หน้าแรก Advertorial รวม 10 ของใหม่ด้านเทคโนโลยีที่สุดคูล และสุดเฉิ่มประจำปี 2018

รวม 10 ของใหม่ด้านเทคโนโลยีที่สุดคูล และสุดเฉิ่มประจำปี 2018

แบ่งปัน

เมื่อเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2018 ย่อมหนีไม่พ้นการมองย้อนกลับไปดูเรื่องราวที่น่าสนใจที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ใกล้ตัว ที่มีทั้งเรื่องที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ ทั้งทางดีและทางที่ไม่ดีเท่าไรให้เราศึกษาเป็นบทเรียนไว้ 10 เรื่องดังต่อไปนี้

1. โดรนส่งกาแฟ

ฝีมือของยักษ์ใหญ่ด้านไอที IBM ที่ยื่นจดสิทธิบัตรโดรนส่งกาแฟที่ใช้เซ็นเซอร์แบบไฮเทค ทำงานด้วยการเสียบแก้วกาแฟบนโดรนขนาดเล็ก (ในภาพเสียบได้ 4 แก้วพร้อมกัน) เพื่อบินไปเสิร์ฟในจุดที่ลูกค้าอยู่ หรือแม้แต่นำกาแฟบินไปเสนอขายใหคนที่อยู่ตามท้องถนนได้ด้วยพร้อมมีการรวบรวมข้อมูลกิจวัตรประจำวันของผู้ดื่มเช่น ตำแหน่งที่ตั้งและเวลาที่ขายได้ อย่างลูกค้ามักชอบซื้อกาแฟมาดื่มให้หายง่วงช่วงบ่ายสาม ก็จะบินไปเสนอขายในแหล่งชุมชนดังกล่าวในช่วงเวลานั้นๆ อย่างชาญฉลาด

2. ความอัปยศของการจัดการความปลอดภัยของสนามบิน

เป็นกรณีของกรุงลอนดอนที่มีชื่อเสียง เมื่อมีคนเก็บธัมม์ไดรฟ์ระหว่างเดินไปห้องสมุดตามปกติ พอลองเปิดดูในคอมพ์ด้วยความอยากรู้อยากเห็นก็กลับพบข้อมูลสำคัญระดับชาติอย่างพิมพ์เขียวของสนามบินฮีทโทรว์ พร้อมข้อมูลการรักษาความปลอดภัย, ช่องทางพิเศษที่ใช้พาแขกระดับวีไอพีไปจนถึงระดับพระราชินี, พิกัดกล้องวงจรปิดทุกซอกทุกมุม, ไปจนถึงอุโมงค์และช่องทางลับสำหรับหนีภัย จนทำให้คณะกรรมการดูแลการจัดการข้อมูลแห่งชาติสั่งปรับสนามบินมากถึง 154,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งฟากสำนักข่าวอย่าง The Register ออกมาแฉว่า ICO พบพนักงานแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นจากทั้งหมด 6,500 คนของสนามบินฮีทโทรว์ที่ผ่านการอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งตำหนิอย่างแรงที่ละเมิดกฎการให้พนักงานจัดเก็บข้อมูลสำคัญลงในสื่อส่วนตัวที่ไม่ได้รับอนุญาต

3. แม้แต่เครื่องบินรบก็โดนแฮ็กได้

ที่ผ่านมามีรายงานช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของเครือข่ายที่คอยสนับสนุนการบินของเครื่องบินรบกองทัพสหรัฐฯ อย่างเช่น Lockheed Martin F-35 Lightning IIที่เป็นเครื่องบินควบคุมด้วยซอฟต์แวร์เป็นหลัก มีการสื่อสารกับระบบข้อมูลการบินอัตโนมัติหรือ ATIS ภาคพื้นดินที่มีโอกาสโดนแฮ็กข้อมูล รวมไปถึงระบบที่เกี่ยวกับข้อมูลเซ็นเซอร์และอาวุธด้วย

4. ขบวนการหลอกลวงทางอีเมล์

ที่รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯทาง FBI ระบุว่า การโจมตีด้วยการหลอกลวงผ่านอีเมล์ทางธุรกิจหรือ BEC สร้างความเสียหายรวมแล้วถึงปัจจุบันมากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แถมมีเหยื่อจำนวนมากกว่า 80,000 รายตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยแค่ 3 ปี มีอัตราเติบโตสูงมากถึง 136 เปอร์เซ็นต์ กินบริเวณความเสียหายทั่วทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ และในอีก 150 ประเทศ อีกทั้งพบการโอนเงินให้อาชญากรกระจายไปกว่า 150 ประเทศด้วย

5. เทคโนโลยีการประมวลผลด้วยควอนตัม

Gartner กล่าวในงาน Symposium/IT Expo ที่ผ่านมาว่า Quantum Computing หรือแม้แต่บริการประมวลผลแบบควอนตัม จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น อันนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งในด้านยานยนต์, การเงิน, ประกันภัย, เภสัชกรรม, การทหาร, หรือด้านการวิจัย

6. กระจกที่เก็บข้อมูลบุคคลไปประมวลผลผ่านเอไอ

ทางมหาวิทยาลัยกรุงเมลเบิร์นได้พัฒนากระจกอัจฉริยะที่เรียกว่า Biometric Mirror ที่ใช้ AI ตรวจจับและวิเคราะห์ลักษณะทั้งทางกายภาพ (อายุ เพศ ฯลฯ) และบุคลิกภาพ (อารมณ์ ความน่าดึงดูดจากเพศตรงข้าม) ตามลักษณะที่พบบนใบหน้าทางผู้วิจัยมองว่าเป็นก้าวสำคัญในการหันมาใช้ AI กับสิ่งที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

7. ส้วมบลูทูช

จากงาน CES เมื่อต้นปีนั้น ทาง Kohler Numi ได้เปิดตัวโถชักโครกที่ติดตั้งระบบให้แสงสีต่างๆ พร้อมซิงค์เพลงแบบไร้สายผ่านบลูทูช พร้อมๆ กับที่รองนั่งและแผ่นรองเท้าที่ปรับอุณหภูมิให้อุ่นสบายไปได้ด้วยพร้อมกัน แค่เอาอุปกรณ์พกพามาต่อพ่วงด้วยบลูทูชเท่านั้น

8. ระบบเอไอที่อัจฉริยะขึ้นอีกระดับ

เมื่อทางหน่วยงานด้านพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของกลาโหมหรือ DARPA เปิดตัวระบบความปลอดภัยที่ทำงานร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์หรือ CHESS ที่เน้นความร่วมมือระหว่างเอไอกับมนุษย์ในการเร่งความเร็วการค้นหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ที่บางครั้งยังจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการตัดสินใจหรือสังเกตของมนุษย์ร่วมด้วย

9. แผนการยิงดาวเทียมของ Elon Musk

แผนการยิงดาวเทียมเกือบครึ่งหมื่นขึ้นไปเหมือนเป็นกลุ่มดาวบนท้องฟ้าของ Elon Musk หลังจากได้รับการอนุมัติจากทาง FCC ในการสร้างดาวเทียมเพิ่มอีก 7,518 ตัวยิงขึ้นอวกาศเพื่อสร้างเป็นกลุ่มดาวเทียมที่เรียกว่า StarLink ที่คาดว่าจะมีรวมกันอยู่มากกว่า 12,000 ดวงได้ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัท SpaceX ของตนเอง เพื่อเร่งความเร็วในการสื่อสารผ่านดาวเทียม

10. ผู้ก่อตั้ง WWW ออกมาเรียกร้องการท่องเว็บที่มีความเป็นส่วนตัว

เมื่อ Sir Tim Berners-Lee ผู้ร่วมก่อตั้ง World Wide Web ออกมากล่าวย้ำความตั้งใจที่ต้องการให้ผู้ใช้สามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวข้อมูลบนเว็บได้ด้วยตนเองผ่านโปรเจ็กต์โอเพ่นซอร์สที่ชื่อ Solid ที่ช่วยดึงการใช้งานบนเว็บกลับสู่สมดุล ให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลตนเองได้อย่างสมบูรณ์และเป็นอิสระ

ที่มา : Networkworld