Ubuntu นับเป็นลีนุกซ์ดิสโทรหนึ่งที่ใช้งานได้ง่าย เหมาะกับผู้เริ่มเข้าวงการที่อยากมาเรียนรู้โอเอสอื่นนอกจากวินโดวส์ แม้จะมีหน้าตาอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกที่คุ้นเคย แต่การจะเข้าถึงความเป็นลีนุกซ์ที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องฝึกและใช้ประโยชน์จากคอมมานด์ไลน์ให้คล่องมากกว่า ดังนั้นเราจึงรวบรวมคำสั่งพื้นฐานบน Ubuntu 20 คำสั่งที่ผู้เริ่มต้นควรรู้เอาไว้ดังต่อไปนี้
*หมายเหตุ คำสั่งบนคอมมานด์ไลน์ส่วนใหญ่นั้นมีพารามิเตอร์ที่ละเอียดยิบย่อยมากมาย แต่ในขั้นพื้นฐานนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการใช้งานเบื้องต้นเท่านั้น
1. mkdir (Make Directory) คำสั่งพื้นฐานในการสร้างโฟลเดอร์ใหม่ หรือสร้างโฟลเดอร์ย่อยทากในโฟลเดอร์หลักอีกทีหนึ่ง เพียงพิมพ์คำว่า mkdirแล้วเว้นวรรค ตามด้วยชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการสร้าง เช่น mkdir test จะเป็นการสร้างโฟลเดอร์ชื่อ test บนไดเรกทอรีปัจจุบัน
2. ls (List) เขียนว่า แอล เอส เป็นคำสั่งที่ย่อมาจากคำว่าลิสต์ มีความหมายตรงตัวในการลิสต์หรือแสดงรายการทุกอย่างที่อยู่บนไดเรกทอรีปัจจุบันที่ทำงานอยู่
3. cd (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้เปลี่ยนตำแหน่งย้ายไปทำงานบนไดเรกทอรีอื่นที่ต้องการ ซึ่งถือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากๆ ที่ทุกคนต้องใช้ถึงทำงานบนคอมมานด์ไลน์ได้ เพียงแค่พิมพ์ cd แล้วตามด้วยชื่อไดเรกทอรีที่ต้องการ แต่มีพารามิเตอร์หรืออากิวเมนต์ย่อยพื้นฐานที่ควรจำไว้บ้างได้แก่ cd /test หมายถึงการเปิดไดเรกทอรี test ที่อยู่บนรูทไดเรกทอรี (ถ้าไม่ใช้เครื่องหมาย / ระบบจะหาโฟลเดอร์ชื่อ test ที่อยู่บนไดเรกทอรีปัจจุบันแทน) ส่วน cd ..เป็นการย้ายขึ้นมายังไดเรกทอรีแม่อีกลำดับหนึ่ง และ cd –เป็นการย้ายไปที่ไดเรกทอรีหน้าหลัก
4. cp (Copy) จริงๆ แล้วย่อมาจากคำว่า คัดลอกแล้วแปะ (Copy and Paste)ซึ่งมีประโยชน์มากในการจัดระเบียบไฟล์บนคอมพิวเตอร์ ใช้พารามิเตอร์ที่เป็นชื่อไฟล์ และตำแหน่งปลายทางที่ต้องการคัดลอกไฟล์ไปเก็บไว้ ซึ่งถ้าการคัดลอกหรือวางไฟล์ในตำแหน่งดังกล่าวจำเป็นต้องใช้สิทธิ์ระดับรูท ก็ต้องหันไปใช้คำสั่ง des แทนตัวอย่างเช่น cp t1/* t2 จะเป็นการคัดลอกทุกไฟล์ที่อยู่ในไฟล์เดอร์t1 ไปยังโฟลเดอร์ t2
5. sudo (SuperUserDo) เป็นคำสั่งที่แปลตรงตัวว่า เป็นการสั่งคำสั่งในฐานะซุปเปอร์ยูสเซอร์ผู้มีสิทธิ์มากกว่า หรือมีสิทธิ์ต่างจากผู้ใช้ปัจจุบัน มักใช้ในการพิมพ์คำสั่งที่ต้องการสิทธิ์ในฐานะรูท (กรณีที่คุณไม่ได้ใช้งานในฐานะรูทอยู่) ด้วยการพิมพ์คำว่า sudoก่อนชุดคำสั่งตามปกติ เช่น sudo service apache2 restart เป็นการสั่งรีสตาร์ทเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยใช้สิทธิ์ระดับรูท ซึ่งการใช้ sudoครั้งแรกระบบมักให้กรอกรหัสผ่านของผู้ใช้ระดับรูทก่อน
6. rm (Remove) ใช้ลบได้ทั้งไฟล์และไดเรกทอรีออกจากตำแหน่งปัจจุบัน โดยจำเป็นต้องใช้พารามิเตอร์ -f ถ้าต้องใช้สิทธิ์ระดับรูท และพารามิเตอร์ -r ถ้าต้องการลบเนื้อหารวมทั้งโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดในโฟลเดอร์ดังกล่าวด้วย เช่น rm -rf t2 จะเป็นการลบไดเรกทอรี t2 พร้อมเนื้อหาด้านในทั้งหมดออกจากไดเรกทอรีปัจจุบัน
7. find (find) ใช้ค้นหาตำแหน่งของไฟล์ที่ต้องการ เพียงพิมพ์ find ตามด้วยคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหา เช่น find t1 ก็จะแสดงทุกอย่างที่เกี่ยวข้องหรือมีคำว่า t1 อยู่ ทั้งไฟล์และไดเรกทอรีที่อยู่บนไดเรกทอรีปัจจุบัน
8. poweroff (Poweroff Computer) คำสั่งสำหรับใช้ปิดเครื่องผ่านเทอมินัลของ Ubuntu โดยไม่ต้องกดปุ่มปิดเครื่องเอง ซึ่งปกติต้องการสิทธิ์ระดับรูท จึงควรใช้คำสั่ง sudoนำหน้าทุกครั้ง
9. cat (concatenate) เป็นคำสั่งสำหรับตรวจหาข้อความหรือโค้ดคำสั่งที่อยู่ในไฟล์ต่างๆ เช่น cat hello.txt ก็จะเป็นการแสดงเนื้อหาในไฟล์ hello.txt
10. pwd (Present Working Directory) ไว้แสดงชื่อไดเรกทอรีปัจจุบันที่ทำงานอยู่
11. mv (Move/rename) ใช้ย้ายไฟล์ไปยังไดเรกทอรีอื่น หรือแม้แต่เปลี่ยนชื่อไฟล์ ซึ่งกรณีหลังต้องพิมพ์ทั้งชื่อไฟล์เก่าและชื่อไฟล์ใหม่ด้วย
12. rmdir (Remove Directory) ใช้ลบไดเรกทอรีที่ต้องการ
13. touch (สร้างไฟล์เปล่า) คล้ายกับคำสั่ง mkdirที่ใช้สร้างไดเรกทอรีเปล่า ตัวอย่างเช่น touch empty.txt ก็จะเป็นการสร้างไฟล์ชื่อ empty.txt บนไดเรกทอรีปัจจุบัน
14. apt-get (ดาวน์โหลด ติดตั้ง และอัพเดทซอฟต์แวร์) ใช้เวลาติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งมักต้องใช้คู่กับคำสั่ง sudoเนื่องจากต้องการสิทธิ์ระดับรูท เช่น apt-get install apache2
15. free (ตรวจสอบแรมที่ว่างอยู่) ใช้เช็คปริมาณหน่วยความจำที่ว่าง และที่ถูกใช้งานอยู่
16. df (ตรวจเนื้อที่ว่างบนดิสก์) ใช้ตรวจสอบเนื้อที่ว่างบน Ubuntu นิยมใช้ร่วมกับพารามิเตอร์ -h
17. chmod (เปลี่ยนโหมดการอนุญาต) ใช้เปลี่ยนสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์หรือไดเรกทอรีที่ต้องการ ทั้งสิทธิ์การอ่าน (Read) เขียน (Write) และการรัน (Execute) โดยใช้คำสั่ง chmodตามด้วยชุดตัวเลขสามหลัก และชื่อไฟล์หรือไดเรกทอรี เช่น chmod 755 test2
18. du (Directory Usage) แสดงขนาดไดเรกทอรีปัจจุบันและไดเรกทอรีย่อย
19. Service (รันสคริปต์ System V) ใช้รัน, สั่งหยุด, หรือเริ่มการทำงานของสคริปต์เริ่มต้นระบบ System V ใหม่ที่เก็บไว้ใน inside/etc/init.dเช่น service apache2 restart
20. (ชื่อคำสั่ง) –help ไว้แสดงวิธีการใช้งานคำสั่งดังกล่าว พร้อมพารามิเตอร์ที่ใช้ได้อย่างละเอียด
ที่มา : Technofication