มหาวิทยาลัยทั่วโลก กำลังเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล ดังนั้นการผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ากับระบบเครือข่าย และบริการแบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้คุณภาพในการเข้าถึงระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยดีขึ้น เพื่อเสริมศักยภาพความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างความคล่องตัวให้กับระบบการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น
การก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิตอล นับเป็นความท้าทายใหม่ที่ฝ่ายไอทีจะต้องบริหารจัดการ ซึ่งพวกเขาจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสร้างการบริหารจัดการกับปริมาณข้อมูลดิจิตอลที่มีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาหลายหมื่นคนหรือมากกว่านั้น ซึ่งจะมีปริมาณการติดต่อสื่อสารและข้อมูลเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ในปี 2015 มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง (The Hong Kong Polytechnic University) ได้พยายามสร้างทีมทำงานด้านดิจิตอลของมหาวิทยาลัย หรือ UDW (University Digital Workspace) ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล เพื่อให้บริการแก่อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรกว่า 30,000 คน ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีที่ดีมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานและปริมาณข้อมูลดิจิตอลที่เพิ่มขึ้น
ยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล
มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง (PolyU) ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 เป็นสถาบันอุดมศึกษาสาธารณะที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองของฮ่องกง ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ จากสำนักการศึกษาของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และนับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแบบสหศึกษาขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 25,000 กว่าคนที่กำลังศึกษาอยู่ และเปิดสอนตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรไปจนถึงระดับปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยฯ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอลชั้นนำของภูมิภาคและของโลก จึงสนับสนุนและส่งเสริมให้นำระบบดิจิตอลมาใช้ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ รวมถึงด้านการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา ดังนั้นได้พัฒนาระบบ UDW ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและการเรียนของนักศึกษา
ระบบ UDW เป็นระบบหลักในการทำงานและการเรียนการสอน ส่งผลให้ทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เริ่มไม่พอเพียงกับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มหาวิทยาลัยฯ จำเป็นต้องปรับปรุงระบบ UDW ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในการใช้งานสูง และปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาเชื่อมการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ ได้ทุกที่ทุกเวลา
ปรับโครงสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลรองรับดิจิตอล
มหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกงได้วางแผนที่จะขยายระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน และแอพพลิเคชั่นที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ การแบ่งปันไฟล์ และการพัฒนาระบบบนเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtual Server) ของนักวิจัย และนักศึกษา ดังนั้นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจะต้องรองรับการใช้งานข้างต้นควบคู่ไปกับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการทิศทางและการใช้งานในรูปแบบดิจิตอลเพิ่มขึ้นมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบจัดเก็บข้อมูลนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นข้อกังวลก็คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลใหม่ที่จะเตรียมมาใช้งานนั้น อาจจะทำงานไม่เข้ากับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเก่าที่มหาวิทยาลัยใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและความไม่คล่องตัวของปริมาณการใช้งาน รวมถึงบริการและแอพพลิเคชั่นของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเสมือน (Virtual) ดังนั้น จึงต้องพิจารณาคุณสมบัติ ประสิทธิภาพโซลูชั่นให้คุ้มค่ากับการลงทุน
ความท้าทายทางเทคนิคที่มหาวิทยาลัยฯ กำลังดำเนินการอยู่ จากปริมาณผู้ใช้งานระบบ VDI พร้อมกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่น และบริการต่างๆ ผ่านระบบ UDW มากขึ้นนั้น ทำให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เดิมไม่สามารถรองรับการทำงานได้ เราจึงจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดเก็บทรัพยากรด้านการเรียนการสอนและข้อมูลการวิจัย โดยไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานของระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิม (Infrastructure)
หลักการพิจารณาเลือกใช้โซลูชั่นด้านการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงของมหาวิทยาลัยฯ มีดังนี้
– สามารถรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก โดยให้ผู้ใช้งาน VDI สามารถเข้าถึงระบบพร้อมกัน 2,000 ยูสเซอร์ โดยไม่เกิดปัญหาเรื่องยูสเซอร์จำนวนมากเข้าถึงการใช้งานพร้อมกัน (Boot storm)
– มีความแข็งแกร่ง ประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และขยายขนาดได้เพื่อรองรับการใช้งาน VDI
– การผสานข้อมูลระหว่างระบบจัดเก็บข้อมูลที่ตั้งไว้ในสถานที่ 2 แห่ง (MCR และ SCR) ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง
มั่นใจเลือกโซลูชั่น Huawei
มหาวิทยาลัยฯ เลือกใช้โซลูชั่นของหัวเว่ย เนื่องจากเป็นโซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์การใช้งาน และรองรับปริมาณการใช้งานที่จะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต พร้อมด้วยทีมบุคลากรในการให้คำปรึกษา ออกแบบ วางแผนระบบการทำงานของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลเดิมสู่การจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล และความพร้อมในการใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเวอร์ชวลได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยประสิทธิภาพจากโซลูชั่น Huawei OceanStor 5800 V3 จึงสามารถตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด
มหาวิทยาลัยฯ เลือก OceanStor 5800 V3 ที่เปี่ยมด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัย ทั้งยังผสานการทำงานกับเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นที่มหาวิทยาลัยมีใช้งานอยู่แล้วได้อย่างลงตัว เพื่อลดภาระการทำงานของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเดิมจากความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นระดับบล็อก และ SSD ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการอ่าน-เขียนข้อมูล พร้อมยังทำให้ OceanStor สามารถเร่งการกู้คืนข้อมูลให้เร็วขึ้น 20 เท่า และชุดซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลที่ติดตั้งมากับโซลูชั่นดังกล่าวนี้ยังทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าระบบมีความพร้อมในการใช้งาน และยังเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับสตอเรจผ่านไฟเบอร์ออพติกทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพสูง
OceanStor 5800 V3 นำเสนอเทคโนโลยีดิสก์แบบผสมผสานทั้ง Serial Attached SCSI (SAS) และ SSD (Solid State Drive) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า SSD ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าและเร็วกว่าเทคโนโลยีอื่น อีกทั้ง SSD ของ Huawei นั้นมีราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีดิสก์อื่นๆ เนื่องจากเป็นผู้นำที่วิจัยและพัฒนาชิป SSD ด้วย จึงช่วยประหยัดต้นทุนลงไปอีก 30% และด้วยประสิทธิภาพดังกล่าวนี้ทำให้รองรับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ใช้เซิร์ฟเวอร์เสมือนที่มีอยู่ได้ และยังได้รับรองจาก VMware สำหรับฟีเจอร์ vStorage API for Array Integration (VAAI), vStorage API for Storage Awareness (VASA) และ Site Recovery Manager (SRM) ทำให้ OceanStor สามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่
Huawei OceanStor 5800 V3 ใช้รองรับการทำงานแบบ Active – Active ที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ในการจัดการระบบที่ชื่อว่า “HyperMetro” ซึ่งซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบจัดเก็บข้อมูลที่ติดตั้งไว้ในสถานที่ 2 แห่งทำให้ระบบจัดเก็บมูลทั้ง 2 แห่งทำงานได้อย่างรวดเร็วและข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังสามารถทำงานทดแทนกันได้ทันทีเมื่อระบบจัดเก็บข้อมูลอีกตัวหนึ่งมีปัญหาโดยไม่ทำให้ข้อมูลสูญหาย หรือเกิดการหยุดชะงักของระบบ ซึ่งซอฟต์แวร์ HyperMetro ติดตั้งมาพร้อมกับ Huawei OceanStor 5800 V3 จึงช่วยให้มหาวิทยาลัยฯ ประหยัดงบประมาณโดยไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์ในการจัดการระบบเพิ่มเติม
คุณสมบัติเด่น
OceanStor 5800 V3 ของ Huawei ยังคงทำงานได้เสถียร นับตั้งแต่การใช้งานในช่วงต้นปี 2015 ด้วยขีดความสามารถอันโดดเด่น โซลูชั่นนี้ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วมหาวิทยาลัยฯ โดยประโยชน์ที่ได้รับมีดังนี้
– ความสามารถของระบบจัดเก็บข้อมูล Huawei OceanStor มีประสิทธิภาพสูงรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้งาน VDI สามารถเข้าถึงระบบพร้อมกันได้ 2,000 ยูสเซอร์ โดยไม่เกิดปัญหาเรื่องยูสเซอร์จำนวนมากเข้าถึงการใช้งานพร้อมกัน(Boot storm)
– สร้างโซลูชั่นด้านระบบจัดเก็บข้อมูลแบบลูกผสมระหว่าง SSD กับ SAS ซึ่งราคาของ SSD จาก Huawei นั้นคุ้มค่ากว่าระบบดิสก์แบบอื่นๆ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อให้กับมหาวิทยาลัยฯ ถึง 30%
– คุณสมบัติในการทำงานแบบ Active-Active ทำให้ระบบมีความพร้อมในการใช้งานเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ฮาร์ดแวร์สำรองสามารถทำงานทดแทนกันได้เมื่ออุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา (Failure Tolerance) ทำให้มั่นใจว่าข้อมูลจะปลอดภัยในกรณีที่ส่วนประกอบสำรองตัวใดตัวหนึ่งทำงานล้มเหลว
บทสรุป
นับตั้งแต่เริ่มติดตั้งและใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถให้บริการแก่บุคลากรและนักศึกษาได้อย่างมีเสถียรภาพ มีความน่าเชื่อถือและทำงานตลอดเวลา 24 ชม. และสามารถเปิดใช้งาน VDI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำงานได้เร็วกว่าระบบเดิมหลายเท่าตัว ด้วย Huawei OceanStor 5800 V3 สามารถตอบสนองทุกความต้องด้านการจัดเก็บข้อมูล ทั้งขีดความสามารถในการทำงานและการติดตั้งที่ง่ายในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเวอร์ชวลเซิร์ฟเวอร์ ทำให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถรองรับการเติบโตในอนาคต และยกระดับให้เป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอลชั้นนำของภูมิภาคระดับโลกอีกด้วย
—————————-
รายละเอียดเกี่ยวกับ The Hong Kong Polytechnic University
www.polyu.edu.hk
ติดต่อข้อมูลขอรับรายละเอียดโซลูชั่นเพิ่มเติมที่นี่
Huawei Enterprise Business
Marketing Contact Center : 02-6957400 ext. 5821
e-mail : THenterprise@huawei.com