Ransomware (ไวรัสเรียกค่าไถ่) เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่เมื่อติดไวรัสอันตรายชนิดนี้แล้วจะเรียกร้องให้จ่ายเงิน ทุกท่านอาจเคยได้ยินข่าวมาแล้วว่า Ransomware ได้เคยปิดระบบของธุรกิจดูแลสุขภาพใหญ่หลายแห่งในปีที่แล้ว และยังคงมีองค์กรต่างๆ จ่ายเงินค่าไถ่จำนวนสูง เพื่อให้ปลดล็อคไวรัสร้ายออกจากระบบของตนผลจากการวิจัยของฟอร์ติเน็ตเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา พบว่าองค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตกำลังจะตกเป็นเหยื่อของไวรัสร้ายนี้
โดยระหว่างเดือนตุลาคม ปีคศ. 2015 ถึงเมษายนปีนี้ ฟอร์ติเน็ตได้รวบรวมทราฟฟิคจากผู้ประกอบการด้านการผลิตขนาดกลาง 59 รายใน 9 ประเทศในอเมริกา
เอเชียแปซิฟิค และภูมิภาคยูโรเมดิเตอร์เรเนียน พบการคุกคามความพยายามคุกคามมากถึง 8.63 ล้านครั้ง ที่ตั้งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ซึง 78%
ในจำนวนนั้นตั้งเป้าไปที่ผู้ประกอบการด้านการผลิตที่มีพนักงานมากกว่า 1000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก
นอกจากนี้การวิจัยยังพบการกลายตัวเป็นเจเนอเรชั่นใหม่ของไวรัสนี้ที่พัฒนาด้านการทำลายตัวเองได้ ทำไมภัยตั้งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต? ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตใช้ระบบออโตเมติคมากขึ้น และใช้นโยบาย Just-in-time inventory มากขึ้น ซึ่งหมายถึง ถ้าหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้กระบวนการ J-I-Tหยุดชะงักลงเกิดขึ้น จะทำให้เกิดผลเสียกับธุรกิจอย่างมากมายแน่นอน
ในขณะที่ภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่มุ่งไปที่อุตสาหกรรมการผลิตนั้นอาจจะมองว่าเป็นเพียงมัลแวร์และสายพันธุ์ทั่วไปแต่ฟอร์ติเน็ตพบข้อมูลเชิงลึกว่า มัลแวร์จำนวน 29% นั้นเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโทรจันชื่อ Nemucod ซึ่งน่าสนใจตรงที่ หลายเดือนที่ผ่านมา Nemucod ได้หลุดออกจากท้อป 10 ของภัยคุกคามในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิต
Nemucod เป็นโทรจันเกิดมานานแล้ว เดิมมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลด้านการเงิน เช่นข้อมูลการล็อคอินของลูกค้าธนาคาร ทำงานโดยปลอมเป็นไฟล์แนบในอีเมล์ซึ่งเมื่อเหยื่อคลิ๊กบนไฟล์ จะดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องทันทีเราแปลกใจที่พบสายพันธุ์ของ Nemucod จำนวน 4 ประเภทติดอันดับท้อป 10 ของมัลแวร์ที่โจมตีอุตสาหกรรมการผลิต โดยที่สายพันธุ์ 3 ประเภทมีพัฒนาการสูงคือมันไม่ต้องการเหยื่อในการลงมือกระทำการ เช่น การเปิดไฟล์แนบเพื่อให้เกิดภัยนี่ไม่ใช่ Ransomware ปกติทั่วไป
Ransomware ใหม่มีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญและมีสายพันธุ์ล่าสุดชื่อ Locky ที่เราได้เห็นตัวอย่าง เช่น สามารถเข้ารหัสลับแบบ WindowsAPIs และ RSA ได้ และตั้งใจจะขัดขวางองค์กรที่พยายามถอดรหัสไฟล์นั้นโดยจะไม่จ่ายค่าไถ่
มีสายพันธุ์ล่าสุดที่ฟอร์ติเน็ตกำลังตรวจสอบอีก ชื่อ DMA Locker ที่เมื่อติดไปแล้ว จะใช้Remote command-and-control servers สร้างกุญแจ Unique encryption keysซึ่งไม่สามารถถอดกุญแจกลับมาได้ หมายความว่า ถ้าไม่เอา DMA Locker ออกให้หมดจากเครือข่ายที่ติดเชื้อนั้น จะทำให้เกิดการเรียกร้องค่าไถ่มากยิ่งขึ้น
คุณพีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้อำนวยการขาย แห่งภูมิภาคอินโดจีน (ประเทศไทย เมียนมาร์ ลาวกัมพูชาและเวียตนาม) แห่งฟอร์ติเน็ตได้ให้ความเห็นว่า “องค์กรต่างๆ
ในประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคที่ใช้ระบบดิจิตอลเป็นกลไกผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วจึงอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน และการทำ Cyber ThreatAssessment นั้นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ครบครันจึงจะสามารถเห็นช่องโหว่ที่องค์กรมีอยู่ประเภทและจำนวนภัยคุกคามที่เข้ามา และจะทราบถึงวิธีป้องกันภัยต่างๆเหล่านั้นได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าฟอร์ติเน็ตมีความพร้อมที่จะให้คำปรึกษาแก่องค์กรในทุกอุตสาหกรรมและจะช่วยธุรกิจท่านก้าวหน้าโดยใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด”