นักวิจัยจาก IBM ได้พบก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีไอทีของโลก จากการค้นพบวิธีบรรจุข้อมูลลงในอะตอมเดี่ยว ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญ
หลังจากก่อนหน้าที่มีนักวิจัยอีกกลุ่มคิดค้นการนำข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งระบบปฏิบัติการ, ภาพยนตร์, ข้อมูลกิฟการ์ดของอเมซอน, รายงานการศึกษาขนาดมหึมา, หรือแม้แต่ไวรัสคอมพิวเตอร์ บรรจุลงในสาย DNA มาแล้ว
ผลการวิจัยครั้งนี้ได้มีการแถลงขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยเทียบการบรรจุข้อมูลลงฮาร์ดไดรฟ์แบบปกติที่ต้องใช้อะตอมกว่า 100,000 ตัวต่อข้อมูลหนึ่งบิต หรือคือข้อมูลเลข 0 หรือ 1 ขณะที่วิธีใหม่นี้สามารถบรรจุข้อมูลหนึ่งบิตเท่ากันนี้ลงในอะตอมเพียงแค่ตัวเดียวได้ นั่นคือ เราจะสามารถประหยัดพื้นที่บรรจุข้อมูลได้มากกว่าปัจจุบันกว่าหลายพันเท่า
รายละเอียดการค้นพบครั้งนี้มีเขียนอธิบายในเจอร์นัล Nature ซึ่งผลงานนี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ด้านนาโนเทคกว่า 35 ปีของ IBM โดยเฉพาะการนำกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์หรือ STM ที่ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว มาใช้สร้างฮาร์ดไดรฟ์แบบอะตอมในครั้งนี้
อะตอมที่ใช้เป็นธาตุหายากอย่าง Holium โดยนำมาวางบนพื้นผิวแมกนีเซียมออกไซด์อย่างระมัดระวัง แล้วใช้การวางตัวหมุนขั้วบวกและลบทางสนามแม่เหล็กเป็นการบอกข้อมูลบิตดังกล่าวว่าเป็น 0 หรือ 1
ที่มา : http://thehackernews.com/2017/03/atom-data-storage.html