ไม่ว่าจะอยากเอาดีกับทักษะเฉพาะด้านอันไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญอยู่เสมอก็คือการพึงระลึกว่ ทักษะใดๆ ที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมนั้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์กที่แข็งแกร่งรองรับไว้ก่อนเสมอ
และสำหรับการเป็นแอดมินเน็ตเวิร์กในปี 2020 นี้ ย่อมจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะที่ก้าวล้ำไปกว่า “ทักษะที่ใช้ในหน้าที่หลัก” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเราท์ติ้ง, สวิชชิ่ง, WiFi, การเข้าถึงจากระยะไกล, และการรักษาความปลอดภัยให้อุปกรณ์ระดับพื้นฐาน
แต่ผู้ที่มีพื้นฐานเหล่านี้ครบถ้วนแล้ว ก็อาจจะเริ่มสงสัยว่าควรเอาดีกับทักษะเฉพาะด้านอันไหนกันแน่ ที่ไม่เพียงแค่สนุกและน่าสนใจสำหรับตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมากด้วยเป็นที่ต้องการในตลาดเป็นอย่างมากด้วย ซึ่งตอนนี้มีทักษะอยู่ 6 ด้านที่เหล่าองค์กรทั้งหลายไขว่คว้ากันอยู่ดังนี้
ด้านความปลอดภัยเครือข่าย (Network security)
ขณะที่ผู้ที่ทำงานด้านไอทีจำนวนมากพยายามฝึกทักษะด้านความปลอดภัยทางไอทีที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดนั้น ตัวคุณเองอาจเลือกเชี่ยวชาญเฉพาะด้านย่อยๆ ในกลุ่มของความปลอดภัยทางไอทีแทน
เนื่องจากโลกของความปลอดภัยด้านไอทีนั้นมีความก้าวหน้าและขยายการครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการยากที่จะเชี่ยวชาญไปหมดทุกอย่าง บางทีทางเลือกที่ดีกว่าอาจจะเป็นการให้ความสำคัญกับเครื่องมือหรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใช้ปกป้องเครือข่าย เป็นต้น
ด้านออโตเสชั่น การผสานการทำงาน และสื่อสารการทำงานระหว่างกันบนเน็ตเวิร์ก (Network automation, integration, and interoperation)
ข่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน แอดมินเครือข่ายมักไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรมมากมายนัก เนื่องจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้านเน็ตเวิร์กมักถูกผูกขาดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งโดยธรรมชาติ
แอดมินมักตั้งค่าระบบได้จำกัดแค่เท่าที่ผู้ผลิตเปิดทางให้เท่านั้น แต่ในทศวรรษล่าสุดนี้ ลูกค้าเริ่มมองหาทางเลือกอื่นที่เป็นโอเพ่นซอร์ส ที่ให้ความยึดหยุ่นกับอุปกรณ์เครือข่ายทั้งด้านการประสานการทำงาน ออโตเมชั่น และในแง่ของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง
การสื่อสารแบบยูนิฟายด์ (Unified communications)
ความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารแบบยูนิฟายด์หรือ UC ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโยกระบบ UC จากในบริษัทขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ ไปจนถึงความก้าวหน้าของการสตรีมมิ่งวิดีโอและทูลคอลลาบอเรต
รวมไปถึงการผสานระบบสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้าหรือ CX ที่มี AI อยู่เบื้องหลัง ทำให้ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ UC รวมทั้งมีพื้นฐานด้านเครือข่ายระดับองค์กรที่แข็งแกร่ง
ด้านการมองเห็นเครือข่าย (Network visibility)
แอดมินส่วนใหญ่มักมีพื้นฐานในด้านการตรวจสอบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ SNMP, Syslog, และ NetFlow/IPFIX ที่ช่วยให้แอดมินประสานทุกอย่างจนได้มุมมองพื้นฐานของเครือข่ายที่ไม่ได้มีระบบศูนย์กลางตรวจสอบควบคุม แต่ก็มักสร้างช่องโหว่จนทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยได้
ด้านการเชื่อมต่อผ่าน WAN และระบบคลาวด์ (WAN/Cloud connectivity)
เนื่องจากการใช้อุปกรณ์ IoT เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน ที่จะสร้างการเชื่อมต่อบนเครือข่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้ทางแอดมินและสถาปนิกเครือข่ายจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายที่ไม่ได้รวมอยู่ในศูนย์กลางอีกต่อไป
สำคัญสุดคือความรู้พื้นฐาน
ไม่่ว่าคุณจะเชี่ยวชาญไปในด้านไหนก็ตาม แต่เหนืออื่นใดเลยคือ คุณจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านเน็ตเวิร์กให้แน่นเปี๊ยะ ซึ่งเมื่อทราบพื้นฐาน ทราบถึงโครงสร้างต่างๆ มีแบ็กกราวด์ที่ดี นั่นแหล่ะจะทำให้คุณสำเร็จในทักษะอื่นๆ ได้ไม่ยาก
ที่มา : Networkcomputing