แม้ระบบไวร์เลส คอนโทรลเลอร์แบบส่งสัญญาณควบคุมลงมาจากคลาวด์ผ่านอินเทอร์เน็ตจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ดูตื่นตสตื่นใจ เต็มไปด้วยประโยชน์มากมาย แต่ก็อาจไม่สามารถแทนที่อุปกรณ์คอลโทรลเลอร์แบตั้งสถิตย์ในองค์กรได้ในบางกรณี โดยเฉพาะกรณีที่คุณมีระบบเดิมอยู่และไม่อยากลงทุนเพิ่ม
ประโยชน์ของระบบ WLAN แบบ Cloud-managed ที่สำคัญเลยคือความยืดหยุ่น และง่ายในการติดตั้ง เหมาะกับบริเวณที่ตั้งที่หลากหลายทางภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก การเพิ่มหรือลดจำนวนก็ทำได้ง่าย ไร้ขีดจำกัด เพราะคอนโทรลเลอร์ที่เป็นอุปกรณ์อย่าง Cisco 5500 ยังรองรับแอคเซสพอยต์ได้มากสุดแค่ 500 ตัว ไม่งั้นคุณก็ต้องซื้อคอนโทรลเลอร์เพิ่มหรืออัพเกรดรุ่นใหม่
อีกประโยชน์ที่เหนือกว่าแบบ On-premise ชัดๆ เลยคือ การฝากภาระในการจัดการทั้งหมดให้ผู้ให้บริการแทน ไม่ต้องมาคอยเสียเวลาดูแลอัพเดตหรือติดตั้งแพ็ตช์ให้อุปกรณ์ด้วยตัวคุณเอง เพียงแค่คุณตั้งกรอบเวลาในการตรวจสอบอัพเดตแต่ละครั้งเท่านั้น ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในการประหยัดทรัพยากรและเวลาเป็นอย่างมาก ที่หลายคนยังมองข้ามไป
อ่านข่าว : 7 เทคนิคง่ายๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพเราเตอร์ของคุณ
แต่คุณอาจไม่สามารถไปฝากชีวิตกับเทคโนโลยีจัดการ AP ผ่านคลาวด์แบบใหม่นี้ได้ ถ้ายังมีข้อจำกัดบางประการ อย่างแรกเลยคือ ถ้าคุณมีคอนโทรลเลอร์และ AP เดิมอยู่ครบเซ็ต ใช้สบายไม่มีปัญหาอยู่ ถ้าจะอัพเกรดระบบก็คงอยากแค่เปลี่ยนแอคเซสพอยต์ใหม่เป็นแบบที่รองรับมาตรฐานล่าสุดอย่าง 802.11ac ได้ ซึ่งคอนโทรลเลอร์ส่วนใหญ่ที่เคยรองรับ 802.11n ก็รองรับ 802.11ac อยู่แล้ว มองในแง่การลงทุนก็อาจยังไม่จูงใจพอที่จะยกเครื่องเปลี่ยนทั้งระบบ
นอกจากนี้ บางองค์กรอาจต้องการปรับแต่งแอคเซสพอยต์แต่ละตัวอย่างละเอียด ซึ่งปัจจุบันระบบคอนโทรลเลอร์ผ่านคลาวด์ก็ยังไม่รองรับการปรับแต่งที่ละเอียดยิบย่อยได้เท่า
สาเหตุอย่างที่สามคือ การใช้เสาอากาศแบบแปลกประหลาด ซึ่งก็จำเป็นในหลายกรณี เช่น สภาพแวดล้อมภายในตึกที่เต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง เป็นต้น ปัญหาคือระบบจัดการผ่านคลาวด์มักยังไม่รองรับทั้งแอคเซสพอยต์และเสาอากาศที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
สุดท้าย ระบบจัดการผ่านคลาวด์ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตที่เสถียรตลอดเวลา ถ้าองค์กรของคุณยังไม่สามารถไว้ใจระบบอินเทอร์เน็ตที่เดี๋ยวล่ม เดี๋ยวดับโดยเฉพาะหน้าฝนแบบนี้ด้วยแล้ว ก็อาจไม่สามารถไว้วางใจระบบผ่านคลาวด์ได้