พนักงานและยูสเซอร์ส่วนใหญ่มักจะถูกมองว่าเป็นจุดที่เปราะบางที่สุดในกระบวนการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ปกติแล้วพนักงานหลายๆ คนอาจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญขององค์กร ซึ่งบางทีหากเกิดข้อผิดพลาดที่อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เป็นไปได้ที่จะสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้
แต่อย่างไรก็ตามหากคุณอบรมทำความเข้าใจกับพวกเขาดีๆ ก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง แต่ในทางกลับกันหากองค์กรละเลิยประเด็นนี้ มันอาจจะกลายเป็นหายนะดีๆ นี่เอง
เรามาลองดูขั้นตอนสำคัญห้าประการในการป้องกันข้อมูล จากภัยที่อาจจะเกิดจากคนในว่ามีอะไรกันบ้าง
1) กำหนดนิยามให้ชัด
องค์กรจำต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของระบบความปลอดภัย มันจะช่วยทำให้องค์กรสามารถกำหนดโปรแกรมด้านระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลให้ดีขึ้น เป็นขั้นตอนแรกที่จะทำให้เรามองเห็นและโฟกัสอยู่กับนโยบายและความสำคัญรวมถึงมาตรฐานที่จำเป็นต่างๆ
2) การตระหนักรู้
ต้องตระหนักให้ถ่องแท้ว่า ข้อมูลจะต้องถูกจัดเก็บในส่วนที่มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งการที่จะสร้างระบบที่แข็งแกร่งในการป้องกันข้อมูลได้ ควรรจะต้องทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของข้อมูล เมื่อเราเข้าใจมันแล้ว เราก็จะสามารถจัดประเภทของข้อมูลได้ดีขึ้น ชี้ให้เห็นได้ว่าข้อมูลสำคัญมากควรจะป้องกันอย่างไร ข้อมูลสำคัญรองลงมาจะมีวิธีจัดการอย่างไร เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ระบบความปลอดภัยที่ดีตามไปด้วย
3) วางรากฐานระบบความปลอดภัย
การประเมินขั้นต้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันข้อมูลที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะระบุช่องว่างระหว่างระบบความปลอดภัยและช่องโหว่ ซึ่งถ้าหากไม่มีการประเมินที่ดี องค์กรก็จะไม่สามารถสร้างระบบความปลอดภัยที่แข็งแกร่งได้เลย ดังนั้นควรจะมีการวิเคราะห์ระบบและฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยในปัจจุบันเสียก่อน และค่อยหาโซลูชั่นที่เหมาะสมต่อไป
อ่านข่าว : [บทความสั้น] Firewalls 101 : แนวทาง 5 ประการ ในการเลือกไฟร์วอลล์ให้ตรงใจคุณ
4) การวางระบบความปลอดภัย
ณ จุดนี้ องค์กรจะต้องหันมาจริงจังกับการสร้างหรือใช้งานโซลูชั่นสำหรับการป้องกันข้อมูลลงไป จะต้องกำหนดโซลูชั่นที่ไปตอบโจทย์ช่องว่างที่เราประเมินเอาไว้ในช่วงแรก และสุดท้ายก็จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันข้อมูลที่จำเป็นได้ด้วยโซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุด
5) คอยตรวจตรา
ทุกๆ วันข้อมูลต่างๆ จะถูกสร้างขึ้นมา บางทีก็มีการเคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งภายในองค์กร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องวางระบบการมอนิเตอร์ข้อมูลที่เกิดขึ้นมาใหม่และทำการจัดประเภทความสำคัญมัน ซึ่งอันนี้ก็จะขึ้นอยู่ในแต่ละองค์กรว่า มีกระบวนการอย่างไร การมอนิเตอร์และทำระบบเช็กลิสต์ต่างๆ ก็จะช่วยป้องกันข้อมูลในระยะยาวได้
บทสรุป
องค์กรที่ข้อมูลถูกโจรกรรมไปนั้น ไม่ใช่แค่เป็นการสูญเสียข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึงการเสียชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน ทั้งนี้ก็รวมไปถึงความไว้วางใจและความมั่นคงอีกด้วย เราเชื่อว่าการที่คุณได้ทำตามขั้นตอนแนะนำเหล่านี้ น่าจะช่วยให้คุณวางแผนในการป้องกันข้อมูลได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย
ที่มา : https://cyware.com/news/five-steps-to-protect-critical-data-from-insider-threats-3ba41c43