่อนที่เริ่มต้นการก่อสร้างใดๆ ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพ และให้สมรรถนะสูงจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วเพื่อทำให้มองเห็นภาพของงานที่สร้างสรรค์ขึ้นได้ชัดเจน

การคาดการณ์ที่ 2 การมองโลกได้เหนือธรรมชาติที่เป็นจริง

ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คาดว่าเทคโนโลยี VR/AR จะก้าวสู่จุดพลิกผัน สอดคล้องตามข้อมูลจาก IDC ที่ว่า 30 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วเอเชียที่ต้องติดต่อกับผู้บริโภคจะนำ AR/VR มาทดลองใช้เป็นส่วนหนึ่งในงานด้านการตลาดในปี 2017อุปกรณ์แฮนด์-ฟรี จะนำพาผู้คนก้าวสู่โลกคู่ขนาน ซึ่งข้อจำกัดเดียวที่มีก็คือจินตนาการ คนเหล่านี้จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ให้บริการและสานสัมพันธ์กับผู้คนโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับสื่อที่จับต้องได้

VR technology

ในประเทศฟิลิปปินส์ ZipMatch ให้บริการเวอร์ชวลเรียลริตี้แบบ 360 องศา ช่วยให้นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นำเสนออสังหาให้กับผู้ซื้อที่มีศักยภาพ ในรูปแบบที่ให้ประสบการณ์และความน่าสนใจได้มากยิ่งขึ้นไปอีก โดยไม่จำเป็นต้องไปดูของจริง ซึ่งประเทศสิงคโปร์กำลังกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญอย่างรวดเร็ว ในการสร้างเนื้อหา VR เช่นบริษัท TaKanto, Hiverlab และ VizioFly Pokemon Go อาจจะมีผู้เล่นเพิ่มราว 700,000 ต่อวัน แต่ด้วยความพร้อมของ AR และ VR จะทำให้เกมกลายเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่การเล่นเกม

การคาดการณ์ที่ 3: รักษาความปลอดภัยของ HVAC

คุณเคยได้ยินช่างซ่อมรถบอกว่ารถของคุณต้องอัพเดตซอฟต์แวร์ใหม่ไม่อย่างนั้นจะมีโหว่ให้แฮกได้หรือไม่ คุณเข้าใจคำถามไม่ผิดหรอก เพราะในยุคของการเชื่อมต่อกันทั่วโลก อะไรก็ตามที่มี IP แอดเดรส สามารถโดนแฮกได้หมด
คาดว่าการโจมตีรอบนอกเครือข่ายจะขยายตัวมากขึ้นในปีนี้ และจะรุกล้ำไปสู่พื้นที่ธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือระบบเครือข่ายไอที เข้าใจได้ว่าไม่ใช่เพียงข้อมูลของคุณเท่านั้นที่ต้องการการคุ้มครอง แต่ส่วนอื่นๆ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน HVAC (ระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม) กำลังกลายเป็นการตื่นตัวครั้งสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจที่มุ่งไปข้างหน้า ที่จริงแล้ว กลุ่ม “ไซเบอร์ ไฟว์” ของเอเชียแปซิฟิค ที่ประกอบด้วย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น ดูจะมีความเสี่ยงต่อการโดนโจมตีบนโลกไซเบอร์มากกว่าประเทศเศรษฐกิจอื่นๆ ในอาเซียนถึง 9 เท่า อ้างอิงตามข้อมูลจากภาพรวมเกี่ยวกับการป้องกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2016 ของ Deloitte (Deloitte’s 2016 Asia-Pacific Defense Outlook)

การคาดการณ์ที่ 4: 5K และอื่นๆ อีก…

ยุคนี้เป็นยุคที่คนจะพอใจต่อเมื่อได้สิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น ทำไมเป็นเช่นนั้น? นั่นก็เพราะเราเคยชินกับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วในระดับ 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ดังนั้นทีมวิจัยและพัฒนาทั้งหลายต่างทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำกันอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อสร้างความประหลาดใจและความพึงใจให้กับลูกค้า และเมื่อมีคนคิดถึงว่าความละเอียดที่ระดับ 5K กำลังจะเข้ามาแทนที่ 4K ในฐานะของมาตรฐานถัดไปของอุตสาหกรรม จึงทำให้ข่าวลือเรื่องจอแสดงผลขนาดใหญ่ที่มาพร้อมความละเอียดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเริ่มแพร่กระจาย ในปี 2017 ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอย่างมีสีสันของผู้คนก็จะถูกยกระดับขึ้นไปไกลกว่านั้นอีก ถึงขนาดที่อาจทำให้โลกแห่งความเป็นจริงดูหม่นไปได้หากนำมาเปรียบเทียบกัน

5K Display

การคาดการณ์ที่ 5: จะมีตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย IoT เกิดขึ้น

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารในธุรกิจจะเกิดขึ้นเต็มไปหมดทุกที่ ซึ่งตำแหน่งประธานเจ้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัลเคยเกิดขึ้นมาแล้วช่วงหนึ่ง แต่ตอนนี้ เด็กรุ่นใหม่กำลังก้าวสู่การเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย IoT หากถามถึงเหตุผลที่เราจำเป็นต้องมีคนกลุ่มนี้ นั่นก็เพราะบริษัทต่างๆ กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่ก่อตัวขึ้นเพื่อให้ปิดช่องว่างระหว่างการดำเนินงานส่วนปฏิบัติการและไอทีให้ได้ จากข้อเท็จจริงก็คือ ผลวิจัยจากไอดีซีระบุว่าภายในปี 2020 หนึ่งในสี่ของผู้บริหารธุรกิจระดับสูง (C-Level) ในบริษัทอาเซียนจะทำงานในสายงานของบทบาทการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างน้อย 3 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร IoT จะเป็นผู้ที่ทำงานร่วมกับทุกคนในทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับผู้จัดการโรงงาน ไปจนถึง CIO และ CEO เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน คนเหล่านี้จะเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันองค์กรให้ก้าวไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นโลกที่ท่วงทำนองของชีวิตจะดำเนินไปพร้อมกับ อุปกรณ์ต่อเชื่อมเครือข่ายเกือบ 9,000 ล้านชิ้น ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคภายในปี 2020

การคาดการณ์ที่ 6: กันไว้ดีกว่าแก้

ไม่ว่าหมอคนไหนก็คงบอกเหมือนกันว่าการป้องกันคือวิธีการรักษาที่ดีที่สุด และในปัจจุบัน ด้วยระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (machine learning) เราจึงสามารถระบุได้ว่าเมื่อไหร่ที่เทคโนโลยีชิ้นใดจะเกิดการชำรุดก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีการซ่อมแซมตัวเอง (self-healing technology) บริษัทจึงสามารถจัดผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเพื่อดูแลโครงการไอทีเชิงกลยุทธ์ได้ แทนที่จะเสียเวลาไปกับงานบริการซ่อมแซม ซึ่งแพลตฟอร์มด้านการวิเคราะห์บนคลาวด์จะให้ความฉลาดและความสามารถด้านการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ในแบบเรียลไทม์ เพื่อดูแล ตรวจสอบ พร้อมบริหารจัดการในเชิงรุก และช่วยให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพการใช้งานที่ดีตลอดเวลา ไอดีซีทำนายว่าภายในปี 2020 เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ของกระบวนการในการงานส่วนปฏิบัติการจะเป็นระบบซ่อมแซมตัวเอง (self-healing) และเรียนรู้ด้วยตัวเอง (self-learning)

การคาดการณ์ที่ 7: ระบบคอมพิวเตอร์ และลูกแก้วพยากรณ์

การที่บริษัทและคนทั่วไปต่างดิ้นรนเพื่อที่จะจัดการกับปริมาณข้อมูลมหาศาลที่อยู่บนออนไลน์ในตอนนี้ จะไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับอีกต่อไป เพียงแต่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะอีกไม่นานนี้ข้อมูลขนาดมหาศาลจะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ในรูปแ บบใหม่ได้ ในความเป็นจริง การจิจัยของ Ovum ชี้ว่าระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจะกลายเป็นตัวแปรที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนี้จะมีการฝังความสามารถด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ไว้ในซอฟต์แวร์ระดับเอนเตอร์ไพรซ์ หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับผสานและจัดเตรียมข้อมูล เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถคาดการณ์ พร้อมประสานงานเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาได้

pridiction

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ การที่ MIT กำลังพัฒนาสิ่งสุดยอดเกี่ยวกับการคาดเดาพฤติกรรมมนุษย์ นักวิจัยจากสถาบัน MIT เชื่อว่าการตระหนักรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นสิ่งที่ปฏิวัติแวดวงอุตสาหกรรมทำให้ดึงข้อมูลเชิงลึกออกจากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากได้ อาทิ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) ซึ่งสามารถเข้าใจภาพที่รับเข้ามา และอาจจะให้ความสามารถในการนำเสนอแนวทางในการคัดกรองคนเพื่อดูแลเรื่องการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นได้

บทสรุป

ไม่ช้าก็เร็ว ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะเริ่มประยุกต์การเรียนรู้ทั้งในส่วนการทำงานของตัวเองและเรียนรู้สิ่งที่เป็นทัศนภาวะ คือการรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าได้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้จากเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือ หรือโลกเสมือนก็ตาม เหล่านี้คือความน่าตื่นเต้น! บางทีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผมอาจจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคนเขียนเล่าถึงการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อๆ ไปก็เป็นได้!

ผู้เขียน : อโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) และรองประธานบริหารภูมิภาคอินโดจีน